เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ตถาคตไม่ใส่ใจในอารมณ์ทั้งหลาย (ที่เกิดจากอายตนะทั้ง๖) (กาฬกสูตร) 1655
  (ย่อ)
อารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้ง ๖ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารณ์ )

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตเป็นผู้คงที่เช่นนั้นเทียว ในธรรมทั้งหลาย คือ
๑) รูปารมณ์ (ตา-รูป)
๒) สัททารมณ์ (หู-เสียง)
๓) คันธารมณ์ (จมูก-กลิ่น)
๔) รสารมณ์ (ลิ้น-รส)
๕) โผฏฐัพพารมณ์ (กาย-สัมผัส)
๖) ธรรมารมณ์ (ธรรมารมณ์-ใจ)


ตถาคตเห็นรูปที่ควรเห็น
ย่อมไม่สำคัญว่า เห็นรูปที่ เห็นแล้ว
ย่อมไม่สำคัญว่า เป็นรูปที่ ยังไม่มีใครเห็น
ย่อมไม่สำคัญว่า เห็นรูปที่ ควรเห็น
ย่อมไม่สำคัญว่า เห็นรูปที่ มหาชนดูกันอยู่
(ตถาคตไม่ใส่ใจรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน.. รูปจึงเสมือนเป็นภาพลวงตา ที่ไม่ควรใส่ใจว่า เห็นแล้ว ยังไม่มีใครเห็น ควรเห็น หรือมหาชนดูกันอยู่)

ตถาคตรู้รูปารมณ์ (อารมณ์ในรูป) เป็นต้นนั้นแจ้งชัด
รูปารมณ์เป็นต้นนั้น ไม่ปรากฏในตถาคต (ไม่ปรากฎความพึงพอใจในรูปที่เห็นนั้น)

เราย่อมกล่าวว่า บุคคลอื่นผู้คงที่ยิ่งกว่า
หรือ ประณีตกว่าตถาคตผู้คงที่นั้น ไม่มี ด้วยประการฉะนี้แล
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔

ตถาคตไม่ใส่ใจในอารมณ์ทั้งหลาย (กาฬกสูตร)


           [๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กาฬการาม ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปารมณ์ ที่เห็นด้วย จักษุสัททารมณ์ ที่ฟังด้วยหู คันธารมณ์ รสารมณ์ และ โผฏฐัพพารมณ์ ที่รู้ได้ด้วยทวารนั้นๆ ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้ง ด้วยใจ ของโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ของหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดา และ มนุษย์ เราได้บรรลุแล้ว เสาะแสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้ว ด้วยใจ เราย่อมรู้รูปารมณ์ ที่เห็นได้ด้วยจักษุเป็นต้นนั้น รู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ตถาคตรู้รูปารมณ์เป็นต้นนั้นแจ้งชัด รูปารมณ์เป็นต้นนั้นไม่ปรากฏในตถาคต

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพึงกล่าวว่า ... เราย่อมรู้รูปารมณ์เป็นต้นนั้น คำนั้น ของเราพึงเป็นคำเท็จ เราพึงกล่าวว่า ... เราย่อมรู้รูปารมณ์เป็นต้นนั้นด้วย ไม่รู้ด้วย แม้คำของเรานั้น ก็พึงเป็นเช่นนั้นแหละ เราพึงกล่าวว่า ... เรารู้ก็หามิได้ ไม่รู้ก็หามิได้ ซึ่งรูปารมณ์เป็นต้นนั้น คำนั้นจึงเป็นโทษแก่เรา

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตเห็นรูปที่ควรเห็น
ย่อมไม่สำคัญว่า เห็นรูปที่ เห็นแล้ว
ย่อมไม่สำคัญว่า เป็นรูปที่ ยังไม่มีใครเห็น
ย่อมไม่สำคัญว่า เห็นรูปที่ ควรเห็น
ย่อมไม่สำคัญว่า เห็นรูปที่ มหาชนดูกันอยู่

ตถาคตฟังเสียงที่ควรฟัง
ย่อมไม่สำคัญว่า ฟังเสียงที่ ฟังแล้ว
ย่อมไม่สำคัญว่า ฟังเสียงที่ ยังไม่มีใครฟัง
ย่อมไม่สำคัญว่า ฟังเสียงที่ ควรฟัง
ย่อมไม่สำคัญว่า ฟังเสียงที่ มหาชนฟังกันอยู่

ตถาคตรู้คันธารมณ์เป็นต้นที่ควรรู้
ย่อมไม่สำคัญว่า รู้คันธารมณ์ เป็นต้นที่รู้แล้ว
ย่อมไม่สำคัญว่า รู้คันธารมณ์ เป็นต้นที่ยังไม่มีใครรู้
ย่อมไม่สำคัญว่า รู้คันธารมณ์ เป็นต้นที่ควรรู้
ย่อมไม่สำคัญว่า รู้คันธารมณ์ เป็นต้นที่มหาชน รู้กันอยู่

ตถาคตรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ควรรู้แจ้ง
ย่อมไม่สำคัญว่า รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งแล้ว
ย่อมไม่สำคัญว่า รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่ยังไม่มีใครรู้
ย่อมไม่สำคัญว่า รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่ควรรู้แจ้ง
ย่อมไม่สำคัญว่า รู้แจ้งธรรมารมณ์ ที่มหาชนรู้แจ้งกันอยู่

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้คงที่เช่นนั้นเทียว ในธรรมทั้งหลาย คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธรรมารมณ์ และเรา ย่อม กล่าวว่าบุคคลอื่น ผู้คงที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่าตถาคตผู้คงที่นั้นไม่มี ด้วยประการฉะนี้แล

           รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว หรือหมวด ๓ แห่งอารมณ์มีคันธารมณ์เป็นต้น ที่ทราบ แล้วอย่างใดอย่างหนึ่งอันดูดดื่ม อันชนเหล่าอื่นสำคัญว่าจริง ตถาคตเป็นผู้ คงที่ในรูปเป็นต้นเหล่านั้น อันสำรวมแล้วเอง ไม่พึงเชื่อคำคนอื่นทั้งจริงและเท็จ เราเห็นลูกศร คือ ทิฐินี้ก่อนแล้ว ย่อมรู้ย่อมเห็นลูกศร คือ ทิฐิที่หมู่สัตว์หมกมุ่นข้อง อยู่เช่นนั้น ความหมกมุ่นย่อมไม่มีแก่ตถาคตทั้งหลาย

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์