เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

พฤติกรรมของจิต ของผู้ที่จะเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาทในอินทรีย์ทั้ง ๖ 1564
  (ย่อ)

พฤติกรรมของจิต ของผู้ที่จะเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท
- เมื่อบุคคลสำรวม จักขุนทรีย์ (ตา) อยู่
- จิตย่อมไม่เกลือกกลั้ว ในรูปทั้งหลายที่รู้แจ้งด้วยจักษุ(วิญญาณ)
- เมื่อเขามีจิตไม่เกลือกกลั้ว ปราโมทย์ย่อมเกิด
- เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด
- เมื่อมีใจปีติ กายย่อมสงบ
- ผู้มีกายสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข
- จิตของผู้มีสุข ย่อมตั้งมั่น
- เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ
- เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ บุคคลนั้นย่อมถึงซึ่งการนับว่าเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท

(ในกรณีแห่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน)
(ในกรณีแห่งผู้ มีปกติอยู่ด้วยความประมาท ก็ตรัสไว้โดยนัยตรงกันข้าม)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------
อินทรีย์ ๖ 
 1.จักขุนทรีย์ ตา -> รูป
 2.โสตินทรีย์ หู -> เสียง
 3.ฆานินทรีย์ จมูก -> กลิ่น
 4.ชิวหินทรีย์ ลิ้น -> รส
 5.กายินทรีย์ กาย -> สัมผัสทางกาย
 6.มนินทรีย์ ใจ -> ธรรมารมณ์
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒  ภาค ๔ (หน้าที่ ๑๓๓๑- ๑๓๖๗)

พฤติกรรมของจิต ของผู้ที่จะเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท
(สำรวมระวังอินทรีย์ทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

        ภิกษุ ท. !  บุคคลเป็นผู้ มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. !  เมื่อบุคคล สำรวม จักขุนทรีย์ (ตา) อยู่ จิตย่อมไม่เกลือกกลั้ว ในรูปทั้งหลาย ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เมื่อเขามีจิตไม่เกลือกกลั้ว ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมอยู่เป็น สุข จิตของผู้ มีสุข ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อม ปรากฏ เพราะ ธรรมทั้งหลายปรากฏ บุคคลนั้น ย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นผู้มีปกติ อยู่ด้วยความไม่ ประมาท โดยแท้

ภิกษุ ท. !  เมื่อบุคคล สำรวม โสตินทรีย์ (หู) อยู่ จิตย่อมไม่เกลือกกลั้ว ในเสียงทั้งหลาย ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ เมื่อเขามีจิตไม่เกลือกกลั้ว ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมอยู่เป็น สุข จิตของผู้ มีสุข ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อม ปรากฏ เพราะ ธรรมทั้งหลายปรากฏ บุคคลนั้น ย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นผู้มีปกติ อยู่ด้วยความไม่ ประมาท โดยแท้

ภิกษุ ท. !  เมื่อบุคคล สำรวม ฆานินทรีย์ (จมูก)อยู่ จิตย่อมไม่เกลือกกลั้ว ในกลิ่นทั้งหลาย ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ เมื่อเขามีจิตไม่เกลือกกลั้ว ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อม อยู่เป็นสุข จิตของผู้ มีสุข ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อม ปรากฏ เพราะ ธรรมทั้งหลายปรากฏ บุคคลนั้น ย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นผู้มีปกติ อยู่ด้วย ความไม่ประมาท โดยแท้

ภิกษุ ท. !  เมื่อบุคคล สำรวม ชิวหินทรีย์ (ลิ้น)อยู่ จิตย่อมไม่เกลือกกลั้ว ในรสทั้งหลาย ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา เมื่อเขามีจิตไม่เกลือกกลั้ว ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมอยู่เป็น สุข จิตของผู้ มีสุข ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อม ปรากฏ เพราะ ธรรมทั้งหลายปรากฏ บุคคลนั้น ย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นผู้มีปกติ อยู่ ด้วยความไม่ประมาท โดยแท้

ภิกษุ ท. !  เมื่อบุคคล สำรวม กายินทรีย์ (กาย)อยู่ จิตย่อมไม่เกลือกกลั้ว ในกาย(สัมผัส) ทั้งหลาย ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย เมื่อเขามีจิตไม่เกลือกกลั้ว ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมอยู่เป็น สุข จิตของผู้ มีสุข ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏ เพราะ ธรรมทั้งหลายปรากฏ บุคคลนั้น ย่อมถึงซึ่งการ นับว่า เป็นผู้มีปกติ อยู่ด้วยความไม่ ประมาท โดยแท้

ภิกษุ ท. !  เมื่อบุคคล สำรวม มนินทรีย์ (ใจ) อยู่ จิตย่อมไม่เกลือกกลั้ว ในธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมนะ เมื่อเขามีจิตไม่เกลือกกลั้ว ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมอยู่เป็น สุข จิตของผู้ มีสุข ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อม ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ บุคคลนั้น ย่อมถึงซึ่งการ นับว่า เป็นผู้มีปกติ อยู่ด้วยความไม่ ประมาท โดยแท้

ภิกษุ ท. !  อย่างนี้แล ชื่อว่าบุคคลเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท

- สฬา. สํ. ๑๘/๙๘/๑๔๔.

 

 

 


 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์