เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ปุณณิยสูตร อะไรหนอเป็นเหตุให้พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้ง บางคราวไม่แจ่มแจ้ง 1690
  (ย่อ)
ปุณณิยสูตร อะไรหนอเป็นเหตุให้พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้ง บางคราวไม่แจ่มแจ้ง
ธรรมเทศนาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
แจ่มแจ้งแก่พระตถาคตโดยส่วนเดียว


ดูกรปุณณิยพระธรรมเทศนาไม่แจ่มแจ้ง ด้วยเหตุที่ว่า
(๑) ภิกษุมีศรัทธาแต่ไม่เข้าไปหา ...
(๒) ในกาลใดภิกษุมีศรัทธาและเข้าไปหา ในกาลนั้นพระธรรมเทศนาจึงจะแจ่มแจ้งกะพระตถาคต
(๓) ภิกษุมีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้านั่งใกล้ ...
(๔) เข้านั่งใกล้ แต่ไม่สอบถาม ...
(๕) สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ...
(๖) เงี่ยโสตลงฟังธรรม แต่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้...
(๗) ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ แต่ไม่พิจารณาบทธรรมที่ทรงจำไว้ ...
(๘) พิจารณาบทธรรมที่ทรงจำ แต่ไม่เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
(๙) รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่เป็นผู้มีวาจางาม
(๑๐) มีวาจางาม มีถ้อยคำไพเราะให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง แต่ไม่ชี้แจงเพื่อนพรหมจรรย์ให้เห็นแจ้ง
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๕-๑๕๖

ปุณณิยสูตร


            [๘๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณิยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้พระธรรมเทศนา แจ่มแจ้ง กะพระตถาคต ในกาลบางคราว ไม่แจ่มแจ้งในกาลบางคราว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรปุณณิยะ (๑)ภิกษุมีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา พระธรรมเทศนา จึงไม่แจ่มแจ้ง กะพระตถาคตก่อน (๒)แต่ในกาลใดภิกษุมีศรัทธาและเข้าไปหา ในกาลนั้น พระธรรมเทศนา จึงจะแจ่มแจ้งกะพระตถาคต ดูกรปุณณิยะ (๓)ภิกษุมี ศรัทธา และ เข้าไปหา แต่ไม่เข้านั่งใกล้ ... (๔)เข้านั่งใกล้ แต่ไม่สอบถาม ...(๕)สอบถาม แต่ไม่ เงี่ยโสต ฟังธรรม.. (๖)เงี่ยโสตลงฟังธรรม แต่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรม ไว้... (๗)ฟังแล้ว ทรงจำธรรมไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ...(๘)พิจารณาเนื้อความ แห่งธรรมที่ทรงจำ ไว้ แต่ไม่เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ... (๙)รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่เป็นผู้มี วาจางาม (๙)เจรจาถ้อยคำ ไพเราะประกอบด้วยวาจา ของชาวเมือง สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้เนื้อความได้ แจ่มแจ้ง ...(๑๐) เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำ ไพเราะสละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง แต่ไม่เป็นผู้ชี้แจงเพื่อน พรหมจรรย์ทั้งหลาย ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง พระธรรมเทศนา จึงไม่แจ่มแจ้ง กะพระตถาคตก่อน

            ดูกรปุณณิยะ แต่ในกาลใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา เข้าไปหา เข้านั่งใกล้ สอบถามเงี่ยโสตลงฟังธรรม ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำ ไพเราะ สละสลวย ไม่หยาบคายให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง เป็นผู้ชี้แจงเพื่อน พรหมจรรย์ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญ ร่าเริง ในกาลนั้น พระธรรมเทศนา จึงแจ่มแจ้งกะพระตถาคต

            ดูกรปุณณิยะ พระธรรมเทศนาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงแจ่มแจ้งกะพระตถาคตโดยส่วนเดียว



 

 


 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์