เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ (วินิพันธสูตร) 1619
  (ย่อ)

เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ที่ทำจิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
๑) ภิกษุยังไม่ปราศจาก ความทะยานอยาก ในกาม
๒) ภิกษุยังไม่ปราศจาก ความทะยานอยาก ในกาย
๓) ภิกษุยังไม่ปราศจากความทะยานอยาก ในรูป
๔) ภิกษุฉันอาหารจนอิ่มแล้ว ประกอบความสุข ในการนอน
๕) ภิกษุปรารถนาจะเป็นเทวดา ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยศีล พรต ตบะ
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๓

วินิพันธสูตร

          [๒๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ

          ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความ พอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความระหาย ยังไม่ปราศจากความ ทะยาน อยาก ในกาม ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ...ยังไม่ปราศจาก ความทะยานอยากในกาม จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ ประกอบ เนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกใจข้อที่ ๑

          อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ยังไม่ปราศจาก ความทะยานอยากในกาย ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ยังไม่ ปราศจากความทะยานอยากในกาย จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ ๒

          อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ยังไม่ปราศจาก ความทะยานอยากในรูป ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ...ยังไม่ปราศจาก ความทะยานอยากในรูป จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ ๓

          อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารจนอิ่มตามต้องการแล้ว ประกอบความสุข ในการนอนความสุขในการนอน ความสุขในการหลับอยู่ ภิกษุใด ฉันอาหารจนอิ่ม ตามความต้องการแล้วประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนความสุข ในการหลับอยู่ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ ๔

          อีกประการหนึ่ง ภิกษุปรารถนาเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยตั้งใจว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ ภิกษุใดปรารถนาเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย ตั้งใจ ว่าเราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ ๕

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้แล







 



 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์