เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ภัททาลิสูตร พระภัททาลิ อ้างฉันอาหารหนเดียวไม่ได้ ต่อมาได้ขอขมาพระผู้มีภระภาค 1550
  (ย่อ)

1.คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว
เราฉันอาหารในเวลาก่อน ภัตครั้งเดียว เราย่อมรู้สึกคุณ คือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลาย จงฉันอาหารในเวลาก่อนภัต ครั้งเดียวเถิด

2.พระภัททาลิฉันอาหารหนเดียวไม่ได้
- ภัททาลิ ไม่อาจฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวได้ เพราะมีความรำคาญเดือดร้อน
- พ. ถ้าอย่างนั้น เธอพึงฉันเสียส่วนหนึ่ง แล้วนำส่วนหนึ่งมาฉันอีกก็ได้
- ภัท. ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันอย่างนั้นได้
- ภ้ท. ขาดความอุตสาหะ ในเมื่อ พ.กำลังจะทรงบัญญัติสิกขาบทให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติ
- ครั้งนั้น ภัท.ไม่สบพระพักตร์กับตลอดไตรมาส ไม่ต่างกับภิกษุที่บกพร่องในสิกขา

3. พระภัททาลิขอขมาพระพุทธเจ้า
- ภิกษุ ท.เตือนภัททาลิ ว่าขอให้คิดดีๆ อย่าได้ทำในสิ่งที่ยุ่งยากแบบนี้อีกเลย
- ภัท.รับคำของภิกษุเหล่านั้น แล้วเข้าเฝ้าฯ เพื่อกล่าวขอโทษ
- ภัท. โทษได้ครอบงำ ข้าฯเป็นไม่ฉลาดไม่มีความอุตสาหะ ขณะที่พระองค์กำลังบัญญัติสิกขาบท
- ขอ พ. จงรับโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวม ต่อไปเถิด
- พ.ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
- แต่เพราะเธอเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษของเธอนั้น

4.ภิกษุเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ในสิกขา
ภิกษุผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา แต่เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าโคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ เมื่อเธอหลีกออกอยู่ด้วยประการนั้น พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้

5.ภิกษุบริบูรณ์ในสิกขา
พึงเสพเสนาสนะอันสงัดคือ ป่าโคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ทำให้แจ้งซึ่ง คุณวิเศษ คือ ความรู้ความเห็นของพระอริยะ ผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้

6.ทำอย่างไร พระศาสดาจึงไม่ติเตียนภิกษุ
- ภิกษูสงัดจากกาม จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวก
- ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่
- ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน 
- ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้
  มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์ อยู่

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๐ หน้าที่ ๑๓๔

๕. ภัททาลิสูตร

1)

คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว
เราฉันอาหารในเวลาก่อน ภัตครั้งเดียว เราย่อมรู้สึกคุณ คือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลาย
จงฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวเถิด

             [๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.

        พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารในเวลาก่อน ภัตครั้งเดียว เมื่อเราฉันอาหาร ในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณ คือความเป็นผู้ มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายจงมา จงฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว เถิด ด้วยว่าเมื่อเธอทั้งหลาย ฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว จักรู้สึกคุณคือความ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ

2)

พระภัททาลิฉันอาหารหนเดียวไม่ได้
- ภัททาลิ ไม่อาจฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวได้ เพราะมีความรำคาญเดือดร้อน
- พ. ถ้าอย่างนั้น เธอพึงฉันเสียส่วนหนึ่ง แล้วนำส่วนหนึ่งมาฉันอีกก็ได้
- ภัท. ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันอย่างนั้นได้
- ภ้ท. ขาดความอุตสาหะ ในเมื่อ พ.กำลังจะทรงบัญญัติสิกขาบทให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติ
- ครั้งนั้น ภัท.ไม่สบพระพักตร์กับตลอดไตรมาส ไม่ต่างกับภิกษุที่บกพร่องในสิกขา

             [๑๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันอาหารในเวลา ก่อนภัตครั้งเดียวได้ เพราะเมื่อข้าพระองค์ ฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว จะพึงมีความรำคาญ ความเดือดร้อน.

       ดูกรภัททาลิ ถ้าอย่างนั้นเธอรับนิมนต์ ณ ที่ใดแล้ว พึงฉัน ณ ที่นั้นเสียส่วนหนึ่ง แล้วนำส่วนหนึ่งมาฉันอีกก็ได้ เมื่อเธอฉันได้ แม้อย่างนี้ ก็จักยังชีวิตให้เป็น ไปได้.

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันแม้ด้วยอาการ อย่างนั้น ได้ เพราะเมื่อข้าพระองค์ ฉันแม้ด้วยอาการอย่างนั้น จะพึงมีความรำคาญ ความเดือดร้อน.

       ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิ ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อ พระผู้มี พระภาค กำลังจะทรง บัญญัติสิกขาบทในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา.

       ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิไม่ได้ให้ตน ประสบพระพักตร์พระผู้มีพระภาคตลอด ไตรมาสนั้นทั้งหมด เหมือนภิกษุอื่นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ ในสิกขา ในพระศาสนาของ พระศาสดาฉะนั้น.

3)


พระภัททาลิขอขมาพระพุทธเจ้า
- ภิกษุ ท.เตือนภัททาลิ ว่าขอให้คิดดีๆ อย่าได้ทำในสิ่งที่ยุ่งยากแบบนี้อีกเลย
- ภัท.รับคำของภิกษุเหล่านั้น แล้วเข้าเฝ้าฯ เพื่อกล่าวขอโทษ
- ภัท. โทษได้ครอบงำ ข้าฯเป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ไม่มีความอุตสาหะ ขณะที่พระองค์กำลังทรงบัญญัติสิกขาบท
- ขอ พ. จงรับโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวม ต่อไปเถิด
- พ.ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
- แต่เพราะเธอเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษของเธอนั้น

             [๑๖๒] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันช่วยกันทำจีวรกรรม สำหรับพระผู้มี พระภาค ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จเที่ยวจาริกไปโดย ล่วงไตรมาส

       ครั้งนั้นท่านพระภัททาลิ เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ โดยปราศรัยกับ ภิกษุเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวว่า ดูกรภัททาลิผู้มีอายุจีวรกรรม(ตัดเย็บจีวร) นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ช่วยกันทำสำหรับ พระผู้มีพระภาค ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาค มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จเที่ยวจาริกไปโดยล่วงไตรมาส

       ดูกรภัททาลิผู้มีอายุ เราขอเตือน ท่านจงมนสิการความผิดนี้ให้ดีเถิด ความกระทำที่ยากกว่า อย่าได้มีแก่ท่าน ในภายหลังเลย

       ท่านพระภัททาลิรับคำของภิกษุเหล่านั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำ ข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกอบความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังทรง บัญญัติ สิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ขอพระผู้มีพระภาค จงรับ โทษของ ข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด

             [๑๖๓] ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาดซึ่งได้ประกาศ ความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะ บัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา

       ดูกรภัททาลิ แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใน พระนคร สาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาค จักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำ ให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนา ของพระศาสดา ดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทง ตลอดแล้ว

       ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า ภิกษุมากด้วยกันเข้าจำพรรษา อยู่ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุเหล่านั้นจักรู้เราว่าภิกษุชื่อภัททาลิ ไม่ทำให้บริสุทธิ์ใน สิกขา ในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว.

        ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า ภิกษุณีมากด้วยกัน เข้าจำพรรษา อยู่ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุณีเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ ไม่ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา ดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว

       ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสกมากด้วยกันอาศัยอยู่ใน พระนครสาวัตถี แม้อุบาสกเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์สิกขา ในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว

       ดูกรภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสิกามากด้วยกันอาศัยอยู่ใน พระนครสาวัตถี แม้อุบาสิกาเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว

       แม้เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า สมณพราหมณ์ต่างลัทธิมากด้วยกัน เข้าอยู่ กาลฝน ในพระนครสาวัตถี แม้สมณพราหมณ์เหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อ ภัททาลิสาวก ของพระสมณโคดม เป็นพระเถระองค์หนึ่ง ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาดซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลัง ทรง บัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็นโทษเพื่อความ สำรวมต่อไปเถิด

             [๑๖๔] ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาดซึ่งได้ประกาศความอุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะบัญญัติ สิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา

        ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น อริยบุคคล ชื่อ อุภโตภาควิมุต เราพึงกล่าวแก่ภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะ ก้าวไปในหล่มดังนี้ ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าว ปฏิเสธบ้างหรือ?
       ไม่มีเลย พระเจ้าข้า

       ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นอริยบุคคล ชื่อ ปัญญาวิมุต
เป็นอริยบุคคลชื่อ กายสักขี
เป็นอริยบุคคล ชื่อ ทิฏฐิปัตตะ
เป็นอริยบุคคลชื่อ สัทธาวิมุต
เป็นอริยบุคคลชื่อ ธรรมานุสารี
เป็นอริยบุคคล ชื่อ สัทธานุสารี

       เราพึงกล่าวกะภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดังนี้ ภิกษุนั้น พึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ?
       ไม่มีเลย พระเจ้าข้า

       ดูกรภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยนั้น เธอเป็นพระอริย บุคคลชื่อว่า อุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต ธรรมานุสารี หรือสัทธานุสารี บ้างหรือหนอ?
       มิได้เป็นเลย พระเจ้าข้า

       ดูกรภัททาลิ ในสมัยนั้น เธอยังเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิดมิใช่หรือ?

       เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ ผู้เป็นคนพาลเป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อ พระผู้มีพระภาคกำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่ง สิกขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด

             [๑๖๕] ดูกรภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังบัญญัติ สิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา แต่เพราะเธอเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษของเธอนั้น ข้อที่บุคคล เห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปนี้ เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ ผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


4)
(ภิกษุเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ในสิกขา)
ภิกษุผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา แต่เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าโคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง เมื่อเธอหลีกออกอยู่ด้วยประการนั้น พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้

             [๑๖๖] ดูกรภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงเสพ เสนาสนะอันสงัด คือ ป่าโคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟางเถิด บางทีเราพึงทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือ ความรู้ความเห็นของพระอริยะ ผู้สามารถ ยิ่งกว่า ธรรมของมนุษย์ได้ดังนี้ เธอเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งลอมฟาง เมื่อเธอหลีกออกอยู่ด้วยประการนั้น พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้ เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้รู้ทั้งหลาย ใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้ เทวดาก็ติเตียนได้ แม้ตนเอง ก็ติเตียนตนได้

       เธออันพระศาสดาติเตียนบ้าง เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายติเตียนบ้าง เทวดา ติเตียนบ้าง ตนเองติเตียนตนบ้างก็ไม่ทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือความรู้ ความเห็นของ พระอริยะ ผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา ผู้ทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


5)

(ภิกษุบริบูรณ์ในสิกขา)
พึงเสพเสนาสนะอันสงัดคือ ป่าโคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ
ทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือความรู้ความเห็นของพระอริยะ
ผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้


             [๑๖๗] ดูกรภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กระทำให้ บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรเรา พึงเสพ เสนาสนะอันสงัดคือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง บางทีเราพึงทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือความรู้ความเห็นของพระอริยะ ผู้สามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ ดังนี้ เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งลอมฟาง เมื่อเธอหลีกออกอยู่ด้วยประการนั้น แม้พระศาสดาก็ไม่ทรงติเตียน แม้เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลาย ใคร่ครวญแล้วก็ไม่ ติเตียน แม้เทวดาก็ไม่ติเตียน แม้ตนเองก็ติเตียนตนไม่ได้

       เธอแม้อันพระศาสดาไม่ทรงติเตียน แม้เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้รู้ทั้งหลายไม่ติเตียน แม้เทวดาไม่ติเตียนแม้ตนเองติเตียนตนไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้ง ชัดซึ่งคุณวิเศษ คือ ความรู้ความเห็นของพระอริยะ ผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์


6)
(อย่างไรพระศาสดาจึงไม่ติเตียนภิกษุ)
- ภิกษูสงัดจากกาม จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวก
- ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่
- ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน 
- ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์ อยู่


       ภิกษุนั้นเธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ศาสดา ไม่ทรงติเตียน แม้เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายไม่ติเตียน แม้เทวดาไม่ติเตียน แม้ตนเองติเตียนตนไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งคุณวิเศษ คือความรู้ความเห็นของ พระอริยะ ผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์

       ภิกษุนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุ ทำให้ บริบูรณ์ ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา

       ดูกรภัททาลิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ สุข เกิดแต่สมาธิอยู่ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้ บริบูรณ์ ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา

       ดูกรภัททาลิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุ ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา

       ดูกรภัททาลิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ ละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์ อยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์