เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ภิกษุณีไม่พอใจพระกัสสป แสดงธรรมต่อหน้าพระอานนท์ (ภิกขุนูปัสสยสูตร) 1672
  (ย่อ)
ภิกษุณี ถุลลติสสา ไม่พอใจพระกัสสป แสดงธรรมต่อหน้าพระอานนท์

ภิกษุณี ถุลลติสสา ไม่พอใจที่พระมหากัสสปแสดงธรรมให้กับหมู่ภิกษุณี ต่อหน้าพระอานนท์ ที่ยกย่องว่า "เปรื่องปราชญ์" เปรียบเหมือนพ่อค้าเข็ม สำคัญว่าควรขายเข็ม ในสำนักของช่างเข็ม ผู้ชำนาญ (เอามะพร้าวห้าวมาขายสวน ทั้งที่สวนนี้มีมะพร้าวชั้นดีอยู่แล้ว)

ท่านพระอานนท์ จึงขอโทษพระมหากัสสป กล่าวว่า "ภิกษุณีถุลลติสสา เป็นคนโง่"

พระมหากัสสป ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย ปัญญายิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่

แต่พระอานนท์ ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ (ได้แค่โสดาบัน) จึงไม่อาจเทียบได้กับ พระมหากัสสป ผู้สำเร็จอรหันต์ และเป็นเอตทัคคะที่พระศาสดากล่าวยกย่องต่อหน้าภิกษุ

ภิกษุณีถุลลติสสา หลงผิด ไม่รู้จักพระมหากัสสปว่าเป็นอรหันต์ ชื่นชมพระอานนท์ว่าเปรื่องปราชญ์ เป็นผู้ควรแสดงธรรมแก่ภิกษุณี จึงกล่าวล่วงเกินพระมหากัสสป (ว่าข้ามหน้าข้ามตาพระอานนท์)
การล่วงเกินพระมหากัสสป เท่ากับกระผิดในเรื่อง คุุรุธรรม 8 ประการ (ห้ามภิกษุณี ติเตียนภิกษุ)

ก็แลภิกษุณีชื่อ ถุลลติสสา เคลื่อนจากพรหมจรรย์เสียแล้ว

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๐

ภิกษุณีไม่พอใจพระกัสสป แสดงธรรมต่อหน้าพระอานนท์
(๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร)


            [๕๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปหาท่าน พระมหากัสสป ถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปว่า

            ข้าแต่ท่านผู้เจริญนิมนต์ท่านไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด ท่านพระมหากัสสป จึงกล่าวว่า ท่านไปเถิด อาวุโสอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมาก แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า

            ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านไปยังที่พำนัก ของภิกษุณีด้วยกันเถิด ท่าน พระมหากัสสป ก็กล่าวว่า ท่านไปเถิดอาวุโสอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมาก แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่าน ไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด

            [๕๑๓] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังที่พำนักของภิกษุณี ครั้นเข้าไปแล้วจึงนั่ง บนอาสนะที่เขาจัดไว้ ครั้งนั้นภิกษุณีเป็นอันมาก พากันเข้าไปหาท่านพระมหากัสสป ถึงที่พัก ครั้นเข้าไปแล้วจึงกราบท่านพระมหากัสสป แล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

          ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหากัสสป ยังภิกษุณีเหล่านั้น ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้นแล ท่านพระมหา กัสสป ครั้นยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป

            [๕๑๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุณีชื่อ ถุลลติสสา ไม่พอใจ ถึงเปล่งคำแสดง ความไม่พอใจว่า เพราะเหตุไรเล่า พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสป จึงสำคัญธรรมที่ตน ควรกล่าวต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า อานนท์ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ เปรียบเหมือน พ่อค้าเข็ม สำคัญว่า ควรขายเข็มในสำนักของช่างเข็มผู้ชำนาญ ฉันใด พระผู้เป็นเจ้า มหากัสสป ย่อมสำคัญธรรมที่ตนควรกล่าว ต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า

            อานนท์ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระมหากัสสปได้ยิน ภิกษุณี ถุลลติสสา กล่าววาจานี้แล้ว จึงกล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า อาวุโสอานนท์ เราเป็นพ่อค้าเข็มท่านเป็นช่างเข็ม หรือเราเป็นช่างเข็มท่านเป็นพ่อค้าเข็ม

            
ท่านพระอานนท์ จึงตอบว่า ข้าแต่ท่านพระมหากัสสปผู้เจริญ ขอท่านโปรด ประทานโทษเถิด มาตุคามเป็นคนโง่

            [๕๑๕] งดไว้ก่อนอาวุโสอานนท์ หมู่ของท่านอย่าเข้าไปสอดเห็น ให้เกินไป นัก ดูกรอาวุโสอานนท์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านถูกนำเข้าไปเปรียบใน หมู่ภิกษุ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังสงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจารมีปีติ และสุข อันเกิดวิเวกอยู่ได้ เท่าใด แม้อานนท์ก็หวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน
           ท่านพระอานนท์กล่าวว่า หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านผู้เจริญ

           ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ เราเองถูกนำเข้าไปเปรียบ ในหมู่ภิกษุเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราหวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้ว เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวัง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน [อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีเปยยาลอย่างนี้]

            [๕๑๖] อาวุโสอานนท์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านถูกนำเข้า ไปเปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วย ปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้อานนท์ก็ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญายิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ ได้อย่างนั้นเหมือนกัน
            อา. หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านผู้เจริญ

            ดูกรอาวุโส เราเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกขุ เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญา อันยิ่งเองในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างนั้น เหมือนกัน

            [๕๑๗] ดูกรอาวุโส ผู้ใดสำคัญเราว่า ควรปกปิดได้ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้น ก็ควรสำคัญช้าง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่งว่า จะพึงปกปิดด้วยใบตาลได้

           ก็แลภิกษุณีชื่อ ถุลลติสสา เคลื่อนจากพรหมจรรย์เสียแล้ว


 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์