เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ปัจจัยให้เกิด และไม่ให้เกิด โสกะ (ติสสสูตร) 1611
  (ย่อ)

ปัจจัยให้เกิด และไม่ให้เกิด โสกะ (ติสสสูตร)

กายของข้าพเจ้า เป็นดุจภาระอันหนักโดยแท้
แม้ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้า
แม้ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า
ถีนมิทธะ ย่อมครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่
ข้าพเจ้าไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
ความสงสัยในธรรมทั้งหลายย่อมเกิดมีแก่ข้าพเจ้า

ดูกรติสสะ ..โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมบังเกิดแก่ บุคคล ผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรักใคร่ ความกระหาย ความเร่าร้อน
ความทะเยอทะยาน ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
เพราะความที่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่น

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๖

๒. ติสสสูตร
ว่าด้วยปัจจัยให้เกิด และไม่ให้เกิดโสกะ
(โสกะ คือ ความเศร้าโศก ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ)

            [๑๙๔] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ก็สมัยนั้น ท่านพระติสสะ ซึ่งเป็นโอรสของ พระปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาค บอกแก่ภิกษุหลายรูปอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย กายของข้าพเจ้า เป็นดุจภาระอันหนักโดยแท้ แม้ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้า แม้ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า ถีนมิทธะ ย่อมครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่ ข้าพเจ้าไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และความสงสัยในธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดมี แก่ข้าพเจ้า

            [๑๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูป พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านติสสะผู้เป็นโอรสของปิตุจฉา ของพระผู้มีพระภาค บอกแก่ภิกษุหลายรูปว่า อาวุโสทั้งหลาย กายของข้าพเจ้า เป็นดุจภาระอันหนัก โดยแท้ แม้ทิศทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้า แม้ธรรมทั้งหลาย ก็ไม่แจ่มแจ้ง แก่ข้าพเจ้า ถีนมิทธะ ย่อมครอบงำจิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์ และความสงสัยในธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดมีแก่ข้าพเจ้า

            ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้ว รับสั่งว่า ดูกรภิกษุ เธอจงไปเรียกติสสภิกษุ ตามคำของเราว่า ท่านติสสะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นรับพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านติสสะถึงที่อยู่ แล้วบอกแก่ท่านติสสะ อย่างนี้ว่า ท่านติสสะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน. ท่านพระติสสะรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

            ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถามท่านพระติสสะว่า ดูกรติสสะ ทราบว่า เธอได้บอกแก่ภิกษุหลายรูปว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย กายของข้าพเจ้า เป็นดุจภาระ อันหนักโดยแท้ ฯลฯ และความสงสัยในธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดมีแก่ข้าพเจ้า จริงหรือ? ท่านพระติสสะกราบทูลว่า จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า

            พ. ดูกรติสสะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมบังเกิดแก่บุคคล ผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรักใคร่ ความกระหาย ความเร่าร้อน ความทะเยอทะยาน ในรูป เพราะความ ที่รูปนั้น แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไปใช่ไหม?
            ต. ใช่ พระเจ้าข้า.
            พ. ดีละๆ ติสสะ ก็ข้อนี้ย่อมเป็นอย่างนี้ สำหรับบุคคลผู้ไม่ปราศจากความ กำหนัด ในรูป.

            ดูกรติสสะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรักใคร่ ความกระหาย ความเร่าร้อน ความทะเยอทะยาน ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป ใช่ไหม?
            ต. ใช่ พระเจ้าข้า.
            พ. ดีละๆ ติสสะ ก็ข้อนี้ย่อมเป็นอย่างนี้ สำหรับบุคคล ผู้ยังไม่ปราศจาก ความกำหนัด ในวิญญาณ.

            [๑๙๖] พ. ดูกรติสสะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรักใคร่ความกระหาย ความเร่าร้อน ความทะเยอทะยานในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเพราะความที่วิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป ใช่ไหม?
            ต. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
            พ. ดีละๆ ติสสะ ก็ข้อนี้ย่อมเป็นอย่างนี้ สำหรับบุคคล ผู้ปราศจากความกำหนัด ในวิญญาณ.

            ดูกรติสสะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ต. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

            พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ต. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

            พ. เพราะเหตุนั้นแล ติสสะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก.

            [๑๙๗] พ. ดูกรติสสะ เปรียบเหมือน มีบุรุษ ๒ คน
คนหนึ่งไม่ฉลาดในหนทาง คนหนึ่งฉลาดในหนทาง
บุรุษคนที่ไม่ฉลาดในหนทางนั้น จึงถามทางบุรุษ ผู้ฉลาดในหนทาง บุรุษผู้ฉลาดใน หนทางนั้น พึงบอกอย่างนี้ว่า

             ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปตามทางนี้แหละสักครู่หนึ่งแล้ว จักพบทาง ๒ แพร่ง ในทาง ๒ แพร่งนั้น ท่านจงละทางซ้ายเสีย ถือเอาทางขวา ไปตามทางนั้น สักครู่หนึ่งแล้ว จักพบราวป่าอันทึบ ท่านจงไปตามนั้นสักพักหนึ่งแล้ว จักพบที่กลุ่ม ใหญ่ มีเปือกตม จงไปตาม ทางนั้นสักครู่หนึ่งแล้ว จักพบหนองบึง จงไปตามทางนั้น สักครู่หนึ่งแล้ว จักพบภูมิภาค อันราบรื่น.

            ดูกรติสสะ เรากระทำอุปมานี้แล เพื่อให้เข้าใจเนื้อความ ในข้อนี้มีอธิบาย อย่างนี้.
      คำว่าบุรุษผู้ไม่ฉลาดในหนทางนี้แล เป็นชื่อแห่งปุถุชน
      คำว่าบุรุษผู้ฉลาดในหนทางนี้แล เป็นชื่อแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
      คำว่าทาง ๒ แพร่งนี้แล เป็นชื่อแห่ง วิจิกิจฉา
      คำว่าทางซ้ายนี้แล เป็นชื่อแห่งมรรคผิดอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉาสมาธิ
      คำว่าทางขวานี้แล เป็นชื่อแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
      คำว่าราวป่าอันทึบนี้แล เป็นชื่อแห่งอวิชชา
      คำว่าที่ลุ่มใหญ่มีเปือกตมนี้แล เป็นชื่อแห่งกามทั้งหลาย
      คำว่าหนองบึงนี้แล เป็นชื่อแห่งความโกรธและความคับแค้น
      คำว่าภูมิภาคอันราบรื่นนี้แล เป็นชื่อแห่งนิพพาน

            เธอจงยินดีเถิด ติสสะ เธอจงยินดีเถิด ติสสะตามโอวาทของเรา ตามความ อนุเคราะห์ของเรา ตามคำพร่ำสอนของเรา พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระติสสะปลื้มใจ ชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคฉะนี้แล

 





พุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์