เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

กรรมส่งผลใน 3 เวลา ในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป ในอัตภาพต่อๆไป 1610
  (ย่อ)

กุศลกรรมบถ ๑๐ และ อกุศลกรรมบถ ๑๐

กรรมส่งผลใน 3 เวลา
ในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมเวทนียะ)
ในอัตภาพถัดไป (อุปปัชชเวทนียะ)
ในอัตภาพต่อๆไป (อปราปรเวทนียะ)
-----------------------------------------------------------------------

อกุศลกรรม ทางกาย ทางวาจา ทางใจ (อกุศลกรรมบถ๑๐)
ความวิบัติ อันเป็นโทษแห่งการงาน ทางกาย ๓ อย่าง
1. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
2. เป็นผู้ลักทรัพย์
3. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม

(มีความตั้งใจเป็นอกุศล / ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร / มีทุกข์เป็นวิบาก)

ความวิบัติ อันเป็นโทษแห่งการงาน ทางวาจา ๔ อย่าง
1. เป็นผู้พูดเท็จ
2. เป็นผู้พูดส่อเสียด
3. เป็นผู้พูดคำหยาบ
4. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ

(มีความตั้งใจเป็นอกุศล / ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร / มีทุกข์เป็นวิบาก)

ความวิบัติ อันเป็นโทษแห่งการงาน ทางใจ ๓ อย่าง
1. เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น(โลภ)
2. เป็นผู้มีจิตคิดปองร้าย (พยาบาท)
3. เป็นผู้มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)
(มีความตั้งใจเป็นอกุศล / ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร / มีทุกข์เป็นวิบาก)
-----------------------------------------------------------------------

กุศลกรรม ทางกาย ทางวาจา ทางใจ (กุศลกรรมบถ๑๐)
สมบัติแห่งการงาน ทางกาย ๓ อย่าง
1. ละการฆ่าสัตว์
2. ละการลักทรัพย์
3. ละการประพฤติผิดในกาม
(มีความตั้งใจเป็นกุศล / ย่อมมีสุขเป็นกำไร / มีสุขเป็นวิบาก)

สมบัติแห่งการงาน ทางวาจา ๔ อย่าง
1. ละการพูดเท็จ
2. ละคำพูดส่อเสียด
3. ละคำพูดคำหยาบ
4. ละคำพูดเพ้อเจ้อ
(มีความตั้งใจเป็นกุศล / ย่อมมีสุขเป็นกำไร / มีสุขเป็นวิบาก)

สมบัติแห่งการงาน ทางใจ ๓ อย่าง
1. เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น (ไม่โลภ)
2. เป็นผู้ไม่มีจิตคิดปองร้าย (ไม่พยาบาท)
3. เป็นผู้มีความเห็นชอบ (มีสัมมาทิฐิ)
(มีความตั้งใจเป็นกุศล / ย่อมมีสุขเป็นกำไร / มีสุขเป็นวิบาก)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๖

กรรมสูตรที่ ๑

            [๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรม ที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวย
ในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมเวทนียะ)
ในอัตภาพถัดไป (อุปปัชชเวทนียะ) หรือ
ในอัตภาพต่อๆไป (อปราปรเวทนียะ)


(อกุศลกรรม)

        ดูกรภิกษุทั้งหลายเราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรม ที่สัตว์ ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ในข้อนั้น

ความวิบัติ อันเป็นโทษแห่งการงาน ทางกาย ๓ อย่าง
- มีความตั้งใจเป็นอกุศล
- ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร
- มีทุกข์เป็นวิบาก

ความวิบัติ อันเป็นโทษ แห่งการงาน ทางวาจา ๔ อย่าง
- มีความตั้งใจเป็นอกุศล
- ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร
- มีทุกข์เป็นวิบาก

ความวิบัติ อันเป็นโทษ แห่งการงาน ทางใจ ๓ อย่าง
- มีความตั้งใจเป็นอกุศล
- ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร
- มีทุกข์เป็นวิบาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(อกุศลกรรม)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นแห่งโทษการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

๑) เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ผู้หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิตทั้งปวง ๑

๒) เป็นผู้ลักทรัพย์ คือถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์ เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของ บุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑

๓) เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษาพี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา ผู้มีสามี ผู้มีอาชญาโดยรอบโดยที่สุด แม้สตรีผู้มีบุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(อกุศลกรรม)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน ทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

๑) เป็นผู้พูดเท็จ
คือ เขาอยู่ในสภา ในบริษัทในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางแห่งราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็น ก็กล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งผู้อื่น บ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ ๑

๒) เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟัง ข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกัน ให้แตกกัน หรือส่งเสริมคนทั้งหลายผู้แตกกันแล้ว ชอบความแยกกัน ยินดีความแยกกัน เพลิดเพลินในความแยกกันกล่าวแต่คำที่ทำให้แยกกัน ๑

๓) เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่หยาบคายกล้าแข็ง เดือดร้อนผู้อื่น เสียดสีผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑

๔) เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย กล่าววาจาที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ โดยกาลอันไม่ควร ๑

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล
-----------------------------------------------------------------------------------
(อกุศลกรรม)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน ทางใจ ๓ อย่าง มีความ ตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

๑) เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น(โลภ) คือ อยากได้วัตถุอันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์ เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอวัตถุอันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์ เครื่องปลื้มใจ แห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น พึงเป็นของเราดังนี้ ๑

๒) เป็นผู้มีจิตคิดปองร้าย (พยาบาท) คือ มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้ จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑

๓) เป็นผู้มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) คือ มีความเห็นอันวิปริตว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล การเซ่น สรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีบิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินไป โดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และปรโลกให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลกดังนี้ ๑

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(อกุศลกรรม)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติ

อันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติ

อันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติ

อันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล


        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยมที่บุคคลโยนขึ้นข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใดๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยม ที่ตั้งลงมานั้นนั่นเองฉันใด สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่ง ความวิบัติ

อันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติ

อันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง

อันมีความตั้งใจ เป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติ

อันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง

อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ฉันนั้นเหมือนกันแล

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(กุศลกรรม)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรม ที่สัตว์ตั้งใจ กระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล ย่อมเกิดในปัจจุบันในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพ ต่อๆไป

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์ แห่งกรรมที่สัตว์ ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น

สมบัติแห่งการงาน
ทางกาย ๓ อย่าง
- มีความตั้งใจเป็นกุศล
- ย่อมมีสุขเป็นกำไร
- มีสุขเป็นวิบาก

สมบัติแห่งการงาน ทางวาจา ๔ อย่าง
-มีความตั้งใจเป็นกุศล
-ย่อมมีสุขเป็นกำไร
-มีสุขเป็นวิบาก

สมบัติแห่งการงาน ทางใจ ๓ อย่าง
-มีความตั้งใจเป็นกุศล
-ย่อมมีสุขเป็นกำไร
-มีสุขเป็นวิบาก

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(อกุศลกรรม)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงาน ทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้

๑) ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรามีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง ๑

๒) ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ไม่ถือเอาวัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์ เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น อันอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑

๓) ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ไม่ถึง ความประพฤติ ล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาว น้องสาว รักษาญาติรักษา ธรรมรักษา มีสามี มีอาชญาโดยรอบโดยที่สุดแม้สตรีที่บุรุษ คล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น กุศลมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากอย่างนี้แล

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(กุศลกรรม)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงาน ทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศลย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้

๑) ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการ พูดเท็จ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือใน ท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่น นำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น บุคคลนั้น เมื่อไม่รู้ ก็บอกว่าไม่รู้ หรือ เมื่อรู้ ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น หรือ เมื่อเห็น ก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้พูดเท็จ ทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่ง ผู้อื่นบ้าง หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิส เล็กน้อยบ้าง ๑

๒) ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ไม่ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลาย คนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมาน คนที่แตกกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่สามัคคีกันแล้ว ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคน ผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคน ผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจา ที่ทำให้คน พร้อมเพรียงกัน ๑

๓) ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เพราะหูชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ๑

๔) ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ อิงธรรมอิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลักฐานมีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร ๑

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจ ป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากอย่างนี้แล

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(กุศลกรรม)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงาน ทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้

๑) เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่อยาก ได้วัตถุ อันเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่อง ปลื้มใจ แห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่าไฉนหนอ วัตถุที่เป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์ เครื่องปลื้มใจ แห่งผู้อื่น ของบุคคลอื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑

๒) เป็นผู้ไม่มีจิตคิดปองร้าย ไม่มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความมุ่งร้ายกัน ไม่มีทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด ดังนี้ ๑

๓) เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การเซ่นสรวง มีผล การบูชามีผล ผลวิบากแห่งกรรม ที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกหน้า มีอยู่ มารดามีอยู่บิดามีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นอุปปาติกะมีอยู่ สมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินไป โดยชอบผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัด ด้วยปัญญา อันยิ่ง ด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามมีอยู่ในโลก ดังนี้ ๑

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากอย่างนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(กุศลกรรม)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล
เพราะเหตุแห่งสมบัติ แห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล
หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยม ที่บุคคลโยนขึ้นข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใดๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยมที่ตั้งลงมานั้นเอง ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงาน ทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล
เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงาน ทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงาน ทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล
ฉันนั้นเหมือนกันแล




 





พุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์