เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้มีปัญญาใหญ่ 1656
  (ย่อ)
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้มีปัญญาใหญ่
๑) บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ชนหมู่มาก
๒) บุคคลย่อมจำนงเพื่อตรึกวิตกใดย่อมตรึกวิตกนั้น ย่อมไม่จำนงเพื่อตรึกวิตกใดย่อมไม่ตรึกวิตกนั้น
๓) เป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌานทั้ง ๔
๔) กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป

(หมายเหตุ)
ธรรม ๔ ประการที่แสดงความเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญาใหญ่ ระหว่างวัสสการพราหมณ์บัญญัติ กับ พระพุทธเจ้าบัญญัติ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังเช่น ตัวอย่างข้อที่ ๔ เรื่องปัญญา

วัสสการพราหมณ์บัญญัติ
(ผู้ประกอบด้วยปัญญา)
เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา เป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นทางดำเนินในกรณียกิจนั้น สามารถเพื่อจะทำ สามารถจะจัดแจงได้

พระพุทธเจ้าบัญญัติ (ผู้ประกอบด้วยปัญญา)
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

วัสสการพราหมณ์ชื่นชมภาษิตของพระพุทธเจ้า
ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่เคยมี มาแล้ว พระโคดมผู้เจริญตรัส คำนี้ดีแล้ว ข้าพระองค์จะจำไว้
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๕

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้มีปัญญาใหญ่ (วัสสการสูตร)

           [๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถานใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ ของพระเจ้ากรุงมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาค

           ครั้นผ่านการปราศรัย พอเป็นเครื่องให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เราย่อม บัญญัติผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญาใหญ่

(วัสสการพราหมณ์ กล่าวธรรม เพื่อขอให้ พ.พิจารณาว่าจะทรงยินดี หรือคัดค้าน)

ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
(ของวัสสพราหมณ์)

           ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลในโลกนี้
๑) เป็นผู้สดับ เรื่องที่สดับแล้วนั้นๆมาก(พหูสูต) ย่อมรู้อรรถแห่งภาษิตนั้นๆว่า นี้เป็นอรรถ แห่งภาษิตนี้ นี้เป็นอรรถแห่งภาษิตนี้ ๑
๒) เป็นผู้มีสติ ระลึก ตามระลึกซึ่งสิ่งที่กระทำคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ ๑
๓) เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในกรณียกิจอันเป็นของคฤหัสถ์ ๑
๔) เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา เป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นทางดำเนินในกรณียกิจนั้น สามารถเพื่อจะทำ สามารถจะจัดแจงได้ ๑

           เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้มีปัญญาใหญ่ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์พึงอนุโมทนา ขอท่านพระ โคดมทรงอนุโมทนาแก่ข้าพระองค์ แต่ถ้าข้าพระองค์พึงคัดค้าน ขอท่านพระโคดม ทรงคัดค้าน แก่ข้าพระองค์ ดังนี้

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราไม่อนุโมทนาแก่ท่านเลย เราไม่คัดค้านเลย (ไม่ทรงยินดี และไม่คัดค้าน)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ธรรมของพระพุทธเจ้า)

           ดูกรพราหมณ์ เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการแล ว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญาใหญ่

ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน (ของพระพุทธเจ้า)

            ดูกรพราหมณ์
๑) บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ชน หมู่มาก ยังประชุมชนมากให้ตั้งอยู่ในธรรมที่ควรรู้ เป็นอริยะ ได้แก่ความเป็นผู้มี กัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ๑

๒) บุคคลนั้นย่อมจำนง เพื่อตรึกวิตกใด ย่อมตรึกวิตกนั้น ย่อมไม่จำนงเพื่อตรึก วิตกใด ย่อมไม่ตรึกวิตกนั้น ย่อมจำนงเพื่อดำริเหตุที่พึงดำริใด ย่อมดำริเหตุที่พึงดำริ นั้นได้ ย่อมไม่จำนงเพื่อดำริ เหตุที่พึงดำริใด ย่อมไม่ดำริเหตุที่พึงดำรินั้น เป็นผู้ถึง ความชำนาญ แห่งใจ ในคลอง แห่งวิตกทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ ๑

๓) เป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน(ทั้ง)อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็น สุข ในปัจจุบัน ๑

๔) กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑

            ดูกรพราหมณ์ เราไม่อนุโมทนาและไม่คัดค้านแก่ท่านเลย เราย่อมบัญญัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญาใหญ่

            ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่เคยมี มาแล้ว พระโคดมผู้เจริญตรัสคำนี้ดีแล้ว ข้าพระองค์จะจำไว้ซึ่งพระโคดมผู้เจริญ ว่าประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้

            แท้จริง พระโคดมผู้เจริญ ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ชนหมู่มาก ทรงยังประชุมชนหมู่มาก ให้ตั้งอยู่ในญายธรรม อันประเสริฐ คือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม แท้จริง

            พระโคดมผู้เจริญ
ทรงจำนงเพื่อตรึกวิตกใด ย่อมทรงตรึกวิตกนั้นได้
ไม่ทรงจำนงเพื่อตรึกวิตกใด ย่อมไม่ทรงตรึกวิตกนั้น
ได้ทรงจำนงเพื่อดำริสิ่งที่พึงดำริใด ย่อมทรงดำริ สิ่งที่พึงดำรินั้นได้
ไม่ทรงจำนงเพื่อดำริสิ่งที่พึงดำริใด ย่อมไม่ทรงดำริสิ่งที่พึง ดำรินั้น ได้


แท้จริงพระโคดมผู้เจริญทรงถึงความชำนาญแห่งใจ ในคลองแห่งวิตกทั้งหลาย แท้จริงพระโคดมผู้เจริญทรงมีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน แท้จริงพระโคดม ผู้เจริญ ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

            พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านกล่าววาจารับสมอ้างแน่แท้แล และเราจักพยากรณ์ แก่ท่าน

แท้จริง
เราเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ชน หมู่มาก ยังประชุมชนหมู่มาก ให้ตั้งอยู่ในญายธรรมอันประเสริฐคือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม

แท้จริง
เราย่อมจำนงเพื่อตรึกวิตกใด ย่อมตรึก วิตกนั้นได้ ไม่จำนงเพื่อตรึกวิตกใด ย่อมไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ย่อมจำนงเพื่อดำริสิ่งที่พึง ดำริใด ย่อมดำริสิ่งที่พึงดำรินั้นได้ ไม่จำนงเพื่อดำริสิ่งที่พึงดำริใด ย่อมไม่ดำริสิ่งที่พึง ดำรินั้นได้

แท้จริง เราเป็นผู้ถึงความชำนาญแห่งใจในคลองแห่งวิตกทั้งหลาย
แท้จริง เราเป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีใน จิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

แท้จริง เรากระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

            บุคคลใด รู้แจ้งหนทาง อันจะปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวง เสียจากบ่วงแห่งมัจจุ ประกาศไญยธรรม อันเกื้อกูลแก่เทวดาและ มนุษย์ อนึ่ง ชนเป็นอันมากย่อมเลื่อมใส เพราะเห็นหรือสดับ บุคคลใด เราเรียกบุคคลนั้นซึ่งเป็นผู้ฉลาดต่อธรรมอันเป็น ทาง และมิใช่ทาง ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะมิได้ เป็นผู้รู้ แล้ว มีสรีระในภพเป็นที่สุดว่า เป็นมหาบุรุษ

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์