เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

มิจฉัตตะ - สัมมัตตะ เพราะอาศัยมิจฉัตตะ จึงมีการพลาดจากสวรรค์ และมรรคผล 1637
  (ย่อ)

มิจฉัตตะ
เพราะอาศัยมิจฉัตตะ จึงมีการพลาดจากสวรรค์ และมรรคผล
1. บุคคลผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความดำริผิด
2. ผู้มีความดำริผิด ย่อมมีวาจาผิด
3. ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด
4. ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด
5. ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความพยายามผิด
6. ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด
7. ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด
8. ผู้มีความตั้งใจผิด ย่อมมีความรู้ผิด
9. ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด



สัมมัตตสะ
เพราะอาศัยสัมมัตตะ จึงมีการบรรลุสวรรค์ และมรรคผล
1. บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมมีความดำริชอบ
2. ผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีวาจาชอบ
3. ผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีการงานชอบ
4. ผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ
5. ผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีความพยายามชอบ
6. ผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความระลึกชอบ
7. ผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งใจชอบ
8. ผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความรู้ชอบ
9. ผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๑

มิจฉัตตสูตร

            [๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย มิจฉัตตะ*จึงมีการพลาดจาก สวรรค์ และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยมิจฉัตตะอย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์ และมรรคผล
* มิจฉัตตะ = ความผิด ความเป็นสิ่งผิด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความดำริผิด ผู้มีความดำริผิด ย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิดผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความพยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด ผู้มีความตั้งใจผิด ย่อมมีความรู้ผิดผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตะอย่างนี้แล จึงมีการพลาดจากสวรรค์ และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๒

สัมมัตตสูตร

            [๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย สัมมัตตะ จึงมีการบรรลุสวรรค์ และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยสัมมัตตะอย่างไร จึงมีการ บรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมมีความดำริชอบ ผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีวาจาชอบ ผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีการงานชอบ ผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ ผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีความพยายามชอบ ผู้มีความ พยายามชอบ ย่อมมีความระลึกชอบ ผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งใจชอบ ผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความรู้ชอบ ผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตะ จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ด้วยประการอย่างนี้แล

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีความระลึกผิด มีความตั้งใจผิด มีความรู้ผิด มีความหลุดพ้นผิด สมาทานกายกรรม วจีกรรมมโนกรรม ให้บริบูรณ์ ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฐิอันชั่วช้า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพืชสะเดา พืชบวบขม หรือพืช น้ำเต้าขม อันบุคคลเพาะแล้วในแผ่นดินที่ชุ่มชื้น ย่อมเข้าไปจับรสดิน และรสน้ำอันใด รสดิน และรสน้ำ ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นรสขม เป็นรสเผ็ดร้อน เป็นรส ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไรเพราะพืชเป็นของไม่ดีแม้ฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิดมีวาจาผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีความระลึกผิด มีความตั้งใจผิด มีความรู้ผิด มีความหลุดพ้นผิด สมาทานกายกรรม วจีกรรมมโนกรรม ให้บริบูรณ์ตาม ความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฐิที่ชั่วช้า ฉันนั้นเหมือนกัน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีความระลึกชอบ มีความตั้งใจชอบ มีความรู้ชอบ มีความหลุดพ้นชอบ สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนาความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ความเกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฐิที่เจริญ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพืชอ้อย พืชข้าวสาลี หรือพืชองุ่น อันบุคคล เพาะลงแล้วในแผ่นดินที่ชุ่มชื้น ย่อมเข้าไปจับรสดิน และรสน้ำอันใด รสดิน และ รสน้ำ ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นรสที่น่ายินดี เป็นรสหวานเป็นรส อันน่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะพืชเป็นของดี แม้ฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบมีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีความระลึกชอบมีความตั้งใจ ชอบ มีความรู้ชอบ มีความหลุดพ้นชอบ สมาทานกายกรรมวจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนาความตั้งใจ และสังขาร เหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเป็นของเจริญ ฉันนั้นเหมือนกันแล

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์