เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ว่าด้วยเหตุที่ต้องดำรงชีพด้วยบิณฑบาต (ปิณโฑลยสูตร) 1616
  (ย่อ)

ว่าด้วยเหตุที่ต้องดำรงชีพด้วยบิณฑบาต (ปิณโฑลยสูตร)

ท้าวสหัมบดีพรหม ขอร้องให้พระศาสดาอนุเคราะห์แก่ภิกษุบวชใหม่ ที่พระองค์ได้ขับไล่ พระองค์ ทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ.. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่พระภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เรื่องหนึ่ง แต่ได้เกิดพระปริวิตกขึ้นว่า ภิกษุสงฆ์เหล่านี้ พวกภิกษุใหม่ ได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัย เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นเรา พึงเป็นผู้มีความกินแหนง มีใจแปรปรวนเหมือนลูกโคน้อยๆเมื่อไม่เห็นแม่
ถ้ากระไรเรา พึงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่ได้อนุเคราะห์มาแล้วในก่อนๆ ฉะนั้นเถิด

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ข้อเลวทรามของการเลี้ยงชีพทั้งหลาย ก็คือการแสวงหา บิณฑบาต(ขอทาน) ภิกษุทั้งหลาย ย่อมได้รับคำแช่งด่าในโลกว่า เป็นผู้มีมือถือบาตร เที่ยวแสวงหา บิณฑบาต

เหตุแห่งการบัญญัติ การบิณฑบาต 

๑) ไม่ใช่เป็นคนหนีราชทัณฑ์ 
๒) ไม่ใช่เป็นคนขอให้โจรปล่อยตัวไปบวช 
๓) ไม่ใช่เป็นคนมีหนี้ 
๔) ไม่ใช่เป็นคนมีภัย 
๕) ไม่ใช่เป็นคนมีอาชีพแร้นแค้น 

อีกอย่างหนึ่ง กุลบุตรนี้บวชแล้ว พึงทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ให้ปรากฏ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๐-๙๒.

๘. ปิณโฑลยสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ต้องดำรงชีพด้วยบิณฑบาต

            [๑๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้พระนคร กบิลพัสดุ์สักกชนบท. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่พระภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเรื่องหนึ่งแล้ว เวลาเช้า ทรงผ้าอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครกบิลพัสดุ์ ครั้นแล้ว ในเวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจาก บิณฑบาต เสด็จไปยังป่ามหาวัน เพื่อประทับพักในกลางวัน

            ครั้นเสด็จถึงป่ามหาวันแล้ว ได้ประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดพระปริวิตกขึ้นว่า เราแลได้ขับไล่ภิกษุสงฆ์ให้ไปแล้ว ในภิกษุสงฆ์เหล่านี้ พวกภิกษุใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นเรา พึงเป็นผู้มีความกินแหนง มีใจ แปรปรวน เหมือนลูกโคน้อยๆ เมื่อไม่เห็นแม่ พึงมีความกินแหนง มีใจแปรปรวน ฉะนั้น เหมือนกับพืชที่ยังอ่อนๆไม่ได้น้ำ พึงมีความผันแปรไป มีความเปลี่ยนแปรไป ฉะนั้น ถ้ากระไรเรา พึงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่ได้อนุเคราะห์มาแล้วในก่อนๆ ฉะนั้นเถิด

            [๑๖๖] ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม ได้ทราบพระปริวิตก ของพระผู้มี พระภาค.ด้วยใจของตนแล้ว ได้หายไปจากพรหมโลก มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค เหมือนกับบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น

            ลำดับนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้ว ประนมมือ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

(พรหมขอร้องให้พระศาสดาอนุเคราะห์แก่ภิกษุบวชใหม่)

             พระผู้มีพระภาคได้ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ในภิกษุสงฆ์เหล่านี้ พวกภิกษุที่ยังใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้มีอยู่ เมื่อภิกษุสงฆ์เหล่านั้น ไม่เห็นพระผู้มีพระภาค พึงเป็นผู้มีความกินแหนง มีใจแปรปรวนเหมือนกับลูกโคน้อยๆ เมื่อไม่เห็นแม่ พึงมีความกินแหนง มีใจแปรปรวน ฉะนั้น เหมือนกับพืชที่ยังอ่อนๆ เมื่อไม่ได้น้ำ พึงมีความผันแปรไป มีความเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น

            พระเจ้าข้าขอพระผู้มีพระภาค จงทรงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงพร่ำสอนภิกษุสงฆ์ จงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่ได้ทรง อนุเคราะห์มาแล้วแต่ก่อนๆ ฉะนั้นเถิด

พระผู้มีพระภาค ทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ

            ลำดับนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับ อาราธนา แล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปจากสำนัก ของพระผู้มีพระภาคนั่นแล

            [๑๖๗] ลำดับนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออก จากที่พักผ่อน แล้วเสด็จไปยังนิโครธาราม แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงบันดาลด้วยอิทธาภิสังขาร ให้ภิกษุเหล่านั้นเกรงกลัว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ทีละรูปบ้าง สองรูปบ้าง ครั้นแล้ว ต่างก็ถวายบังคมแล้ว นั่งลง ณ สถานที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            ครั้นภิกษุเหล่านั้น นั่งลงเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัส พระพุทธวจนะว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อเลวทรามของการเลี้ยงชีพทั้งหลาย ก็คือการแสวงหาบิณฑบาต. ภิกษุทั้งหลาย ย่อมได้รับคำแช่งด่าในโลกว่า เป็นผู้มีมือถือบาตร เที่ยวแสวงหาบิณฑบาต

(เหตุแห่งการบัญญัติ การบิณฑบาต)

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรทั้งหลาย เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ อาศัยอำนาจแห่งเหตุ จึงเข้าถึงความเป็นผู้แสวงหาบิณฑบาตนี้แล
๑) ไม่ใช่เป็นคนหนีราชทัณฑ์
๒) ไม่ใช่เป็นคนขอให้โจรปล่อยตัวไปบวช
๓) ไม่ใช่เป็นคนมีหนี้
๔) ไม่ใช่เป็นคนมีภัย
๕) ไม่ใช่เป็นคนมีอาชีพแร้นแค้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อีกอย่างหนึ่ง กุลบุตรนี้บวชแล้ว โดยที่คิดเช่นนี้ว่า เราทั้งหลายเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ประจำแล้ว ไฉนหนอ ความทำ ที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ

            แต่ว่ากุลบุตรนั้น เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีราคะกล้า ในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจ อันโทสะประทุษร้ายแล้ว มีสติหลงลืม ไม่มีสัมป ชัญญะ มีใจไม่เป็นสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลผู้เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ด้วย ไม่ทำประโยชน์ คือความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ด้วยว่า มีอุปมาเหมือนกับดุ้นฟืน ในที่เผาศพ ซึ่งไฟติดทั้งสองข้างตรงกลาง ก็เปื้อนคูถจะใช้เป็นฟืนในบ้านก็ไม่ได้ ฉะนั้น

 



 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์