เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ยอดแห่งศิลปทั้งหลาย (สิปปสูตร) 1666
  (ย่อ)

ยอดแห่งศิลปทั้งหลาย (สิปปสูตร)

ภิกษุสนทนากันว่าอย่างไหนที่ถือเป็นยอดแห่งศิลป ภิกษุบางพวกกล่าวว่า ศิลปฝึกช้าง บางพวก กล่าวว่าการฝึกม้า บางพวกกล่าวว่าการขับรถ บางพวกกล่าวว่าการยิงธนู....

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
การที่เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา กล่าวกถาเห็นปานนี้นั้นไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว พึงกระทำอาการ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา หรือดุษณีภาพอันเป็นอริยะ

ทรงเปล่งอุทานว่า
ผู้ไม่อาศัยศิลปเลี้ยงชีพ ผู้เบา ปรารถนาประโยชน์ มีอินทรีย์สำรวมแล้ว พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ไม่มีที่อยู่เที่ยวไป ไม่ยึดถือว่าของเราไม่มีความหวัง ผู้นั้นกำจัดมารได้แล้ว เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว ชื่อว่าเป็นภิกษุ


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน หน้าที่ ๘๕

ยอดแห่งศิลปทั้งหลาย (สิปปสูตร)

            [๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ในเวลา ปัจฉาภัตแล้ว นั่งประชุมกันในโรงกลม ได้สนทนากันถึงเรื่องเป็นไปในระหว่างว่า

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ใครหนอแลย่อมรู้ศิลป ใครศึกษาศิลปอะไร ศิลปอย่างไหนเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการฝึกช้าง เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการฝึกม้า เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการขับรถ เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการยิงธนู เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปทางอาวุธ เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปทางนับนิ้วมือ เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการคำนวณ เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปนับประมวล เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการขีดเขียน เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการแต่งกาพย์กลอน เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในทางโลกายตศาสตร์ เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในทางภูมิศาสตร์ เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นสนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างเพียงนี้

            ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น ได้เสด็จเข้าไป ถึงโรงกลม แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเธอ ทั้งหลายสนทนาเรื่องอะไรค้างไว้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนากันในระหว่างว่า

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ใครหนอแลย่อมรู้ศิลป ... บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในทางภูมิศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ทั้งหลาย สนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างนี้แล ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตรออกบวช เป็นบรรพชิต ด้วยศรัทธา กล่าวกถาเห็นปานนี้นั้นไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว พึงกระทำอาการ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา หรือดุษณีภาพอันเป็นอริยะ

            ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า ผู้ไม่อาศัยศิลปเลี้ยงชีพ ผู้เบา ปรารถนาประโยชน์ มีอินทรีย์สำรวมแล้ว พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ไม่มีที่อยู่เที่ยวไป ไม่ยึดถือว่าของเราไม่มีความหวัง ผู้นั้นกำจัดมารได้แล้ว เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว ชื่อว่าเป็นภิกษุ

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์