เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อัคคัญญสูตร (เรื่องสามเณรวาเสฏฐ กับ สามเณรภารทวาช) 613
 
 

(ย่อ)
อัคคัญญสูตร
สามเณร วาเสฏฐ กับภารทวาช (บุตรของพราหมณ์) เข้ามาบวชในพุทธศาสนา เล่าให้พระพุทธเจ้าฟังว่า ถูกพวกพราหมณ์ตำหนิว่า
วรรณะพราหมณ์ ประเสริฐกว่า บริสุทธิ์กว่า วรรณะอื่น ที่เปรียบเหมือน วรรณะดำ

พระศาสดาตรัสว่า พวกพราหมณ์ทั้งหลาย ล้วนเกิดมาจาก ช่องคลอดของนางพรามณีทั้งนั้น หาบริสุทธิไม่.. บรรดาวรรณะทั้งสี่เหล่านั้น(พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูตร) ผู้ใดเป็นภิกษุ สิ้นกิเลสและอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ได้วางภาระเสียแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว เลิศกว่าคนทั้งหลาย โดยชอบธรรมแท้

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๕

๔. อัคคัญญสูตร (เรื่องสามเณรวาเสฏฐ กับ สามเณรภารทวาช)

[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม เป็นปราสาทของนาง วิสาขามิคาร มารดา เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล วาเสฏฐสามเณร กับ ภารทวาช สามเณร เมื่อจำนงความเป็นภิกษุอยู่ อยู่อบรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย

เย็นวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จลงจากปราสาทแล้ว ทรงจงกรมอยู่ ณที่แจ้ง ในร่มเงาปราสาท วาเสฏฐสามเณร ได้เห็นพระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จลงจากปราสาท กำลังเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ในร่มเงาปราสาทในเวลาเย็น

ครั้นแล้ว จึงเรียกภารทวาชสามเณรมาพูดว่า

ดูกรภารทวาชะผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เสด็จลงจาก ปราสาท ทรงจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้งในร่มเงาปราสาทเรามาไปกันเถิด พากันเข้าไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ บางทีเราจะได้ฟังธรรมีกถา เฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ บ้าง เป็นแม่นมั่น

ส่วนภารทวาชสามเณร รับคำของวาเสฏฐสามเณรแล้ว ทันใดนั้น วาเสฏฐสามเณร กับ ภารทวาชสามเณร พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคม พระผู้มี พระภาคแล้วชวนกันเดินตามเสด็จพระองค์ ผู้กำลังเสด็จจงกรมอยู่ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัส เรียกวาเสฏฐสามเณรมาแล้วตรัสว่า

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองมีชาติเป็นพราหมณ์ มีตระกูลเป็นพราหมณ์ ออกบวช จากตระกูล พราหมณ์ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ พวกพราหมณ์ ไม่ด่าว่าเธอทั้งสองบ้าง ดอกหรือฯ สามเณรทั้งสองนั้นจึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์พากันด่าว่า ข้าพระองค์ ทั้ง ๒ ด้วยคำ เหยียด หยาม อย่างสมใจอย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลย พระผู้มีพระภาค จึงตรัส ถามต่อไปว่า ก็พวกพราหมณ์พากันด่าว่าเธอทั้งสองด้วยถ้อยคำอันเหยียด หยามอย่าง สมใจ อย่างเต็มที่ ไม่มี ลดหย่อนอย่างไรเล่า

สามเณรทั้งสองกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์พากันว่าอย่างนี้ว่า
พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม
พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ
พราหมณ์พวกเดียวบริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจากพราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่
พวกพราหมณ์เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม

เจ้าทั้งสองคน มาละวรรณะที่ประเสริฐที่สุดเสียแล้ว ไปเข้ารีดวรรณะที่เลวทราม คือ พวกสมณะที่มีศีรษะโล้น เป็นพวกคฤหบดี เป็นพวกดำ เป็นพวกเกิดจากเท้าของ พรหม

เจ้าทั้งสองคนมาละ พวกที่ประเสริฐที่สุดใดเสียไป เข้ารีดวรรณะเลวทราม คือพวก สมณะ ที่มีศีรษะโล้น เป็นพวกคฤหบดีเป็นพวกดำ เป็นพวกเกิดจากเท้าของพรหม ข้อนั้นไม่ดี ไม่สมควรเลย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์พากันด่าว่าข้าพระองค์ทั้งสอง ด้วยถ้อยคำ ที่เหยียดหยาม อย่างสมใจ อย่างเต็มที่ไม่มีลดหย่อนเลยอย่างนี้แล พระองค์จึงตรัสว่า

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
พวกพราหมณ์ระลึกถึงเรื่องเก่าของพวกเขาไม่ได้ จึงพากันพูดอย่างนี้
พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม
พราหมณ์พวกเดียวเป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ
พราหมณ์พวกเดียวบริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจากพราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่
พวกพราหมณ์เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม ดังนี้

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ก็ตามที่ปรากฎอยู่แล คือ นางพราหมณี ทั้งหลายของพวกพราหมณ์ มีระดูบ้าง มีครรภ์ บ้าง คลอดอยู่บ้าง ให้ลูกกินนมอยู่บ้าง อันที่จริง พวกพราหมณ์เหล่านั้น ก็ล้วนแต่ เกิดจากช่องคลอดของนางพราหมณีทั้งนั้น พากันอวดอ้างอย่างนี้ว่า พราหมณ์ พวกเดียวเป็น วรรณะที่ประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พราหมณ์พวกเดียว เป็น วรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พราหมณ์พวกเดียวบริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจาก พราหมณ์ หาบริสุทธิ์ไม่ พวกพราหมณ์ เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิดมาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม เขาเหล่านั้นกล่าวตู่ พรหม และพูดเท็จก็จะประสบแต่บาป เป็นอัน มาก

[๕๒] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
วรรณะเหล่านี้ มีอยู่สี่คือ กษัตริย์ พราหมณ์แพศย์ ศูทร ก็กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้ มีปรกติฆ่าสัตว์ มีปรกติลักทรัพย์ มีปรกติประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีปรกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ละโมบมาก คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล เป็นธรรม มีโทษ นับว่าเป็นธรรม มีโทษ เป็นธรรมไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมไม่ควรเสพ ไม่ควร เป็นอริยธรรม นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรม เป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียน อกุศลธรรมเหล่านั้น มีปรากฏอยู่แม้ ในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
แม้พราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ แม้แพศย์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ดูกรวาเสฏฐะ และ ภารทวาชะ แม้ศูทรบางคนในโลกนี้ มีปรกติฆ่าสัตว์ มีปรกติลักทรัพย์ มีปรกติประพฤติผิด ในกามทั้งหลาย มีปรกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ละโมภมาก คิดปองร้าย ผู้อื่น มีความเห็นผิด

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล เป็นธรรม มีโทษ นับว่าเป็นธรรมมีโทษ เป็นธรรมไม่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมไม่ควรเสพ ไม่ควรเป็น อริยธรรม นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรม เป็นธรรมดำ มีวิบากดำ วิญญูชน ติเตียน ธรรมเหล่านั้น มีปรากฎอยู่ แม้ในศูทร บางคนในโลกนี้ ฯ

[๕๓] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ฝ่ายกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
เป็นผู้เว้นขาดจากการพูด ส่อเสียด
เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่ละโมภมาก ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น
มีความเห็นชอบ


ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ 
ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศลเป็นธรรม ไม่มี โทษ นับว่าเป็นธรรม ไม่มีโทษ เป็นธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ ควรเสพควรเป็น อริยธรรม ควรนับว่าเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญญูชนสรรเสริญธรรม เหล่านั้น มีปรากฏ อยู่ แม้ในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
แม้พราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ แม้แพศย์บางคน ในโลกนี้ ฯลฯ แม้ศูทร บางคน ในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่ละโมภมาก ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบ ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล   

ธรรมเหล่าใดที่เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล เป็นธรรมไม่มีโทษ นับว่าเป็นธรรมไม่มีโทษ เป็นธรรมที่ควรเสพ นับว่าเป็นธรรมที่ควรเสพ ควรเป็นอริยธรรม นับว่าควรเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว วิญญูชนสรรเสริญธรรมเหล่านั้น มีปรากฏอยู่แม้ใน ศูทร บางคน ในโลกนี้

[๕๔] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ก็เมื่อวรรณะทั้งสี่เหล่านี้แล รวมเป็นบุคคลสองจำพวกคือ พวกที่ตั้ง อยู่ในธรรมดำ วิญญูชน ติเตียน จำพวกหนึ่ง พวกที่ตั้งอยู่ในธรรมขาว วิญญูชนสรรเสริญจำพวกหนึ่ง เช่นนี้ ไฉนพวก พราหมณ์ จึงพากันอวดอ้างอยู่อย่างนี้ว่า พราหมณ์พวกเดียว เป็นวรรณะที่ประเสริฐ ที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พวกพราหมณ์เป็นวรรณะขาว พวกอื่นเป็นวรรณะดำ พราหมณ์ พวกเดียวบริสุทธิ์ พวกอื่นนอกจาก พราหมณ์หา บริสุทธิ์ไม่ พราหมณ์พวกเดียวเป็นบุตร เกิดจากอุระ เกิดจากปากของพรหม มีกำเนิด มาจากพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาท ของพรหม ดังนี้เล่า ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อม ไม่รับรองถ้อยคำ ของพวกเขา ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
เพราะว่าบรรดาวรรณะทั้งสี่เหล่านั้น ผู้ใดเป็นภิกษุสิ้นกิเลสและอาสวะแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ได้วางภาระเสีย แล้วลุถึง ประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นเครื่องเกาะเกี่ยวในภพแล้ว หลุดพ้นไปแล้วเพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้น ปรากฏว่าเป็น ผู้เลิศกว่าคนทั้งหลาย โดยชอบธรรมแท้ มิได้ปรากฎ โดยไม่ ชอบธรรมเลย ด้วยว่าธรรม เป็นของประเสริฐ ที่สุดในหมู่ชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
โดยบรรยายนี้แล เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุด ในหมู่ชน ทั้งในเวลา ที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ

[๕๔] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงทราบแน่ชัดว่า พระสมณโคดม ผู้ยอดเยี่ยม ได้ทรงผนวช จาก ศากยตระกูล ดังนี้ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็พวกศากยตระกูล ยังต้องเป็น ผู้โดยเสด็จ พระเจ้าปัสเสนทิโกศลอยู่ทุกๆขณะ และพวกเจ้าศากยะต้องทำการ นอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ในพระเจ้าปัสเสนทิโกศลอยู่

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้แล พวกเจ้าศากยะยังต้องกระทำการนอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมอันใดอยู่ในพระเจ้าปัสเสนทิโกศล แต่งถึงกระนั้น กิริยาที่ นอบน้อม กราบไหว้ ต้อนรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรมอันนั้น พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ก็ยังทรง กระทำอยู่ในตถาคต ด้วยทรงถือว่า พระสมณ โคดม เป็นผู้มีพระชาติสูง เรามีชาติ ต่ำกว่าพระสมณโคดมเป็นผู้มีพระกำลัง เรามีกำลังน้อยกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีคุณน่า เลื่อมใส เรามีคุณน่าเลื่อมใส น้อยกว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สูงศักดิ์ เราเป็นผู้ต่ำศักดิ์กว่าดังนี้

แต่ที่แท้ พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไหว้ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ในตถาคตอยู่ด้วยอาการอย่างนี้

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะโดยปริยายนี้แล เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ธรรมเท่านั้นเป็น ของประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลา ภายหน้า   

[๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองคน มีชาติ ก็ต่างกัน มีชื่อก็เพี้ยนกัน มีโคตรก็แผกกัน มีตระกูลก็ผิดกันพากันทิ้งเหย้าเรือน เสีย มาบวช เป็นบรรพชิต เมื่อจะมีผู้ถามว่า ท่านทั้งสองนี้เป็นพวกไหน

เธอทั้งสองพึงตอบเขาว่า ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพวกพระสมณศากยบุตร ดังนี้เถิด

ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ผู้ใดแลมีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้ว แต่รากแก้วคือ อริยมรรค ประดิษฐาน มั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดามาร พรหมหรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียก ผู้นั้นว่าเป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอฐของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่ พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรม เนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดก พระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะคำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่า พรหมกาย ก็ดี ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่า พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคตฯ

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์