เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อริยวงศ์ ๔ ประการ (คุณสมบัติของบรรพชิตผู้สันโดษ) 1586
  (ย่อ)

อริยวงศ์ ๔ ประการ เป็นไฉน

1.ภิกษุย่อม เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้ ย่อมไม่ถึงการแสวงหาอันไม่สมควร
2.ภิกษุย่อม เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้ ย่อมไม่ถึงการแสวงหา อันไม่สมควร
3.ภิกษุย่อม เป็นผู้สันโดษ ด้วยเสนาสนะ ตามมีตามได้ ย่อมไม่ยึดถือ ไม่หมกมุ่น ไม่ห่วงใย
4.ภิกษุย่อม เป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา มีปหานะ เป็นที่มายินดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ ประการนี้แล นักปราชญ์รู้ว่าเลิศมีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย และไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชน ทั้งสมณะ และพราหมณ์ไม่เกลียด

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 

 

"วังสสูตร" ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗ ข้อ [28]
"อริยวังสสูตร" ฉบับมหาจุฬา เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗ ข้อ [28]
"อริยวงศ์ ๔ อย่าง" ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๑๒ ว่าด้วย การเป็นอยู่ชอบ หน้า ๒๖๕

(ฉบับหลวง)
วังสสูตร

            [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ ประการนี้ นักปราชญ์สรรเสริญว่า เป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคย กระจัดกระจาย อันบัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะ และพราหมณ์ไม่เกลียด

       อริยวงศ์ ๔ ประการ เป็นไฉน
คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ (๑) ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้ มีปรกติกล่าว สรรเสริญ คุณแห่ง สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ย่อมไม่ถึงการแสวงหาอันไม่สมควร เพราะจีวร เป็นเหตุเมื่อไม่ได้ก็ไม่ตกใจ

       ครั้นได้แล้วก็ไม่ยึดถือ ไม่หมกมุ่น ไม่ห่วงใย มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องรื้อ ออกใช้สอยอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในการสันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้นั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ใน อริยวงศ์ อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์ สรรเสริญว่าเป็นเลิศ

       อีกประการหนึ่ง (๑) ภิกษุย่อม เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้ มีปรกติ กล่าวสรรเสริญคุณ แห่งสันโดษ ด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ย่อมไม่ถึงการ แสวงหา อันไม่สมควรเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ เมื่อไม่ได้ก็ไม่ตกใจ ครั้นได้แล้ว ก็ไม่ยึดถือ ไม่หมกมุ่น ไม่ห่วงใย มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องรื้อออกบริโภคอยู่ และย่อม ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้นั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการสันโดษ ด้วยบิณฑบาต ตามมี ตามได้นั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์สรรเสริญว่าเป็นเลิศ

       อีกประการหนึ่ง (3) ภิกษุย่อม เป็นผู้สันโดษ ด้วยเสนาสนะ ตามมีตามได้ มีปรกติ กล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการสันโดษ ด้วยเสนาสนะ ตามมีตามได้ ย่อมไม่ถึง การแสวงหา อันไม่สมควรเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ เมื่อไม่ได้ก็ไม่ตกใจ ครั้นได้แล้ว ย่อมไม่ยึดถือ ไม่หมกมุ่น ไม่ห่วงใย มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องรื้อออกบริโภคอยู่ และย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ใน อริยวงศ์อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์สรรเสริญว่าเป็นเลิศ

       อีกประการหนึ่ง (๔) ภิกษุย่อมเป็นผู้ มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา มีปหานะ เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในปหานะ ย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะมีภาวนา เป็นที่มายินดี เพราะยินดีในภาวนา เพราะมีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะยินดีใน ปหานะนั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในภาวนาและปหานะนั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ใน อริยวงศ์ อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์ สรรเสริญว่าเป็นเลิศ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ ประการนี้แล นักปราชญ์รู้ว่าเลิศมีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะเป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย และไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจวิญญูชน ทั้งสมณะ และพราหมณ์ไม่เกลียด

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการนี้ ถึงแม้อยู่ในทิศ ตะวันออก เธอย่อมครอบงำความไม่ยินดีเสียได้ ความไม่ยินดี ย่อมไม่ครอบงำเธอได้ ถึงแม้เธอ อยู่ในทิศตะวันตก ... ในทิศเหนือ ... ในทิศใต้ เธอก็ย่อมครอบงำความ ไม่ยินดีเสียได้ ความไม่ยินดีย่อมไม่ครอบงำเธอได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

       เพราะเธอเป็นธีรชน ครอบงำ ความไม่ยินดี และความยินดีได้ความยินดี ย่อมครอบงำ ธีรชนไม่ได้ ความไม่ยินดี ไม่อาจครอบงำธีรชน ธีรชนย่อมครอบงำ ความไม่ยินดีได้ เพราะธีรชน เป็นผู้ครอบงำ ความไม่ยินดี กิเลสอะไรจะมากั้น กางบุคคลผู้บรรเทา กิเลสเสียได้ มีปรกติละกรรมทั้งปวง ได้เด็ดขาด ใครควรเพื่อจะ ติเตียน บุคคลนั้น ผู้เป็นประดุจแท่งทองชมพูนุท แม้เทวดาก็เชยชม แม้พรหม ก็สรรเสริญ

จบสูตรที่ ๘



อริยวงศ์ ๔ อย่าง (อริยสัจจ์จากพระโอษฐ์) P945


 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์