เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อนุสัยทั้งสาม ไม่เกิดแก่อริยสาวก แม้เมื่อเสวยทุกขเวทนา... การดับเย็นในเวทนา 612
 
 

อนุสัยทั้งสาม

....อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ก็ไม่เศร้าโศก กระวนกระวาย ปฏิฆานุสัย อันเกิดจากทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยย่อมไม่นอนตาม

...เมื่ออริยสาวกนั้น มิได้พอใจ ซึ่งกามสุขอยู่ ราคานุสัยอันใดอันเกิดจากสุขเวทนา ราคานุสัย ก็ไม่นอนตาม

...อวิชชานุสัยอันใด อันเกิดจากอทุกขมสุข เวทนา อวิชชานุสัยย่อมไม่นอนตาม

 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 785 


อนุสัยทั้งสามไม่เกิดแก่อริยสาวก แม้เมื่อเสวยทุกขเวทนา


            ภิกษุ ท. ! ส่วนอริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อมไม่ เศร้าโศก ย่อมไม่กระวน กระวาย ย่อมไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงความมี สติฟั่นเฟือน ย่อมเสวยเวทนา เพียงอย่างเดียว คือเวทนาทางกายหามีเวทนา ทางจิตไม่

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษพึง ยิงบุรุษด้วยลูกศรแล้ว ไม่พึงยิง ซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศร ที่สอง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวย เวทนาจากลูกศรเพียงลูกเดียว แม้ฉันใด 

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ก็ฉันนั้นคือ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ก็ไม่เศร้า โศกไม่กระวน กระวาย ไม่ร่ำไรรำพันไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงซึ่งความมีสติ ฟั่นเฟือน อริยสาวกนั้น ชื่อว่าย่อมเสวยเวทนาเพียงอย่างเดียว คือเวทนาทางกาย หามีเวทนา ทางจิตไม่

อริยสาวกนั้น หาเป็นผู้มีปฏิฆะเพราะทุกขเวทนานั้นไม่ ปฏิฆานุสัย อันใด อันเกิดจาก ทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัย อันนั้นย่อมไม่นอนตาม ซึ่งอริยสาวกคนนั้นผู้ไม่มีปฏิฆะ เพราะทุกขเวทนา

อริยสาวกนั้น อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ก็ไม่ (น้อมนึก) พอใจซึ่งกามสุข

ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ย่อมรู้ชัดอุบาย เครื่องปลด เปลื้อง ซึ่งทุกขเวทนา ซึ่งเป็นอุบาย อื่นนอกจากกามสุข เมื่ออริยสาวกนั้น มิได้พอใจ ซึ่งกามสุขอยู่ ราคานุสัยอันใดอันเกิดจากสุขเวทนา ราคานุสัย อันนั้นก็ไม่นอนตาม ซึ่งอริยสาวกนั้น

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง 

เมื่ออริยสาวกนั้น รู้ชัดอยู่ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษ อันต่ำทราม และซึ่งอุบาย เครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็น จริงอยู่ อวิชชานุสัยอันใด อันเกิดจากอทุกขมสุข เวทนา อวิชชานุสัย อันนั้น ก็ย่อมไม่นอนตามซึ่งอริยสาวกนั้น

อริยสาวกนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ย่อมไม่เป็นผู้ติดพัน (ในเวทนา)เสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกข เวทนาก็ไม่เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่ติดพันแล้วด้วยชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย

เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่ติดพันแล้วด้วยทุกข์ ดังนี้.



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 787

การไม่เกิดอนุสัยสามเมื่อเสวยเวทนาสาม 
แล้วดับเย็น 
(พระราชดำรัสนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก ขอผู้ศึกษา พิจารณาใคร่ครวญให้เป็นอย่างดีที่สุด )


(พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปในโรงเป็นที่รักษาภิกษุเจ็บไข้ ได้ประทานโอวาท แก่ภิกษุทั้งหลายในที่นั้นว่า)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ  นี้เป็นอนุสาสนีของเรา สำหรับ พวกเธอทั้งหลาย

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้  เป็นผู้ตาม เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌา และ โทมนัส ในโลกออกเสียได้ เป็นผู้ตามเห็นเวทนา ในเวทนา ทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ..เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ.. เป็นผู้ตามเห็นธรรม ในธรรม ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัด อภิชฌา และ โทมนัสในโลกออกเสียได้ อย่างนี้แล ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบ คอบในการ ก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร,การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง, อย่างนี้แล ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ  นี้แล เป็นอนุสาสนของเราสำหรับพวกเธอทั้งหลาย. ภิกษุ ท ! ถ้าเมื่อภิกษุ มีสติ มีสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียรเผา กิเลส มีตนส่งไป แล้วในธรรมอยู่ อย่างนี้, สุขเวทนา เกิดขึ้น ไซร้ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า “สุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา,

แต่สุขเวทนานี้ อาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้ ไม่อาศัยเหตุปัจจัย แล้วหาเกิดขึ้นได้ไม่. อาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ? อาศัยเหตุปัจจัยคือกายนี้ นั่นเอง ก็กายนี้ ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น สุขเวทนาที่เกิด ขึ้นเพราะอาศัยกาย ซึ่งไม่ เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้แล้ว จักเป็นสุขเวทนาที่ เที่ยงมา แต่ไหน” ดังนี้. 

ภิกษุนั้น เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่ ตามเห็นความเสื่อม ความจางคลายอยู่ ตามเห็นความดับ ไป ความ สลัดคืนอยู่ ในกายและในสุขเวทนา.

เมื่อเธอเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง (เป็นต้น) อยู่ใน กายและในสุขเวทนา อยู่ดังนี้, เธอย่อมละเสียได้ ซึ่ง ราคานุสัย ในกายและในสุขเวทนานั้น.

(ในกรณี ถัดไปซึ่งเป็น การเสวย ทุกขเวทนา อันจะเป็นเหตุให้เกิด ปฏิฆานุสัย นั้น ก็ตรัสไว้ด้วย ข้อความ ทำนองเดียวกัน ที่ภิกษุพิจารณาเห็นกาย และทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็ละปฏิฆานุสัยในกายและ ในทุกขเวทนา นั้นเสียได้ ในกรณีถัดไป อีก แห่งการเสวย อทุกขมสุขเวทนา อันจะเป็นทางให้เกิด อวิชชานุสัย ก็ได้ตรัส วิธีปฏิบัติ ในการพิจารณาเห็นกาย และอทุกขมสุขเวทนานั้น โดยทำนองเดียวกัน จนละอวิชชานุสัย เสียได้)

ภิกษุนั้น
ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า “ สุขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง, และเป็นเวทนาที่เรา มิได้ มัวเมาเพลิด เพลินอยู่” ดังนี้
ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า “ทุกขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง และเป็นเวทนา ที่เรามิได้ มัวเมาเพลิดเพลินอยู่” ดังนี้
ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า “อทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง และ เป็นเวทนาที่เรามิได้มัวเมาเพลิดเพลินอยู่” ดังนี้

ภิกษุนั้น
ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันเกิดจากเวทนานั้น เป็นเครื่องร้อยรัด แล้ว เสวยเวทนา นั้น
ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลส อันเกิดจากเวทนานั้น เป็นเครื่องร้อยรัด แล้ว เสวยเวทนานั้น
ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ ปราศจากกิเลสอันเกิดจากเวทนา นั้นเป็นเครื่อง ร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น

ภิกษุนั้น
เมื่อเสวย เวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนา อันมีกายเป็นที่ สุดรอบ
เมื่อเสวย เวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวย เวทนา อันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ.
เธอย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นใน อัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย 
ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนประทีปนํ้ามันได้อาศัยนํ้ามัน และไส้แล้วก็ลุกโพลงอยู่ ได้ เมื่อขาดปัจจัยเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะขาดนํ้ามันและไส้นั้นแล้วย่อมดับลง นี้ฉันใด

ภิกษุ .! ข้อนี้ก็ ฉันนั้น คือภิกษุเมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ก็รู้ชัดว่าเราเสวย เวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบดังนี้

เมื่อเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุด รอบดังนี้. (เป็นอันว่า) ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตต ภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุด รอบแห่งชีวิต เพราะการแตก ทำลายแห่งกาย ดังนี้

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์