เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

พระสมณโคดมไม่อภิวาท ไม่ลุกรับพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า (อุรุเวลสูตรที่ ๒) 1653
  (ย่อ)

พระสมณโคดมไม่อภิวาท ไม่ลุกรับพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า

ถ้าบุคคลผู้เฒ่ามีอายุ แต่เขาพูดไม่จริง พูดไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย โดยกาลไม่ควร เขาย่อมถึงซึ่งกาล นับว่า เป็นเถระผู้เขลา โดยแท้

ถ้าแม้เด็กกำลังรุ่นยังหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย แต่พูดจริง พูดเป็นประโยชน์ พูดเป็นธรรม พูดเป็นวินัย เขาย่อมถึง ซึ่งกาล นับว่า เป็นเถระผู้ฉลาดโดยแท้

ธรรมอันกระทำให้เป็นเถระ ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1.เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร ศึกษาในสิกขาบท
2.เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะสั่งสมซึ่งสุตะ ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด
3.เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔
4.ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑

พระโคดมไม่อภิวาท ไม่ลุกรับพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า (อุรุเวลสูตรที่ ๒)

           [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวแรกตรัสรู้ เราอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่ง แม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ครั้งนั้นแล พวกพราหมณ์มากด้วยกัน เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว เข้าไปหาเรา

           ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกัน ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวกะเราว่า ท่านพระโคดม เราได้สดับมา อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่อภิวาท ไม่ลุกรับพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วง กาล ผ่านวัยแล้ว ทั้งไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ข้อนี้เป็นอย่างที่เราได้สดับมา หรือ การที่ ท่านพระโคดมไม่อภิวาท หรือไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล ผ่านวัย แล้ว หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ นั้นไม่สมควรเลย

           ดูกรภิกษุทั้งหลายความปริวิตกนี้ได้มีแก่เราว่า ท่านเหล่านี้ย่อมไม่รู้ซึ่งเถระ หรือธรรมอันกระทำให้เป็นเถระ

ถ้าแม้บุคคลผู้เฒ่ามีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่เกิดมา แต่เขามีปรกติ พูดในกาล ไม่สมควร พูดไม่จริง พูดไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย กล่าววาจาที่ไม่ควรจดจำไว้ ไม่มีหลักฐาน ไม่มีขอบเขต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่ควร เขาย่อมถึงซึ่งกาลนับว่า เป็นเถระผู้เขลา โดยแท้

ถ้าแม้เด็กกำลังรุ่น มีผมดำสนิท ยังหนุ่มแน่น
อยู่ในปฐมวัยแต่มีปรกติ พูดในกาล อันควร พูดจริง พูดเป็นประโยชน์ พูดเป็นธรรม พูดเป็นวินัย กล่าววาจา ที่ควรจดจำ มีหลักฐาน มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร เขาย่อมถึง ซึ่งกาลนับว่า เป็นเถระผู้ฉลาดโดยแท้

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำให้เป็นเถระ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วย อาจาระและ โคจร มีปรกติ เห็นภัยในโทษ อันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษา อยู่ใน สิกขาบท ทั้งหลาย ๑

เป็นพหูสูต
ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมซึ่งสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามใน ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑

เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑

ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เถรกรณธรรม ๔ ประการนี้แล ผู้ใดมีจิตฟุ้งซ่าน มีความ ดำริ ไม่มั่นคง เช่นกับมฤค ยินดีในธรรมของอสัตบุรุษ ย่อมกล่าวคำเพ้อเจ้อ เป็นอันมาก ผู้นั้นมีความเห็นลามก ปราศจากความเอื้อเฟื้อ ตั้งอยู่ไกลจากความเป็น ผู้มั่นคง ส่วนผู้ใด สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ สดับ มีปฏิภาณ ประกอบในธรรม อันทำความ มั่นคง ย่อมเห็นแจ้งอรรถ แห่งอริยสัจด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ไม่มี กิเลส อันเป็นประดุจหลักตอ มีไหวพริบ มีชาติและมรณะอันละได้แล้ว เป็นผู้ ประพฤติ พรหมจรรย์สมบูรณ์ เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นเถระ อาสวะของภิกษุใดไม่มีเพราะ สิ้นอาสวะ ทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนั้นว่าเถระ

 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์