เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สันโดษ ตามมีตามได้ : อริยวงศ์ ๔ อย่าง 945
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อริยวงศ์ ๔ อย่าง

1. ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวร ตามมี ตามได้ 
2. ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษ ด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้
3. ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษ ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ 
4. ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วใน ปหานะ(ประหารกิเลส)

ทรงชักชวนฉันอาหารวันละหนเดียว
ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหาร ที่อาสนะแห่งเดียวเถิด แม้พวกเธอฉันอาหาร ที่อาสนะแห่งเดียวกัน ก็จะรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก.

(P1540 ฉบับหลวง)


 
 


ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หมวดที่ ๑๒ ว่าด้วย การเป็นอยู่ชอบ หน้า ๒๖๕

อริยวงศ์ ๔ อย่าง
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๒๓๖/๒๓๗.


๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ 
ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร ตามมี ตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหา ที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งจีวร และไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้จีวรแล้ว ก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่นไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วยจีวรนั้น. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก 
ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษ ด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และมีปรกติกล่าวสรรเสริญ ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการ แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต และไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดออกบริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านมีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษ ด้วย บิณฑบาตนั้น. ผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก 
ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และมีปรกติกล่าว สรรเสริญความสันโดษ ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และย่อมไม่ถึงการ แสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ และไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และได้เสนาสนะแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกมุ่น ไม่ติดแน่น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดออกบริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษ ด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านมีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในสันโดษด้วย เสนาสนะนั้น. ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในปหานะ(ประหารกิเลส) ย่อมเป็นผู้มีภาวนา เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มี ปหานะเป็นที่มายินดี เพราะความยินดี ในปหานะ เพราะความเป็นผู้มี ภาวนาเป็นที่มายินดี เพราะความยินดีในภาวนานั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านมีสัมป ชัญญะ มีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น. ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ใน อริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.

ทรงชักชวนฉันอาหารวันละหนเดียว
-บาลี มู. ม. ๑๒/๒๕๑/๒๖๕.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ทำจิตของเราให้ยินดีเป็นอันมาก เราขอเตือนภิกษุ ทั้งหลายไว้ในที่นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารที่อาสนะ แห่งเดียว เมื่อเราฉันอาหาร ที่อาสนะ แห่งเดียวอยู่แล รู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อยมีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหาร ที่อาสนะแห่งเดียวเถิด  แม้พวกเธอฉันอาหาร ที่อาสนะแห่งเดียวกัน ก็จะรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก.



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์