เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

คำกล่าวของอทกดาบส เป็นคำเลว (ผู้เห็นอยู่ย่อมไม่เห็น หมายถึงเห็นมีดโกนแต่ไม่เห็นคม) 1547
  (ย่อ)

คำกล่าวของอทกดาบส เป็นคำเลว
ผู้เห็นอยู่ย่อมไม่เห็น หมายถึงเห็นมีดโกนแต่ไม่เห็นคม
...
(ดาบสเข้าใจและอุปมาเช่นนี้ คือเห็นแค่คมมีด แต่นัยยะของพระพุทธเจ้ามีความหมายกว้างกว่านั้น)

นัยยะของพระพุทธเจ้า คือ


ผู้เห็นอยู่ หมายถึง
ผู้เข้ามาสู่ธรรมวินัย เห็นว่าคำสอนของ พ. ดีกว่าคำสอนของสมณะพราหมณ์เหล่าอื่น (หยั่งลงมั่น)

ผู้เห็นอยู่ย่อมไม่เห็น หมายถึง
ผู้ที่เขามาสู่ธรรมวินัยของตถาคตแล้ว แต่กลับเห็นว่าคำสอนอื่นดีกว่า (ไม่เห็นคุณค่า)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๙๙

คำกล่าวของอทกดาบส เป็นคำเลว
(ผู้เห็นอยู่ย่อมไม่เห็น หมายถึงเห็นมีดโกนแต่ไม่เห็นคม)


             ดูกรจุนทะ ได้ยินว่า อุทกดาบสรามบุตร กล่าววาจาอย่างนี้ว่า บุคคล เห็นอยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็น บุคคลเห็นอยู่ซึ่งอะไร จึงชื่อว่าย่อมไม่เห็น บุคคลเห็นพื้น แห่งมีดโกนอันลับดีแล้ว แต่จะไม่เห็นคมแห่งมีดโกนนั้น ดูกรจุนทะ ข้อนี้อัน อุทกดาบส รามบุตร กล่าวว่าบุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่า ย่อมไม่เห็น

             ดูกรจุนทะ ก็คำนี้นั้นแล อันอุทกดาบสรามบุตรกล่าวแล้ว เป็นคำเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ เพราะหมายเอามีดโกนเท่านั้น

             ดูกรจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบพึงกล่าวคำนั้นใดแลว่า บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็นดังนี้ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบพึงกล่าวคำนั้นนี้เทียวว่าบุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็นดังนี้ บุคคลเห็นอยู่ซึ่งอะไร จึงชื่อว่าย่อมไม่เห็นบุคคลเห็นอยู่ อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์อันสมบูรณ์

             ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง อันศาสดา กล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นพรหมจรรย์อันท่านผู้เป็นศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว ดังนี้

             ด้วยเหตุดังนี้แล ในคำนั้นบุคคลพึงนำคำนี้ว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้น ออกเสีย บุคคลเห็นอยู่ซึ่งพรหมจรรย์นั้นอย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่า พึงมี ดังนี้ ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลพึงนำคำนี้ว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้นเข้าไว้ในคำนั่น บุคคลเห็นอยู่ซึ่งพรหมจรรย์นั้นอย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่าพึงมี ดังนี้

             ด้วยเหตุดังนี้แล บุคคลชื่อว่าย่อมไม่เห็นพรหมจรรย์นั่น นี้แหละเรียกว่า บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่าย่อมไม่เห็นดูกรจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวพรหมจรรย์ อันสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง อันศาสดากล่าวไว้ดีแล้วบริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นพรหมจรรย์อันศาสดา ประกาศดีแล้ว ดังนี้

             บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบพึงกล่าวพรหมจรรย์นั่นนี้ว่า พรหมจรรย์อันสมบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง อันศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิงเป็นพรหมจรรย์ อันศาสดาประกาศดีแล้ว ดังนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธเจ้าจึงอุปมาใหม่...

คนที่เข้ามาสู่ธรรมวินัยของพระศาสดาแล้วเห็นว่า "ไม่มีสมณะ เทพ มาร พรหมใดๆ หรือคำสอนใดๆในโลก ดีกว่าคำสอนของ พระพุทธเจ้าแล้ว" คนนี้แหละควร ได้รับ ชื่อว่า "เป็นผู้เห็นอยู่"

แต่ถ้าใครเข้ามาสู่ธรรมวินัยของพระศาสดา แล้วยังเห็นว่าคำสอนของสมณะพราห์ม เหล่าอื่น ดีกว่าของพระพุทธเจ้า นี่แหละคือ "ผู้เห็นอยู่ย่อมไม่เห็น "

พระศาสดาบอกว่า คำนี้ ควรใช้ในกรณีนี้

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์