เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ว่าด้วยสิ่งที่ถูกขันธ์ ๕ เคี้ยวกิน 1615
  (ย่อ)

1) อุปาทานขันธ์ ๕ คือ
ย่อมตามระลึกถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังนี้ว่า
ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้...

2) เพราะอะไรจึงเรียก รุป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เพราะอะไรจึงเรียกว่า รูป เพราะสลายไป... เพราะหนาวบ้าง ร้อนบ้าง
เพราะอะไรจึงเรียกว่า เวทนา เพราะเสวย...เสวยอารมณ์สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง
พราะอะไรจึงเรียกว่า สัญญา จำได้หมายรู้ รู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง
เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม ปรุงแต่งรูปโดยความเป็นรูป
เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่าวิญญาณ รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง

3) เราถูกรูปกินอยู่ ทั้งในอดีต อนาคต ในปัจจุบัน
แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกรูปกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้
แม้ในอนาคต เราก็ถูกรูปกิน เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้

4) อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บัดนี้เราถูกเวทนากินอยู่ ... บัดนี้ เราถูกสัญญากินอยู่ ...
บัดนี้เราถูกสังขารกินอยู่ ... บัดนี้เราถูกวิญญาณกินอยู่
แม้ใน อดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณกินแล้ว
เหมือนกับที่ถูกวิญญาณ ปัจจุบัน กินอยู่ ในบัดนี้.

5) สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

6) รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกล หรือใกล้รูปทั้งหมดนั้น
เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

7) อริยสาวก
ย่อมทำอะไร ให้พินาศ ย่อมไม่ก่ออะไร?
ย่อมละทิ้งอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร?
ย่อมเรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้?
ย่อมทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น?
(สิ่งนั้นคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

8) อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี

9) อริยสาวก ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ
แต่ทำให้พินาศแล้ว ตั้งอยู่

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๖-๘๙

ว่าด้วยสิ่งที่ถูกขันธ์ ๕ เคี้ยวกิน (ขัชชนิยสูตร)

1)

         [๑๕๘] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก สมณะหรือ พราหมณ์ ทั้งปวงนั้น ก็ย่อมตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือกองใด กองหนึ่ง

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ
ย่อมตามระลึกถึงรูปดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้
ย่อมตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้
ย่อมตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้
ย่อมตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้
ย่อมตามระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

2)
         [๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า รูป เพราะสลายไป จึงเรียกว่า รูป สลายไปเพราะอะไร สลายไปเพราะหนาวบ้าง เพราะร้อนบ้าง เพราะหิว บ้าง เพราะกระหายบ้าง เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน บ้าง

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียกว่า เวทนา เพราะเสวย จึงเรียกว่า เวทนา เสวยอะไร เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวยอารมณ์ทุกข์บ้าง เสวยอารมณ์ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขบ้าง

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียกว่า สัญญา เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่า สัญญา จำได้หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่า สังขาร ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือ รูปโดยความ เป็นรูป ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือ เวทนา โดยความเป็น เวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ สัญญา โดยความเป็นสัญญา ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สังขาร โดยความเป็นสังขาร ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้างรสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3)

         [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า บัดนี้เราถูกรูปกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกรูปกินแล้ว เหมือนกับที่ถูก รูปปัจจุบัน กินอยู่ในบัดนี้ก็เรานี้แล พึงชื่นชมรูปอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึง ถูกรูปกิน เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้

         เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มี ความอาลัยในรูปอดีต ย่อมไม่ชื่นชมรูป อนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อความดับรูปในปัจจุบัน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

4)

        อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราถูกเวทนากินอยู่ ... บัดนี้ เราถูกสัญญากินอยู่ ... บัดนี้เราถูกสังขารกินอยู่ ... บัดนี้เราถูกวิญญาณกินอยู่ แม้ใน อดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกวิญญาณ ปัจจุบัน กินอยู่ ในบัดนี้.

         ก็เรานี้แล พึงชื่นชมวิญญาณอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกวิญญาณ กินอยู่ เหมือนกับ ที่ถูกวิญญาณปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้. เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในวิญญาณ แม้ที่เป็นอดีต ย่อมไม่ชื่นชมวิญญาณอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อ ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณปัจจุบัน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

5)

         [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

6)

         [๑๖๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกล หรือใกล้รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

         เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารอย่างใด อย่างหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกล หรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความ เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ย่อมทำให้พินาศ ย่อมไม่ก่อ ย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือมั่น ย่อมเรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้ ย่อมทำให้มอด ไม่ก่อให้ ลุกโพลงขึ้น
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

7)

         [๑๖๓] อริยสาวก ย่อมทำอะไร ให้พินาศ ย่อมไม่ก่ออะไร?
ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ย่อมละทิ้งอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร?
ย่อมละทิ้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ย่อมเรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้?
ย่อมเรี่ยรายรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ย่อมทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น?
ย่อมทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------


8)

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น.
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า
ย่อมไม่ก่อ
ย่อมไม่ทำให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วตั้งอยู่
ย่อมไม่ละ ย่อมไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่
ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่
ย่อมไม่ทำให้มอด ย่อมไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

9)
         [๑๖๔] อริยสาวก
ย่อมไม่ก่ออะไร ย่อมไม่ทำอะไรให้พินาศ แต่ทำให้พินาศแล้ว ตั้งอยู่.
ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้พินาศ
แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้ แล้วตั้งอยู่

ย่อมไม่ละอะไร ย่อมไม่ถือมั่นอะไร แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่
ย่อมไม่ละรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แต่เป็นผู้ละได้แล้วตั้งอยู่

ย่อมไม่เรี่ยรายอะไร ย่อมไม่รวบรวมอะไรไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่
ย่อมไม่เรี่ยรายรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ย่อมไม่รวบรวมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วตั้งอยู่

ย่อมไม่ทำอะไรให้มอด ย่อมไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้ว ตั้งอยู่
ย่อมไม่ทำรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้มอด
ย่อมไม่ก่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ลุกโพลงขึ้น
แต่เป็นทำให้มอดได้แล้วตั้งอยู่.

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาพร้อมด้วยอินทร์ พรหม และท้าวปชาบดี ย่อมนมัสการ ภิกษุผู้มีจิตพ้นแล้ว อย่างนี้แล แต่ที่ไกลทีเดียวว่า

         ข้าแต่ท่านผู้เป็น บุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็น อุดมบุรุษ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมต่อท่าน ผู้ซึ่งข้าพเจ้า ทั้งหลายมิได้รู้จัก โดยเฉพาะ และผู้ซึ่งได้อาศัยเพ่งท่านพินิจอยู่ ดังนี้

 





พุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์