เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ที่ควรยกย่อง และไม่ควรยกย่อง 1584
  (ย่อ)

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรยกย่อง
๑) เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยมรรยาทไม่ถึงพร้อมด้วยวัตร
๒) ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงจำสูตร
๓) เป็นผู้ไม่ประพฤติขัดเกลา ไม่ยินดีในการหลีกออกเร้น ไม่ยินดีในกัลยาณธรรม
๔) เป็นผู้ไม่มีวาจาไพเราะ ไม่กระทำถ้อยคำให้ไพเราะ
๕) มีปัญญาทราม โง่เขลา
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรยกย่อง
๑) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมรรยาท ถึงพร้อมด้วยวัตร
๒) เป็นผู้พหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ
๓) เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ยินดีในการหลีกออกเร้น ยินดีในกัลยาณธรรม
๔) มีวาจาไพเราะกระทำถ้อยคำให้ไพเราะ
๕) มีปัญญา เฉลียวฉลาด
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมยัง อาวาสให้งาม
๑) เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒) เป็นผู้พหูสูต ฯลฯบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
๓) เป็นผู้มีวาจาไพเราะ ฯลฯ ให้ทราบข้อความได้ชัด
๔) เป็นผู้สามารถเพื่อให้ผู้เข้าไปหาเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วย ธรรมีกถา
๕) เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยากซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก
๑) ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ
๒) ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ
๓) ไม่ใคร่ครวญไม่พิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
๔)ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันควรเลื่อมใส
๕) ย่อมยังศรัทธาไทยให้ตกไป
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์
๑) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ
๒) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
๓) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
๔) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันควรเลื่อมใส
๕) ย่อมไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก
๑) เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒) ตระหนี่สกุล
๓) ตระหนี่ลาภ
๔) ตระหนี่วรรณะ
๕) ตระหนี่ธรรม

... ฯลฯ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๘ - ๒๔๓

อาวาสิกวรรคที่ ๔
อาวาสิกสูตร

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรยกย่อง
๑) เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยมรรยาทไม่ถึงพร้อมด้วยวัตร
๒) ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงจำสูตร
๓) เป็นผู้ไม่ประพฤติขัดเกลา ไม่ยินดีในการหลีกออกเร้น ไม่ยินดีในกัลยาณธรรม
๔) เป็นผู้ไม่มีวาจาไพเราะ ไม่กระทำถ้อยคำให้ไพเราะ
๕) มีปัญญาทราม โง่เขลา

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรยกย่อง
๑) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมรรยาท ถึงพร้อมด้วยวัตร
๒) เป็นผู้พหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ
๓) เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ยินดีในการหลีกออกเร้น ยินดีในกัลยาณธรรม
๔) มีวาจาไพเราะกระทำถ้อยคำให้ไพเราะ
๕) มีปัญญา เฉลียวฉลาด
------------------------------------------------------------------------------------------------------------


อัปปิยสูตร

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจ ที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์
๑) เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

๒) เป็นผู้พหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก จำทรงไว้ ขึ้นปาก คล่องใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

๓) เป็นผู้มีวาจาไพเราะ กระทำถ้อยคำให้ไพเราะประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวยไม่มีโทษ ให้ทราบข้อความได้ชัด

๔) เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

๕) ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โสภณสูตร

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมยัง อาวาสให้งาม
๑) เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย

๒) เป็นผู้พหูสูต ฯลฯบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

๓) เป็นผู้มีวาจาไพเราะ ฯลฯ ให้ทราบข้อความได้ชัด

๔) เป็นผู้สามารถเพื่อให้ผู้เข้าไปหาเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วย ธรรมีกถา

๕) เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พหุปการสูตร

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส
๑) เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒) เป็นผู้พหูสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
๓) ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่หักพัง

๔) ก็ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่างๆ ย่อมเข้าไปบอกพวก คฤหัสถ์ ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจาก แคว้นต่างๆ ขอเชิญท่านทั้งหลายทำบุญ เป็นสมัยทำบุญ

๕) เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อนุกัมปกสูตร

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์
๑) ยังคฤหัสถ์ให้สมาทานในอธิศีล

๒) ให้ตั้งอยู่ในธรรมทัศนะ

๓) เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ป่วยแล้ว ย่อมให้สติว่าท่านทั้งหลายจงตั้งสติให้ตรงต่อพระ รัตนตรัย ก็ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่างๆ ย่อมเข้าไปบอกพวก คฤหัสถ์ ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุหมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่างๆ ขอเชิญท่านทั้งหลายทำบุญเป็นสมัยทำบุญ

๔) ย่อมฉันโภชนะที่พวกคฤหัสถ์ถวาย จะเลวหรือประณีตก็ตามด้วยตนเอง

๕) ไม่ยังศรัทธาไทยให้เสียไป
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ยถาภตอวรรณสูตร

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก
๑) ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ
๒) ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ
๓) ไม่ใคร่ครวญไม่พิจารณาก่อน แล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
๔) ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันควรเลื่อมใส
๕) ย่อมยังศรัทธาไทยให้ตกไป

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์
๑) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ
๒) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
๓) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
๔) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันควรเลื่อมใส
๕) ย่อมไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ยถาภตเคธสูตร

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก
๑) ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ
๒) ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ
๓) เป็นผู้ตระหนี่อาวาส หวงแหนอาวาส
๔) เป็นผู้ตระหนี่สกุลหวงแหนสกุล
๕) ย่อมยังศรัทธาไทยให้ตกไป

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์
๑) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ
๒) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
๓) เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส ไม่หวงแหนอาวาส
๔) เป็นผู้ไม่ตระหนี่สกุล ไม่หวงแหนสกุล
๕) ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ยถาภตมัจเฉรสูตรที่ ๑

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก
๑) ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ
๒) ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ
๓) เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๔) ตระหนี่สกุล
๕) ตระหนี่ลาภ

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์
๑) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ
๒) ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
๓) ไม่เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๔) ไม่ตระหนี่สกุล
๕) ไม่ตระหนี่ลาภ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ยถาภตมัจเฉรสูตรที่ ๒

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก
๑) เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒) ตระหนี่สกุล
๓) ตระหนี่ลาภ
๔) ตระหนี่วรรณะ
๕) ย่อมยังศรัทธาไทยให้ตกไป

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑) ไม่เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒) ไม่ตระหนี่สกุล
๓) ไม่ตระหนี่ลาภ
๔)ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕) ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ยถาภตมัจเฉรสูตรที่ ๓

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก
๑) เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒) ตระหนี่สกุล
๓) ตระหนี่ลาภ
๔) ตระหนี่วรรณะ
๕) ตระหนี่ธรรม

ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกเชิญมาไว้ ในสวรรค์
๑) ไม่เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒) ไม่ตระหนี่สกุล
๓) ไม่ตระหนี่ลาภ
๔ ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕) ไม่ตระหนี่ธรรม

 

 


 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์