เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ ไม่แสดง (ภัณฑนสูตร) 1691
  (ย่อ)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วจึงแสดงธรรม
ไม่รู้ ไม่แสดง
แสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์

ดูกรมหานามะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ ศาสดา
พวกหนึ่ง ในโลกนี้
บัญญัติ
การกำหนดรู้กาม
ไม่บัญญัติ การกำหนดรู้รูป
ไม่บัญญัติ การกำหนดรู้เวทนา

พวกหนึ่ง
บัญญัติการกำหนดรู้กาม และ
บัญญัติการกำหนดรู้รูป แต่
ไม่บัญญัติ
การกำหนดรู้เวทนา

พวกหนึ่ง
บัญญัติการกำหนดรู้กามด้วย
บัญญัติการกำหนดรู้รูปด้วย
บัญญัติการกำหนดรู้เวทนาด้วย
--------------------------------------------------------------------------
พระผู้มีพระภาคถามว่า ศาสดา 3 จำพวกนี้เป็นอย่างเดียวกัน หรือต่างๆกัน ภรัณฑุดาบส ตอบว่า "อย่างเดียวกัน" แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ต่างกัน" ภรัณฑุดาบส ก็ยังยืนยันว่าเป็นอย่างเดียว กันถึง 3 ครั้ง และพระผู้มีพระภาคก็ยืนยันว่า "ต่างกัน" ถึง 3 ครั้งเช่นกัน ทำให้ภรัณฑุดาบส เสียหน้า ว่าถูกรุกราน จึงต้องจากไป ส่วนคำตอบว่า ต่างกัน หรือ เป็นอย่างเดียวกัน พระศาสดาได้ให้คำตอบ แล้วว่า "เรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ ไม่แสดง"
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๔

ภัณฑนสูตร

          [๕๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ ใกล้ พระนครเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วจึงแสดงธรรม
ไม่รู้ ไม่แสดง
แสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์


          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ ไม่แสดง แสดงธรรมมีเหตุไม่ใช่แสดงไม่มีเหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ ท่านทั้งหลายควรทำโอวาท ควรทำอนุสาสนี ก็แหละท่านทั้งหลายควรที่จะยินดี ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะโสมนัสว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้เองโดยชอบพระธรรมถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

          ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะเจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะว่า ไปเถิดมหานามะ ท่านจงรู้สถานที่พักในพระนครกบิลพัสดุ์ ที่อาตมาควรอยู่สัก คืนหนึ่งวันนี้ เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ รับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ เที่ยวไปจนทั่ว ก็มิได้เห็นสถานที่พักในพระนครกบิลพัสดุ์ ซึ่งพระผู้มีพระภาคควรจะประทับอยู่สักคืนหนึ่ง

          ลำดับนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่า มหานามะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในพระนครกบิลพัสดุ์ ไม่มีสถาน ที่พัก ซึ่งพระผู้มีพระภาคควรจะประทับสักคืนหนึ่ง วันนี้ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรนี้ เป็นเพื่อนพรหมจารีเก่าแก่ ของพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคจงประทับอยู่ ณ อาศรมของภรัณฑุดาบสกาลามโคตรนั้น สักคืนหนึ่งในวันนี้เถิด

           พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ไปเถิดมหานามะ ท่านจงปูลาดเครื่องลาดเถิด เจ้าศากยะพระนามว่า มหานามะทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว เสด็จเข้าไป ยังอาศรม ของภรัณฑุดาบสกาลามโคตร แล้วทรงปูลาดเครื่องลาด ทรงตั้งน้ำไว้ เพื่อจะล้างพระบาท แล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ลาดเครื่องลาดเสร็จแล้ว ได้ตั้งน้ำไว้เพื่อชำระ ยุคลบาทแล้ว บัดนี้พระผู้มีพระภาค ทรงทราบกาลอันควรเถิด

          ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปยังอาศรมของภรัณฑุดาบส กาลามโคตร แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ทรงล้างพระบาท ทั้งสอง ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะทรงดำริว่า วันนี้ไม่ใช่เวลาที่จะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงเหน็ดเหนื่อย ต่อวันพรุ่งนี้ เราจึงจัก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล้ว ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณ แล้วเสด็จหลีกไป

          ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า

          ดูกรมหานามะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ ศาสดา
พวกหนึ่ง ในโลกนี้
บัญญัติ
การกำหนดรู้กาม
ไม่บัญญัติ การกำหนดรู้รูป
ไม่บัญญัติ การกำหนดรู้เวทนา

พวกหนึ่ง
บัญญัติการกำหนดรู้กาม และ
บัญญัติการกำหนดรู้รูป แต่
ไม่บัญญัติ
การกำหนดรู้เวทนา

พวกหนึ่ง
บัญญัติการกำหนดรู้กามด้วย
บัญญัติการกำหนดรู้รูปด้วย
บัญญัติการกำหนดรู้เวทนาด้วย

          ดูกรมหานามะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ดูกรมหานามะ คติของศาสดา ๓ จำพวกนี้เป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าเป็นต่างๆ กัน

        เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสเช่นนี้ ภรัณฑุดาบสกาลามโคตร ได้กล่าวกะ เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะว่า

          ดูกรมหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อภรัณฑุดาบส กาลามโคตร กล่าวเช่นนี้

พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะเจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะ ว่า ดูกรมหานามะ ท่านจงกล่าวว่าเป็นต่างๆ กัน

แม้ครั้งที่สอง
ภรัณฑุดาบสกาลามโคตร ได้กล่าวกะเจ้าศากยพระนามว่า มหานามะว่า ดูกรมหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า เป็นอย่างเดียวกัน

แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะเจ้า ศากยะ พระนามว่ามหานามะ ว่า
ดูกรมหานามะ ท่านจงกล่าวว่าเป็นต่างๆ กัน

แม้ครั้งที่สาม
ภรัณฑุดาบสกาลามโคตร ก็ได้กล่าวกะ เจ้าศากยะ พระนามว่า มหานามะว่า ดูกรมหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า เป็นอย่างเดียวกัน

แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาค ก็ได้ตรัสกะเจ้าศากยะพระนาม ว่ามหานามะ ว่า ดูกรมหานามะ ท่านจงกล่าวว่า เป็นต่างๆกัน

        ครั้งนั้นแล ภรัณฑุดาบส กาลามโคตรได้คิดว่า เราถูก พระสมณโคดม รุกรานเอาแล้ว ต่อหน้าเจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะ ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ถึงสามครั้ง ผิฉะนั้น เราพึงหลีกไปเสียจาก นครกบิลพัสดุ์

        ลำดับนั้นแล ภรัณฑุดาบส กาลามโคตร ได้หลีกไปแล้วจาก นครกบิลพัสดุ์ เขาได้หลีกไปแล้วเหมือนอย่างนั้น ทีเดียว มิได้กลับมาอีกเลย

(ภรัณฑุดาบสกาลามโคตร คัดง้างพระพุทธเจ้าถึง 3 ครั้ง แม้พระผู้มีพระภาคก็ยังกล่าว เหมือนเดิมถึง 3 ครั้ง เช่นกัน ทำให้ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรถึงกับเสียหน้าว่าถูกรุกราน จนต้องจากไป พระสูตรนี้ไม่ได้มีใครตัดสินว่าใครกล่าวผิด แต่ถ้าย้อนไปตอนต้นของพระสูตร ที่พระผู้มีพระภาคกล่าวว่า "เรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ ไม่แสดง" ผู้ที่ศึกษาก็น่าจะตัดสินได้เอง)

 

 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์