เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

นครสูตร ปัจจันตนคร ป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการ และอาหาร ๔ 1618
  (ย่อ)

นครสูตร
ปัจจันตนคร ป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการ และอาหาร ๔
เปรียบเหมือนภิกษุ รักษาสัทธรรม ๗ ประการ และฌานทั้ง ๔

เครื่องป้องกัน ๗ ประการเป็นไฉน คือ ในปัจจันตนครของพระราชา

๑) มีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึก ไม่หวั่นไหว
๒) มีคูขุดลึกและกว้าง
๓) มีทางเดินตามคูได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง
๔) มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาวและอาวุธคม
๕) ตั้งกองทัพไว้มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู กองถือธง
๖) มีทหารยามฉลาด สามารถดี ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า
๗) มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี

ปัจจันตนครหาอาหาร ๔ ประการ ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
๑) มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก
๒) มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และข้าวเหนียวไว้มาก ก
๓) มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติไว้มาก
๔) มีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมันน้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ


สัทธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

๑) อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ ของพระตถาคต
๒) อริยสาวก เป็นผู้มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
๓) มีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
๔) เป็นพหูสูต สั่งสมสุตะ ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด
๕) ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม
๖) เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง
๗) เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เครื่องพิจารณาความเกิด-ความดับ

อริยสาวกได้ตามความปรารถนา ซึ่ง ฌาน ๔ (ได้ฌานทั้ง ๔ โดยไม่ยาก)
๑) อริยสาวกสงัดจาก กาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
๒) อริยสาวกบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
๓) อริยสาวกมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ... บรรลุตติยฌาน
๔) อริยสาวก บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์

ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้ และเข้าฌาน ๔ โดยไม่ยากไม่ลำบาก
ในกาลนั้น มารผู้มีบาปก็ทำอันตราย อริยสาวกไม่ได้

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๙-๑๐๔

นครสูตร

           [๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชา ป้องกันไว้ดี ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการ และหาอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนา ได้โดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอก ทำอันตราย ปัจจันตนคร ของพระราชานั้นไม่ได้

เครื่องป้องกัน ๗ ประการเป็นไฉน คือ

    ๑) ในปัจจันตนครของพระราชา มีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึก ไม่หวั่นไหว นี้เป็น เครื่อง ป้องกันนครประการที่ ๑ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก

    ๒) อีกประการหนึ่ง มีคูขุดลึกและกว้าง นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๒ สำหรับคุ้มภัย ภายในและป้องกันอันตรายภายนอก

    ๓) อีกประการหนึ่ง มีทางเดินตามคูได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง นี้เป็นเครื่องป้องกัน นคร ประการที่ ๓ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องอันตรายภายนอก

    ๔) อีกประการหนึ่ง มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาวและอาวุธคม นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๔ สำหรับคุ้มภัยภายใน และป้องกันอันตราย ภายนอก

    ๕) อีกประการหนึ่ง ตั้งกองทัพไว้มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู กองถือธง กองจัด กระบวนทัพ กองสัมภาระ กองเสนาธิการ กองตะลุมบอน เหมือนช้าง ที่วิ่ง เข้าสู่ สงคราม กองทหารหาญ กองทหารโลหะ กองเกราะหนัง กองทหารทาส นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๕ สำหรับคุ้มภัยภายใน และป้องกันอันตราย ภายนอก

    ๖) อีกประการหนึ่ง มีทหารยามฉลาด สามารถดี ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๖ สำหรับคุ้มภัยภายใน และป้องกัน อันตรายภายนอก

    ๗) อีกประการหนึ่ง มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี นี้เป็น เครื่องป้องกันนครประการที่ ๗ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ปัจจันตนคร มีการป้องกันดี ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้แล

           ปัจจันตนครหาอาหาร ๔ ประการ ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก เป็นไฉน คือ

     ๑) ในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก เพื่อความ อุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และ ป้องกันอันตราย ภายนอก

    ๒) อีกประการหนึ่ง มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และป้องกันอันตราย ภายนอก

    ๓) อีกประการหนึ่ง มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติไว้มาก เพื่อความ อุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และป้องกันอันตราย ภายนอก

    ๔) อีกประการหนึ่ง มีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมันน้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และป้องกัน อันตราย ภายนอก

           ปัจจันตนคร หาอาหาร ๔ ประการได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชา ป้องกันไว้ดีด้วย เครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้ และอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนา ได้โดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรไม่ทำอันตรายได้
----------------------------------------------------------------

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด อริยสาวกประกอบพร้อม ด้วย สัทธรรม ๗ ประการ และเป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นกาลนั้น เรากล่าวว่า มารผู้มีบาป ทำอันตรายอริยสาวกไม่ได้

สัทธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

    ๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ ของ พระตถาคต ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เปรียบเหมือนใน ปัจจันตนคร ของพระราชา มีเสาระเนียดขุดหลุม ฝังลึก ไม่หวั่นไหว สำหรับคุ้มภัย ภายใน และป้องกันอันตราย ภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีศรัทธา เปรียบเหมือนเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรม อันไม่มีโทษบริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรม ประการที่ ๑ ฯลฯ

    ๒) อริยสาวก เป็นผู้มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อ การเข้าถึงอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก เปรียบเหมือนในปัจจันตนคร ของพระราชา มีคู (สนามเพลาะ) ทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มภัยภายใน และป้องกันอันตราย ภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีหิริเปรียบเหมือนคู ย่อมละอกุศล ... บริหารตน ให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๒

    ๓) อริยสาวก มีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัว ต่อการ เข้าถึงอกุศลธรรม อันชั่วช้าลามก เปรียบเหมือนในปัจจันตนคร ของพระราชา มีทางเดินตามคูได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัยภายใน และ ป้องกันอันตราย ภายนอกฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะ เปรียบเหมือนทางเดินตามคู ย่อมละอกุศลธรรม ... ย่อมบริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๓

    ๔) อริยสาวก เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ได้สดับตรับฟังมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง เปรียบเหมือนในปัจจันตนคร ของพระราชา มีการสะสมอาวุธ ไว้มาก ทั้งที่เป็น อาวุธแหลมยาวแ ละอาวุธคมสำหรับคุ้มภัยภายใน และป้องกัน อันตราย ภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวก ผู้มีสุตะเปรียบเหมือนอาวุธ ย่อมละ อกุศลธรรม ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๔

    ๕) อริยสาวก ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม เปรียบเหมือน ในปัจจันตนคร ของพระราชา ตั้งกองทัพไว้มาก คือพลม้า ฯลฯ กองทหารทาส สำหรับคุ้มภัยภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก มีความเพียร เปรียบเหมือนกองทัพ ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตน ให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรม ประการที่ ๕

    ๖) อริยสาวก เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ย่อมตามระลึก ถึง กรรมที่ได้ทำแ ละคำที่ได้พูดแล้วแม้นานได้ เปรียบเหมือน ในปัจจันตนคร ของ พระราชา มีทหารยามฉลาดสามารถดี ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า อนุญาตให้คน ที่รู้จักเข้า สำหรับคุ้มภัยภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสติ เปรียบเหมือนทหารยาม ย่อมละอกุศลธรรม... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๖

    ๗) อริยสาวก เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เครื่องพิจารณาความ เกิดและ ความ ดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เปรียบเหมือนใน ปัจจันตนคร ของพระราชา มีกำแพงทั้งสูงทั้งกว้าง พร้อมด้วยป้อม ก่ออิฐถือปูนดี เพื่อคุ้มภัยภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้มีปัญญา เปรียบ เหมือนกำแพง อันพร้อมด้วยป้อม ก่ออิฐ ถือปูนดี ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มี โทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้ บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๗ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้

           อริยสาวกเป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน

           อริยสาวกสงัดจาก กาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่
เพื่อความ อุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือน ในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมหญ้า ไม้และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตราย ภายนอก ฉะนั้น

           อริยสาวกบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มี วิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือน ในปัจจันตนคร ของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และ ข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจภายใน ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชน ภายใน และเพื่อป้องกัน อันตรายภายนอก ฉะนั้น

           อริยสาวกมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลง สู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนคร ของพระราชา มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น

           อริยสาวก บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ โสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือน ใน ปัจจันตนครของ พระราชา มีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้นน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และป้องกัน อันตราย ภายนอก ฉะนั้น

           อริยสาวกเป็นผู้มีปรกติ ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่ง ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้ และมีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีใน จิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้นแล มารผู้มีบาปก็ทำอันตราย อริยสาวกไม่ได้

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์