เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

นิสัย อุปนิสัย อนุสัย .. การเพิกถอนอนุสัย 1674
   
(1) นิสัย อุปนิสัย อนุสัย คืออะไร  
(2) อนุสัย ๗ หรือ สังโยชน์ ๗  
(3) อนุสัย ๗ ประการ ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้า ๙
(4) เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย (อนุสัย ๓) อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 785
(5) อนุสัย ๓ (ฉฉักกสูตร ที่ ๖) ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้า ๓๙๑
(6) อนุสัยตามนอนอยู่ในเวทนา ๓ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้า ๓๙๑
(7) อนุสัยตามนอนอยู่ในโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓หนเ้า ๑๒๓
(8) อุบายเครื่องละสังโยชน์ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันต น. ๑๒๔
(9) ธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่าหลุดพ้นแล้ว ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันต น. ๙๗
    9.1 รู้แจ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร ..เพื่อถอนอนุสัย "
    9.2 เห็นความเป็นอนัตตาในธาตุทั้ง ๖ เพื่อถอนอนุสัย "
    9.3 รู้แจ้งอายตนะภายใน-ภายนอกทั้ง ๖ เพื่อถอนอนุสัย "
(10) เห็นความเสื่อมไปของขันธ์ ๕ เพื่อถอนอนุสัย ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันต น.๑๒๖
(11) เห็นความเป็นอนัตตา เพื่อการเพิกถอนอนุสัย ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันต น.๓๐
(12) เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อถอนอนุสัย ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันต น. ๒๕๖
(13) เจริญอานาปานสติสมาธิ เพื่อถอนอนุสัย ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันต น. ๓๔๒
(14) เจริญสมถะวิปัสสนา เพื่อถอนอนุสัย ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันต น. ๑๕๒
(15) เห็นความเสื่อม ความตายเป็นธรรมดาอนุสัยย่อมสิ้นไป ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันต น. ๖๔
(16) ละฝั่งใน-ฝั่งนอกได้ ชื่อว่าถอนอนุสัยได้แล้ว ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันต น. ๒๕๕

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
 


(1)

นิสัย อุปนิสัย อนุสัย คืออะไร

นิสัย : การกระทำที่เคยชิน เช่น ทำลวก ๆ จนติดเป็นนิสัย

อุปนิสัย : ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน, ความประพฤติที่เคยชิน จนเกือบเป็นนิสัย, พฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ "เขามีอุปนิสัยร่าเริง"

อนุสัย
: กิเลสที่แฝงตัวสงบนิ่งอยู่ในสันดาน กิเลสอย่างละเอียด


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๘๘ ข้อที่ ๓๔๑

(2)

อนุสัย ๗ หรือ สังโยชน์ ๗


อนุสัย ๗ กิเลสที่แฝงตัวสงบนิ่งอยู่ในสันดาน กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง
1. ทิฏฐิ การหลงในความเห็น (สักกายทิฏฐิและสีลัพพัตตปรามาส)
2. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
3. ปฏิฆะ ความไม่ยินดีพอใจ
4. ราคะ ความยินดีพอใจในกาม (กามราคะ)
5. ภวราคะ ความยึดติดในภพ ทั้ง รูปภพ อรูปภพ
6. มานะ ความสำคัญว่าดีกว่า เสมอกัน เลวกว่า ในสิ่งทั้งปวง
7. อวิชชา ความไม่รู้จริง



(3)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙

อนุสัย ๗ ประการ

อนุสยสูตรที่ ๑

          [๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
อนุสัย
คือ กามราคะ ๑
อนุสัย คือ ปฏิฆะ ๑
อนุสัย คือ ทิฏฐิ ๑
อนุสัย คือ วิจิกิจฉา ๑
อนุสัย คือ มานะ ๑
อนุสัย คือ ภวราคะ ๑
อนุสัย คือ อวิชชา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการนี้แล

อนุสยสูตรที่ ๒

          [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อละ เพื่อตัด อนุสัย ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
อนุสัย คือ กามราคะ ๑
อนุสัย คือ ปฏิฆะ ๑
อนุสัย คือ ทิฏฐิ ๑
อนุสัย คือ วิจิกิจฉา ๑
อนุสัย คือ มานะ ๑
อนุสัย คือ ภวราคะ ๑
อนุสัย คือ อวิชชา ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อละ เพื่อตัด อนุสัย ๗ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อใดแล ภิกษุละ อนุสัย คือ กามราคะ เสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ละ อนุสัย คือ ปฏิฆะ ... อนุสัย คือ ทิฏฐิ ... อนุสัย คือ วิจิกิจฉา ...อนุสัย คือ มานะ ... อนุสัย คือ ภวราคะ ... อนุสัย คือ อวิชชา เสียได้ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา

เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้แล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำ ที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือ ละมานะ เสียได้โดยชอบ



(4)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 785 / P612

(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๓๙๑ [๘๒๒] )

เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย (อนุสัย ๓
)

๑.ราคานุสัย (เกิดจากสุข)
๒.ปฏิฆานุสัย (เกิดจากทุกข์)
๓.อวิชชานุสัย (เกิดจาดอทุกขมสุข)
(เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย)

๑.ราคานุสัย
เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเพลิดเพลินย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่
อนุสัยคือ ราคะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น

๒.ปฏิฆานุสัย
เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจคร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่
อนุสัยคือ ปฏิฆะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น

๓.อวิชชานุสัย
เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งเหตุให้เกิด เวทนานั้นด้วย
ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้น ด้วย
ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย
อนุสัยคือ อวิชชา ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น

ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ
ยังละ อนุสัย คือ ราคะ ในเพราะ สุขเวทนา ไม่ได้
ยังบรรเทา อนุสัย คือ ปฏิฆะ ในเพราะ ทุกขเวทนา ไม่ได้
ยังถอน อนุสัย คือ อวิชชา ในเพราะ อทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้
ยังละ อวิชชาไม่ได้ และ ยังทำวิชชาให้เกิดขึ้น ไม่ได้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ดังนี้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย



(5)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๙๑

อนุสัย ๓ (ฉฉักกสูตร ที่ ๖)

          [๘๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ และรูป เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวย อารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง

เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมี ราคานุสัย นอนเนื่องอยู่

(เขา) อัน ทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมี ปฏิฆานุสัย นอนเนื่องอยู่

(เขา) อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัด ความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมี อวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้น
ยังไม่ละ ราคานุสัย เพราะสุขเวทนา
ยังไม่บรรเทา ปฏิฆานุสัย เพราะทุกขเวทนา
ยังไม่ถอน อวิชชานุสัย เพราะอทุกขมสุขเวทนา
ยังไม่ทำวิชชาให้เกิด เพราะไม่ละอวิชชาเสีย และจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ

ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวย อารมณ์ เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึงดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัย นอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศกลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญทุ่มอก ถึงความหลง พร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบ ชัด ความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความ เป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้น
ยังไม่ละ ราคานุสัย เพราะสุขเวทนา
ยังไม่บรรเทา ปฏิฆานุสัย เพราะทุกขเวทนา
ยังไม่ถอน อวิชชานุสัย เพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบัน ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

          [๘๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวย อารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง

เขา อันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึงไม่ดำรงอยู่ด้วยความ ติดใจ จึงไม่มี ราคานุสัย นอนเนื่องอยู่

(เขา) อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญ ทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มี ปฏิฆานุสัย นอนเนื่องอยู่

(เขา) อันอทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษและที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มี อวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้น
ละ ราคานุสัย เพราะสุขเวทนา
บรรเทา ปฏิฆานุสัย เพราะทุกขเวทนา
ถอน อวิชชานุสัย เพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและลิ้น เกิดชิวหาวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบ ของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง

เขา อันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความ ติดใจ จึงไม่มี ราคานุสัย นอนเนื่องอยู่

(เขา) อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญ ทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มี ปฏิฆานุสัย นอนเนื่องอยู่

(เขา) อันอทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณโทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มี อวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้น
ละ ราคานุสัย เพราะสุขเวทนา
บรรเทา ปฏิฆานุสัย เพราะทุกขเวทนา
ถอน อวิชชานุสัย เพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชา ให้เกิดขึ้น
เพราะละ อวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันได้ นั่นเป็น ฐานะ ที่มีได้

          [๘๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา

          เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาค กำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิต นี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล



(6)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๙๑


อนุสัยตามนอนอยู่ในเวทนา ๓
การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ (๔. จูฬเวทัลลสูตร)
(วิสาขอุบาสก สนทนาธรรมกับ ธรรมทินนาภิกษุณี)

          วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ อนุสัย อะไร ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา อนุสัย อะไร ตามนอน อยู่ในทุกขเวทนา อนุสัย อะไร ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา?

          ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย ตามนอน อยู่ในทุกขเวทนา อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา.

          วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัย ตามนอน อยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ใน อทุกขมสุขเวทนา ทั้งหมด หรือหนอแล?

          ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้ ปฏิฆานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้ อวิชชานุสัย ตามนอน อยู่ใน อทุกขมสุข เวทนาทั้งหมด หามิได้.

          วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ ธรรมอะไร จะพึงละได้ในสุขเวทนา ธรรมอะไร จะพึงละได้ ในทุกขเวทนา ธรรมอะไรจะพึงละได้ใน อทุกขมสุขเวทนา?

          ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย จะพึงละได้ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย จะพึงละได้ใน ทุกขเวทนา อวิชชานุสัยจะพึงละได้ใน อทุกขมสุขเวทนา.

          วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ ราคานุสัย จะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด ปฏิฆานุสัย จะพึง ละเสียได้ใน ทุกขเวทนาทั้งหมด อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ ใน อทุกขมสุขเวทนา ทั้งหมด หรือหนอแล?

          ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย จะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้ ปฏิฆานุสัย จะพึงละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมดหามิได้ อวิชชานุสัย จะพึงละเสียได้ ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้

          ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่ ย่อมละราคาด้วย ปฐมฌาน นั้น ราคานุสัย มิได้ตามนอนอยู่ในปฐมฌานนั้น

          อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นอยู่ว่า เมื่อไร เราจะได้บรรลุ อายตนะ ที่พระอริยะทั้งหลาย บรรลุแล้วอยู่ในบัดนี้ ดังนี้ เมื่อภิกษุนั้น เข้าไปตั้งความ ปรารถนา ในวิโมกข์ทั้งหลาย อันเป็นอนุตตรธรรมอย่างนี้ โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะ ความปรารถนาเป็นปัจจัย ท่านละปฏิฆะได้ด้วยความโทมนัสนั้น ปฏิฆานุสัย มิได้ตาม นอน อยู่ในความโทมนัสนั้น

          อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละ สุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัย มิได้ตามนอนอยู่ในจตุตฌานนั้น.



(7)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๓


อนุสัยตามนอนอยู่ในโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
(ตรัสกับ ดูกรมาลุงกยบุตร
)

          [๑๕๔] ดูกรมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ ที่เราแสดง แล้ว อย่างนี้แก่ใครหนอ? ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์ จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมมีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้น แต่ที่ไหน

          ส่วนสักกายทิฏฐิ อันเป็น อนุสัย เท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น แม้แต่ความ คิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อน ผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความสงสัย ในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน

          ส่วนวิจิกิจฉา อันเป็น อนุสัย เท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิด ว่า ศีลทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อน ผู้ยังนอนหงายอยู่ สีลัพพตปรามาส ในศีล ทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน

          ส่วนสีลัพพตปรามาส อันเป็น อนุสัย เท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้นแม้แต่ ความคิด ว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่ ก็ กามฉันทะ ในกาม ทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน

          ส่วนกามราคะ อันเป็น อนุสัย เท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิด ว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อน ผู้ยังนอนหงายอยู่ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน

          ส่วนพยาบาท อันเป็น อนุสัย เท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

          ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์ จักโต้เถียงด้วยคำโต้เถียง อันเปรียบ ด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ?

          เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เวลานี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต เวลานี้ เป็นกาลสมควรที่ พระผู้มีพระภาค พึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังต่อพระผู้มี พระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.

          ดูกรอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.



(8)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๔

อุบายเครื่องละสังโยชน์

          [๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของ พระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของ สัตบุรุษ มีจิตอันสักกายทิฏฐิ กลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่

           และเมื่อ สักกายทิฏฐิ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็น โอรัมภาคิยสังโยชน์

          ปุถุชนนั้น มีจิตอัน วิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อ วิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็น โอรัมภาคิยสังโยชน์.

          ปุถุชนนั้นมีจิต อันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาส ครอบงำ แล้วอยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัด ออก เสียได้ ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้น บรรเทา ไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

          ปุถุชนนั้น มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

          ปุถุชนนั้น มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อ พยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าโอรัมภาคิย สังโยชน์.

          ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะเป็นผู้ฉลาด ในธรรม ของพระอริยะ ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว มีจิตอันสักกาย ทิฏฐิ กลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสักกายทิฏฐิ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐิ พร้อมทั้ง อนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้

อริยสาวก นั้น มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉา ครอบงำไม่ได้อยู่ และ เมื่อวิจิกิจฉา เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉา พร้อมทั้ง อนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ อันสีลัพพตปรามาส ย่อม ครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่อง สลัด ออกเสียได้ ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้ง อนุสัย อันอริยสาวกนั้น ย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ อันกามราคะครอบงำไม่ได้ อยู่ และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความ เป็นจริง กามราคะพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อ พยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้



(9)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๗

(ธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่าหลุดพ้นแล้ว)
(ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)

            [๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะ พยากรณ์ได้ดังนี้ว่า
-------------------------------------------------------------------

9.1
(รู้แจ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพื่อถอนอนุสัย)

            ดูกรท่านผู้มีอายุ
ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูป แล้วแลว่า ไม่มีกำลังปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็น ที่ตั้งแห่งความ ชื่นใจ จึงทราบชัดว่าจิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป และ อนุสัย คือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในรูปได้

ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนา แล้วแลว่า ... จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นในเวทนา และ อนุสัย คือความตั้งใจ และ ความปักใจมั่นในเวทนาได้

ข้าพเจ้ารู้จักแจ้งสัญญา แล้วแลว่า ... จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในสัญญา และ อนุสัย คือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในสัญญาได้

ข้าพเจ้ารู้แจ้งสังขาร แล้วแลว่า ... จิต ของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นในสังขาร และ อนุสัย คือความตั้งใจ และความ ปักใจมั่นในสังขารได้

ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณ แล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้ง แห่งความชื่นใจจึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นในวิญญาณ และ อนุสัย คือความตั้งใจ และ ความปักใจมั่นในวิญญาณได้

            ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ แล จึงได้หลุดพ้น จากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนา ว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า

-------------------------------------------------------------------


9.2
(เห็นความเป็นอนัตตาในธาตุทั้ง ๖ เพื่อถอนอนุสัย)


            ดูกรท่านผู้มีอายุ ธาตุอัน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ ชอบ นี้มี ๖ ประการ ๖ ประการเป็นไฉนคือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ

            ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลธาตุ ๖ ประการอันพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้น จากอาสวะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ พ้นความยึดมั่น ในธาตุทั้ง๖)

            [๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ ที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ ในภพแล้วพ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะ พยากรณ์ได้ดังนี้ว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุ

ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุ โดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่ง อุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และ อนุสัย คือความตั้งใจ และความปักใจมั่น อาศัยปฐวีธาตุได้

ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ โดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และ สลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยเตโชธาตุ และ อนุสัย คือความตั้งใจ และ ความ ปักใจมั่นอาศัยเตโชธาตุได้

ข้าพเจ้าครองวาโยธาตุ โดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และ สลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวาโยธาตุ และ อนุสัย คือความตั้งใจ และ ความปักใจมั่นอาศัยวาโยธาตุได้

ข้าพเจ้าครองอากาสธาตุ โดยความเป็นอนัตตา...เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และ สลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นอาศัย อากาสธาตุ และ อนุสัย คือความตั้งใจ และความปักใจมั่นอาศัยอากาสธาตุได้

ข้าพเจ้าครองวิญญาณธาตุ โดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัย วิญญาณธาตุ เลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และ สลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่น อาศัยวิญญาณธาตุ และ อนุสัย คือความตั้งใจ และความ ปักใจมั่นอาศัยวิญญาณธาตุได้

            ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจาก อาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนา ว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า
-------------------------------------------------------------------

9.3
(รู้แจ้งอายตนะภายใน-ภายนอกทั้ง ๖
เพื่อถอนอนุสัย)

            ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายใน อายตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบ นี้มีอย่างละ ๖ แล อย่างละ ๖ เป็นไฉน คือจักษุ และรูป โสต และเสียง ฆานะและกลิ่น ชิวหา และรส กายและโผฏฐัพพะ มโน และ ธรรมารมณ์

            ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลอายตนะภายใน อายตนะภายนอกอย่างละ ๖ อัน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่าจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นใน อายตนะ ทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้

            [๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ ในภพแล้วพ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควร จะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า

            ดูกรท่านผู้มีอายุ
ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และ อนุสัย คือความตั้งใจและความปักใจมั่น ในจักษุ ในรูป ในจักษุวิญญาณ และ ในธรรมที่พึง รู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ

ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และ สลัดคืน ซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และอนุสัยคือ ความตั้งใจและความปักใจมั่น ในโสต ในเสียง ในโสตวิญญาณ และในธรรม ที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ

ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดีตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และ อนุสัย คือ ความตั้งใจและความปักใจมั่น ในฆานะ ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ และในธรรม ที่พึง รู้แจ้ง ด้วยฆานวิญญาณ

ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และ สลัดคืน ซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และ อนุสัย คือ ความตั้งใจและความปักใจมั่น ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ และในธรรม ที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ

ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และ สลัดคืน ซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหาอุปาทานที่ยึดมั่น และ อนุสัย คือ ความตั้งใจและความปักใจมั่น ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ และในธรรม ที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ

ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และ สลัดคืน ซึ่งความ พอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทานที่ยึดมั่น และ อนุสัย คือ ความตั้งใจและความปักใจมั่น ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ และในธรรม ที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ

            ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจาก อาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะ ทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนา ว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ก็เมื่อท่านผู้มีอายุ รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงถอน อนุสัย คือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิต ทั้งหมด ในภายนอกได้ด้วยดี



(10)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๖
(พระเขมกะกล่าวกะภิกษุผู้เถระ)

เห็นความเสื่อมไปของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพื่อถอนอนุสัย

          ข. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ผมไม่กล่าวรูปว่า เรามี ทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจากรูป ไม่กล่าวเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เรามี ทั้งไม่กล่าวว่า เรามีนอกจากวิญญาณ แต่ผมเข้าใจว่า เรามีในอุปาทานขันธ์ ๕ และผมไม่พิจารณา เห็นว่า นี้เป็นเรา.

          สังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็ยังถอน มานะ ฉันทะ อนุสัย อย่างละเอียด ในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามีไม่ได้. สมัยต่อมา ท่านพิจารณา เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ ความดับแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้ สัญญาดังนี้ สังขารดังนี้ วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้.

          เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อยู่ แม้ท่านยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียด ในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามี ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ และอนุสัยนั้น ก็ถึงการเพิกถอนได้

          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนผ้าเปื้อนเปรอะด้วยมลทิน เจ้าของทั้งหลาย มอบผ้านั้น ให้แก่ช่างซักฟอก ช่างซักฟอกขยี้ผ้านั้นในน้ำด่างขี้เถ้า ในน้ำด่างเกลือ หรือในโคมัยแล้ว เอาซักในน้ำใสสะอาด ผ้านั้นเป็นของสะอาด ขาวผ่องก็จริง แต่ผ้านั้น ยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า กลิ่นน้ำด่างเกลือ หรือกลิ่น โคมัย ที่ละเอียด ช่างซักฟอกมอบผ้านั้นให้แก่เจ้าของทั้งหลาย เจ้าของทั้งหลาย เก็บผ้านั้น ใส่ไว้ในหีบอบกลิ่น แม้ผ้านั้นยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า กลิ่นน้ำด่างเกลือ หรือกลิ่นโคมัยที่ละเอียด แม้กลิ่นนั้นก็หายไปฉันใด.

          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่าน ก็ยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัย อย่างละเอียด ในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามี ไม่ได้ สมัยต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้ สัญญาดังนี้ สังขารดังนี้ วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้.

          เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อยู่ แม้ท่านยังถอนมานะ ฉันทะ อนุสัยอย่างละเอียด ในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เรามี ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ และอนุสัยนั้น ก็ถึงการเพิกถอนได้ฉันนั้น.

          [๒๓๐] เมื่อท่านพระเขมกะ กล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ได้กล่าว กะท่าน พระเขมกะว่า ผมทั้งหลาย ไม่ได้ถามมุ่งหมายเบียดเบียน ท่านเขมกะเลย แต่ว่า ท่านเขมกะ สามารถพอจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคนั้น โดยพิสดาร ตามที่ท่านเขมกะ บอกแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แต่งตั้งแล้ว เปิดเผยแล้วจำแนกแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว โดยพิสดาร.

          ท่านพระเขมกะได้กล่าวคำนี้แล้ว. ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ชื่นชม ยินดีภาษิต ของท่าน พระเขมกะ.

          ก็เมื่อท่านพระเขมกะ กล่าวคำไวยากรณภาษิตอยู่ จิตของภิกษุผู้เถระ ประมาณ ๖๐ รูป และของท่านพระเขมกะ พ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.



(11)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐

เห็นความเป็นอนัตตา การเพิกถอนอนุสัย (อนุสัยสูตรที่ ๒)

          [๖๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อนุสัย จึงจะถึงความเพิกถอน

          พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น อนัตตา อนุสัย จึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูกลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา อนุสัย จึงจะถึง ความเพิกถอน

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อนุสัยจึงจะถึง ความเพิกถอน



(12)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๖

เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อถอนอนุสัย

          [๑๐๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอน อนุสัย อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอน อนุสัย



(13)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๔๒

เจริญอานาปานสติสมาธิ เพื่อถอนอนุสัย

          [๑๔๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ถอนอนุสัย ฯลฯ

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ถอนอนุสัย



(14)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๒

(พระอานนท์กล่าวกะภิกษุอาวุโสทั้งหลาย)

เจริญสมถะวิปัสสนาโดยปราศจากอุทธัจจะ เพื่อถอนอนุสัย

          [๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับคำ ท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคล ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุ หรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์ การบรรลุอรหัต ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด อย่างหนึ่ง

          ในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรค ย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มาก ซึ่ง มรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำ ให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

          อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอ เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อม กระทำ ให้มาก ซึ่งมรรคนั้นเมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

          อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะ และวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญ สมถะ และวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญกระทำ ให้มากซึ่ง มรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

          อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจาก อุทธัจจะ(ฟุ้งซ่าน)ในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อม ตั้งมั่นสงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น แก่เธอ เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำ ให้มากซึ่ง มรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

          ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อม พยากรณ์การ บรรลุอรหัต ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการ ทั้งปวง หรืออย่างใด อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้



(15)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๔

เสพ-อบรมให้มากซึ่งมรรค อนุสัยย่อมสิ้นไป
(เห็นความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก เป็นธรรมดา)

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ ผู้เดียวเท่านั้น ที่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ ทั้งปวง บรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้น พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรค ย่อมเกิดขึ้น

          อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพอบรม ทำให้มาก ซึ่งมรรค นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวกนั้น ย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่ มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เจ็บไข้ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดา ที่มีการมาการไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมี ความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เจ็บไข้ ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้น พิจารณา ฐานะนั้น อยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค นั้นเมื่อเสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่งมรรค นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

          อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มี ความตาย เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มี การมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วน มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตาย ไปได้ เมื่อ อริยสาวก นั้น พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรมทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละ สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

          อริยสาวกนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่จะต้อง พลัดพราก จากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพราก จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เมื่อ อริยสาวกนั้น พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น  อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่ง มรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

          อริยสาวกนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีกรรม เป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม เป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวง บรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็น เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่ออริยสาวกนั้น พิจารณาฐานะนั้น อยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

          สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความตาย เป็นธรรมดา สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปตามธรรมดา พวกปุถุชน ย่อมเกลียด ถ้าเราพึง เกลียดธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ข้อนั้น ไม่สมควรแก่เรา ผู้เป็นอยู่ อย่างนี้

          เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ ทราบธรรมที่หาอุปธิมิได้ เห็นการออกบวช โดยเป็น ธรรมเกษม ครอบงำความมัวเมาทั้งปวง ในความไม่มีโรค ในความเป็น หนุ่มสาว และ ในชีวิต ความอุตสาหะได้มีแล้ว แก่เราผู้เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน บัดนี้ เราไม่ควรเพื่อ เสพกามทั้งหลาย จักเป็นผู้ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติพรหมจรรย์



(16)


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๕

ละฝั่งใน-ฝั่งนอกได้ ชื่อว่าถอนอนุสัยได้แล้ว

          ภิกษุใด ไม่มี อนุสัย อะไรๆ ถอนอกุศลมูลได้แล้ว
          ภิกษุนั้น ชื่อว่า ย่อมละ ฝั่งใน และ ฝั่งนอก เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่า ที่คร่ำคร่าแล้ว ฉะนั้น

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์