เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ผู้ตายคาประตูนิพพาน (อริยะบุคคลผู้ประมาท) 1560
  (ย่อ)

“บุรุษผู้เจริญ !
ลูกศรถูกถอนออกแล้ว โทษอันเป็นพิษ เรานำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว ท่านไม่มี อันตรายอีกแล้ว และท่านจะบริโภคอาหารได้ตามสบาย แต่อย่าไปกินอาหาร ที่จะทำให้แผลอักเสบ จงล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา....

บุรุษนั้นคิดว่า “หมอถอนลูกศรให้เราแล้ว โทษอันเป็นพิษหมอก็นำออกจนไม่มีเชื้อเหลือ เราหมด อันตราย " เขาจึงบริโภคอาหารที่แสลง ทำให้มีแผลบวม ถึงซึ่งความตาย ซึ่งความทุกข์เจียนตาย

สุนักขัตตะ ! ภิกษุบางรูป สำคัญตนว่า น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ.... แต่ตามประกอบในธรรม ไม่เป็นที่สบาย แก่การน้อมไป ในนิพพานโดยชอบ....ราคะก็เสียบแทงจิตของเธอ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 651
(- อุปริ. ม. ๑๔/๖๖/๗๖.)


ผู้ตายคาประตูนิพพาน



            สุนักขัตตะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือจะมีภิกษุบางรูปในกรณีนี้ มีความเข้าใจของตน มีความหมาย อันสรุปได้อย่างนี้เป็นต้น ว่าตัณหานั้น สมณะ กล่าวกันว่าเป็นลูกศร โทษอันมีพิษของอวิชชา ย่อมงอกงาม เพราะฉันทราคะและ พยาบาท ลูกศรคือตัณหานั้นเราละได้แล้ว โทษอันมีพิษของอวิชชา เราก็นำออกไป หมดแล้ว เราเป็นผู้น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ” ดังนี้.

            เธอนั้นย่อมตามประกอบซึ่งธรรมทั้งหลาย อันไม่เป็นที่สบาย แก่ผู้น้อมไป แล้วในนิพพานโดยชอบ คือตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ในการเห็นรูป ด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ อันล้วนไม่เป็นที่สบาย.

            เมื่อเธอตามประกอบซึ่งธรรม อันไม่เป็นที่สบายเหล่านี้ อยู่ ราคะย่อมเสียบ แทงจิตของเธอ. เธอมีจิตอันราคะเสียบแทงแล้ว ย่อมถึงความตายหรือความทุกข์ เจียนตาย.

            สุนักขัตตะ ! เปรียบเหมือนบุรุษ ถูกยิงด้วยลูกศร อันอาบไว้ด้วยยาพิษ อย่างแรงกล้า. มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา จัดหาหมอผ่าตัดมารักษาหมอ ได้ใช้ศาสตราชำแหละปากแผลของเขา แล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร พบแล้วถอน ลูกศรออก กำจัดโทษอันเป็นพิษ ที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่ แล้วกล่าวแก่เขาอย่างนี้ว่า

            “บุรุษผู้เจริญ ! ลูกศรถูกถอนออกแล้ว โทษอันเป็นพิษ เรานำออก จนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว ท่านไม่มีอันตรายอีกแล้ว และท่านจะบริโภคอาหารได้ ตามสบาย แต่อย่าไปกินอาหาร ชนิดที่ไม่สบาย แก่แผลอันจะทำให้แผลอักเสบ และ จงล้างแผล ตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา เมื่อท่านล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา อย่าให้หนองและเลือดเกรอะกรังปากแผล และท่านอย่า เที่ยวตากลม ตากแดด เมื่อเที่ยวตากลมตากแดด ก็อย่าให้ฝุ่นละออง และของ โสโครก เข้าไปในปากแผล.

            บุรุษผู้เจริญ ! ท่านจงเป็นผู้ระวังรักษาแผล มีเรื่องแผลเป็นเรื่องสำคัญ เถอะนะ” ดังนี้.

            บุรุษนั้นมีความคิดว่า “หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว โทษอันเป็นพิษหมอ ก็นำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว เราหมดอันตราย” เขาจึงบริโภคโภชนะที่แสลง เมื่อบริโภคโภชนะที่แสลง แผลก็กำเริบ และเขาไม่ชะแผล ตามเวลาไม่ทายา ที่ปากแผล ตามเวลา เมื่อเขาไม่ชะแผลตามเวลา ไม่ทายาที่ปากแผลตามเวลา หนอง และเลือดก็เกรอะกรังปากแผล และเขาเที่ยวตากลมตากแดด ปล่อยให้ ฝุ่นละออง ของโสโครกเข้าไปในปากแผล และเขาไม่ระวังรักษาแผล ไม่มีเรื่องแผล เป็นเรื่อง สำคัญ.

            เขานำโทษพิษอันไม่สะอาดออกไป ด้วยการกระทำอันไม่ถูกต้องเหล่านี้ แผลจึงมีเชื้อเหลืออยู่ แผลก็บวมขึ้นเพราะเหตุทั้งสองนั้น. บุรุษนั้นมีแผลบวมแล้ว ก็ถึงซึ่งความตายบ้าง ซึ่งความทุกข์เจียนตายบ้าง นี้ฉันใด

            สุนักขัตตะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือข้อที่ภิกษุบางรูป สำคัญตนว่า น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ.... แต่ตามประกอบในธรรม ไม่เป็นที่สบาย แก่การน้อมไป ในนิพพานโดยชอบ....ราคะก็เสียบแทงจิตของเธอ

            เธอมีจิตอันราคะเสียบแทงแล้ว ย่อมถึงความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย.

            สุนักขัตตะ ! ในอริยวินัยนี้ ความตายหมายถึงการบอกคืนสิกขา เวียนไปสู่ เพศต่ำ ความทุกข์เจียนตาย หมายถึงการต้องอาบัติ อันเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง แล.
- อุปริ. ม. ๑๔/๖๖/๗๖.


 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์