เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ว่าด้วยการสิ้นและไม่สิ้นไปแห่งอาสวะ (นาวาสูตร) 1598
  (ย่อ)

ว่าด้วยการสิ้นและไม่สิ้นไปแห่งอาสวะ (นาวาสูตร)

เมื่อภิกษุไม่ประกอบ ภาวนานุโยค จะเกิดความรู้สึกว่า จิตของเราไม่ยังพึงพ้นจากอาสวะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธอไม่อบรม เพราะไม่อบรมอะไร เพราะไม่อบรมสติปัฏฐาน ๔
เพราะไม่อบรมสัมมัปปธาน ๔
เพราะไม่อบรมอิทธิบาท ๔
เพราะไม่อบรมอินทรีย์ ๕
เพราะไม่อบรมพละ ๕
เพราะไม่อบรมโพชฌงค์ ๗
เพราะไม่อบรมอริยมรรคมีองค์ ๘. (โพธิปักขิยธรรม ๓๗)

อุปมาเหมือน ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น อันแม่ไก่ไม่นอนทับด้วยดี ไม่กกด้วยดี ไม่ฟักด้วยดี แม้ฉันใด. ลูกไก่เหล่านั้น ก็ไม่สามารถจะทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วย จะงอยปาก ออกมาโดย ความสวัสดีได้ ฉันนั้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นาวาสูตร นี้ เป็น พระสูตรเดียวกันกับ ภาวนาสูตร " การภาวนาที่สำเร็จจนสิ้นอาสวะ "
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๓) P1368

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๓

ว่าด้วยการสิ้นและไม่สิ้นไปแห่งอาสวะ (นาวาสูตร)

           [๒๖๐] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง อาสวะของผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของผู้ไม่รู้ ไม่เห็น.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร จึงมีความสิ้นแห่งอาสวะ. เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้ ... สัญญาดังนี้ ... สังขารดังนี้ ... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง วิญญาณ ดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ.

           [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบ ภาวนานุโยค* อยู่ จะพึงเกิด ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็จริงอยู่ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นได้เลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธอไม่อบรม เพราะไม่อบรมอะไร เพราะไม่อบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะไม่อบรมสัมมัปปธาน ๔ เพราะไม่อบรมอิทธิบาท ๔ เพราะไม่อบรมอินทรีย์ ๕ เพราะไม่อบรมพละ ๕ เพราะไม่อบรมโพชฌงค์ ๗ เพราะไม่อบรมอริยมรรคมีองค์ ๘. (โพธิปักขิยธรรม ๓๗)
*(ภาวนานุโยค - ประกอบความเพียรด้วยการภาวนา)

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น พึงเป็น ของอันแม่ไก่ไม่นอนทับด้วยดี ไม่กกด้วยดีไม่ฟักด้วยดี แม่ไก่นั้นถึงจะเกิด ความปรารถนา อย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอลูกของเราพึง ทำลายเปลือกไข่ด้วยปลาย เล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาโดยความสวัสดี ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้น ก็ไม่สามารถจะทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วย จะงอยปาก ออกมาโดย ความสวัสดีได้. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ทั้งนี้เพราะไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น อันแม่ไก่ไม่นอนทับด้วยดี ไม่กกด้วยดี ไม่ฟักด้วยดี แม้ฉันใด.

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนานุโยคอยู่ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ ถือมั่น ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ได้เลย. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธอไม่อบรม เพราะเธอ ไม่อบรมอะไร เพราะไม่อบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะไม่อบรมสัมมัปปธาน ๔ เพราะไม่ อบรมอิทธิบาท ๔ เพราะไม่อบรมอินทรีย์ ๕ เพราะไม่อบรมพละ ๕ เพราะไม่อบรม โพชฌงค์ ๗ เพราะไม่อบรมอริยมรรคมีองค์ ๘. (โพธิปักขิยธรรม ๓๗)

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบภาวนานุโยคอยู่ ถึงจะไม่เกิดความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น จิตย่อมพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธออบรม เพราะอบรมอะไร เพราะอบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะอบรมสัมมัปปธาน ๔ เพราะอบรมอิทธิบาท ๔ เพราะอบรมอินทรีย์ ๕ เพราะ อบรมพละ ๕ เพราะอบรมโพชฌงค์ ๗ เพราะอบรมอริยมรรคมีองค์ ๘. (โพธิปักขิยธรรม ๓๗)

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่ เหล่านั้น อัน แม่ไก่นอนทับด้วยดี กกด้วยดี ฟักด้วยดี แม่ไก่นั้นถึงจะไม่เกิดความปรารถนา อย่างนี้ ว่าไฉนหนอ ขอลูกของเราพึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีดังนี้ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นสามารถทำลายเปลือกไข่ ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดี. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ทั้งนี้ เพราะไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น อันแม่ไก่นอนทับด้วยดี กกด้วยดี ฟักด้วยดี แม้ฉันใด.

           ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อภิกษุประกอบภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่าไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะ ไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะว่าเธออบรม เพราะอบรม อะไร เพราะอบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะอบรมสัมมัปปธาน ๔ เพราะอบรมอิทธิบาท ๔ เพราะอบรมอินทรีย์ ๕ เพราะอบรมพละ ๕ เพราะอบรมโพชฌงค์ ๗ เพราะอบรม อริยมรรคมีองค์ ๘. (โพธิปักขิยธรรม ๓๗)

           [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยนิ้วมือย่อมปรากฏ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ ย่อมปรากฏที่ด้ามมีดของนายช่างไม้ หรือลูกมือของนายช่างไม้ แต่นายช่างไม้ หรือ ลูกมือของนายช่างไม้นั้นหารู้ไม่ว่า วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปประมาณเท่านี้ วานนี้ สึกไปประมาณเท่านี้ วันก่อนๆ สึกไปประมาณเท่านี้ นายช่างไม้หรือลูกมือของ นายช่างไม้ นั้น มีความรู้แต่ว่า สึกไปแล้ว โดยแท้แลแม้ฉันใด.

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบภาวนานุโยคอยู่ หารู้ไม่ว่า วันนี้อาสวะ ทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้วประมาณเท่านี้ วานนี้สิ้นไปแล้วประมาณเท่านี้ หรือวันก่อนๆ สิ้นไปแล้วประมาณเท่านี้ก็จริง ถึงอย่างไรนั้น เมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็มีความรู้แต่ว่า สิ้นไปแล้วๆ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือที่เขาผูกด้วยพรวน แล่นไปในสมุทร จมลงในน้ำ สิ้น ๖ เดือน โดยเหมันตสมัย เขาเข็นขึ้นบก พรวนเหล่านั้นถูกลมและแดด กระทบแล้ว ถูกฝนตกรดแล้วย่อมผุ และเปื่อย โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกันแล.

 

 


 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์