(1)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑
(สัตว์เป็นผู้แล่นไป ท่องเที่ยวไป)
ปุพเพนิวาสานุสสติ
[๒๗]....
ครั้นจุติจากภพนั้น แล้วได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอาศัย อยู่ในกาลก่อน ได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขาตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด
ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิดแต่สิ่งที่ เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียร เครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความ ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่อง ตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ
คือ ตามระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้างสามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้างห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้นมีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึก ถึงขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้
ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยงย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง.
(2)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒
(สัตว์เป็นผู้แล่นไป ท่องเที่ยวไป)
สัสสตทิฏฐิ ๔
[๒๘] ...
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึก ถึงขันธ์ที่เคยอาศัย อยู่ในกาลก่อน ได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขากล่าว อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไปย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยง เสมอคงมีอยู่แท้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย มนสิการ โดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย อยู่ใน กาลก่อนได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้างว่า ในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น
แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่อ อย่าง นั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย อาศัย อยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ด้วยการได้บรรลุ คุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขาตั้ง อยู่มั่น ดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณ พราหมณ์ พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตา และ โลกว่าเที่ยง
[๒๙] ๓. อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะ หรือ พราหมณ์ บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียร เป็นเครื่อง เผากิเลส อาศัยความเพียร ที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความ ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้สิบ สังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง
ว่าในกัปโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตร อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง เท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึก ถึงขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้
เขาจึง กล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจ ยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่น ดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัย ความเพียร เป็นเครื่องเผากิเลสอาศัยความเพียร ที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่อง ตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้สิบ สังวัฏฏวิกัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้นมีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้นครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึง ขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้ อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่น ดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
[๓๐] ๔. อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะ หรือ พราหมณ์ บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตน ตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ตั้งอยู่มั่นดุจยอด ภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณ พราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติ อัตตา และ โลก ว่าเที่ยง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกนั้นมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ นี้แล.
(3)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๔
(สัตว์เป็นผู้แล่นไป ท่องเที่ยวไป)
[๘๗] ....
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่อ อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุ เพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคย อาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้ว หรือ เจริญขึ้นแล้ว อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจัก เจริญขึ้น อัตตาและ โลกเที่ยงคงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่น ดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไปย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่ เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้ นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ ๑
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลก นี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่ เมื่อจิตตั้งมั่น แล้ว ย่อมตามระลึกขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือตามระลึก ถึงขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ สังวัฏกัปวิวัฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าสามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้างว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนด อายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคย อาศัยอยู่ ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้วหรือเจริญขึ้นแล้ว
อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจักเจริญขึ้น อัตตา และโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ ๒
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เมื่อจิตตั้งมั่น แล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนหลายประการ คือตามระลึก ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้สิบสังวัฏกัปวิวัฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้างว่า ในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติ จากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคย อาศัยอยู่ในกาล ก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ ฉะนี้ เขา กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้ว หรือเจริญขึ้น แล้ว อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจักเจริญขึ้น อัตตาและ โลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์ นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้ นี้เป็น สัสสตวาทะ ข้อที่ ๓
(4)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๒๘
(สัตว์ เป็นผู้แล่นไป)
เพราะไม่รู้อริยสัจสี่ เราและเธอทั้งหลายจึงท่องเที่ยวไป
วัชชีสูตรที่ ๑ (ว่าด้วยการตรัสรู้และไม่ตรัสรู้อริยสัจ ๔)
[๑๖๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคามในแคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้ ตลอดกาลนานอย่างนี้
อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกขอริยสัจ ๑ทุกขสมุทยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ๑ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้ตลอดกาลนาน อย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลายทุกขอริยสัจ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ทุกขสมุทยอริยสัจ ...ทุกขนิโรธอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย ตรัสรู้แล้วแทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพขาดสูญ แล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๖๙๙] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและเธอทั้งหลายได้ ท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ ตลอดกาลนาน อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เรา และเธอทั้งหลาย เห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพถอนขึ้นได้แล้ว มูล แห่งทุกข์ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ ไม่มี
(5)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๓๕
(สัตว์ทั้งหลายผู้มีนิวรณ์ เป็นผู้แล่นไป)
ทัณฑสูตร
ผู้ท่องเที่ยวไปในโลกเพราะไม่เห็นอริยสัจ
[๑๗๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคล ขว้างขึ้นไปบน อากาศแล้วบางคราวเอาโคนตกลงมาก็มี บางคราวเอาตอนกลางตกลงมาก็มี บางคราว เอาปลายตกลงมาก็มีฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์ คืออวิชชา มีตัณหา เป็นเครื่องประกอบ ได้แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่ บางคราวจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกก็มี บางคราวจากปรโลกมาสู่โลกนี้ก็มี ฉันนั้นเหมือนกัน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
(6)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๓
(จิตแล่นไป จิตไม่แล่นไป)
[๓๐๑] นิสสารณียธาตุ ๕ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการถึง กามทั้งหลาย อยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกาม ทั้งหลาย แต่ว่า เมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะ เนกขัมมะจิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้วออกดีแล้ว พ้นวิเศษ ดีแล้ว พรากแล้วจาก กามทั้งหลาย และเธอพ้นแล้ว จากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีกาม เป็น ปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งกามทั้งหลาย
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความพยาบาท อยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะความพยาบาท แต่ว่า เมื่อเธอ มนสิการ ถึงความไม่พยาบาทอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะความ ไม่พยาบาทจิตของเธอนั้น ไปดีแล้วอบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษ ดีแล้ว พรากแล้วจากความพยาบาท และเธอพ้นแล้วจากอาสวะ อันเป็นเหตุ เดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีความพยาบาทเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนา นั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งความพยาบาท
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความเบียดเบียน อยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะความเบียดเบียน แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการ ถึงความไม่เบียดเบียนอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่เบียดเบียน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความเบียดเบียน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะ อันเป็นเหตุ เดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีความเบียดเบียนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเธอย่อมไม่เสวย เวทนา นั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความเบียดเบียน
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลายอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะรูปทั้งหลาย แต่ว่า เมื่อเธอมนสิการถึงอรูปอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะ อรูป จิตของเธอนั้น ไปดีแล้วอบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้วพรากแล้วจากรูป ทั้งหลาย และเธอพ้นแล้วจากอาสวะ อันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีรูปเป็น ปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้นข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งรูป ทั้งหลาย
๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงกายของตนอยู่ จิตย่อมไม่ แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งใจอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกายของตน แต่ว่า เมื่อเธอ มนสิการ ถึงความดับแห่งกายของตนอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะความดับแห่งกายของตน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกายของตน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะ อันเป็นเหตุ เดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีกายของตนเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวย เวทนา นั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกายของตน
(7)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๗
(วิญญาณแล่นไป)
๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติ ที่ไม่มีนิมิต แล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไป ตามนิมิตนี้ ก็ยังมีอยู่แก่เราดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าว อย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้พูด อย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มี พระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคล อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ยาน แล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติ ที่หานิมิตมิได้แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิต ก็ยังจักมีแก่เขา ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชาติคือเจโตวิมุติ ที่ไม่มีนิมิตนี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งนิมิต ทุกอย่าง
(8)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๗
(จิตเป็นผู้แล่นไป เป็นผู้ไม่แล่นไป)
[๔๑๗] ธรรม ๕ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือธาตุเป็นที่ตั้งแห่ง ความถ่ายถอน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจซึ่ง กามทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจ ซึ่งเนกขัมมะ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่น้อมไปใน เนกขัมมะ จิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้วพ้นดีแล้ว พรากแล้ว จากกามทั้งหลาย อาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย มีความทุกข์และความ เร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนกามทั้งหลาย
อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งความพยาบาท จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในความพยาบาท แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งความ ไม่พยาบาท จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ น้อมไปในความไม่พยาบาท จิตของเธอ ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พรากแล้วจากความพยาบาท อาสวะ เหล่าใดบังเกิดขึ้น เพราะความพยาบาทเป็นปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนความพยาบา
อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งความเบียดเบียน จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในความเบียดเบียน แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งความ ไม่เบียดเบียน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความไม่เบียดเบียน จิตของเธอ ดำเนินไปดีแล้วอบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้วพรากแล้วจาก ความเบียดเบียน อาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้น เพราะความเบียดเบียนเป็นปัจจัย มีความทุกข์ และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนความเบียดเบียน
อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งรูปทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งอรูป จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป จิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้วพรากแล้วจากรูปทั้งหลาย อาสวะเหล่าใด บังเกิดขึ้น เพราะรูปเป็นปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะ เหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นที่ถ่ายถอนรูปทั้งหลาย
อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งกายของตน จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกายของตน แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งความดับ กาย ของตน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความดับกายของตน จิตของเธอ ดำเนินไป ดีแล้ว อบรมดีแล้วออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้วพรากแล้วจากกาย ของตน อาสวะเหล่าใด บังเกิดขึ้นเพราะกายของตนเป็นปัจจัย มีความทุกข์และ ความ เร่าร้อน เธอพ้นแล้วจาก อาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอน กาย ของตน ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้รู้ได้ยาก
(9)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๖
(จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมแล่นไป)
ปฐวีธาตุ
[๓๔๒].....
ภิกษุนั้น ย่อมเห็นว่าผัสสะเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า เวทนาเป็นของ ไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า สัญญาเป็นของไม่เที่ยงย่อมเห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นของ ไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์นั่นเทียว ของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเสื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี ย่อมหลุดพ้น.
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ คือด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหารด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหาร ด้วยศาตราบ้าง
(10)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๗
(จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมแล่นไป)
วาโยธาตุ
[๓๔๕].....
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ก็แต่ว่า ทุกขเวทนานั้นแล อาศัยเหตุพึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมีไม่ได้ ทุกขเวทนา นี้ อาศัยอะไร จึงมีได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยผัสสะ จึงมีได้.
ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่าผัสสะเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า เวทนาเป็นของ ไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า สัญญาเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า สังขารทั้งหลาย เป็นของ ไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์นั่นเทียว ของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี ย่อมหลุดพ้น.
(11)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๐
(เรื่องสาติ เข้าใจผิดว่า วิญญาณย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ)
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
[๔๔๒] .....
ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่าเรา ย่อมรู้ทั่วถึง ธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่ อื่น ดังนี้ จริงหรือ?
สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง (สาติเข้าใจว่าวิญญาณเวียนว่ายตายเกิด ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฎ)
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?
สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ (สาติคิดว่าวิญญาณเป็นผู้เสวยกรรม)
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า
ดูกรโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยาย เป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี
ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วยขุดตนเสียด้วย จะประสพ บาป มิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูกรโมฆบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
(12)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๕
(จิตแล่นไป จิตไม่แล่นไป)
มัคคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๖] .....
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลง ดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมาด้วย หวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำ แห่งแม่น้ำ คงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้เขาจะไม่อาจว่าย ตัดขวางกระแสน้ำ แห่ง แม่น้ำ คงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใด ผู้หนึ่ง เพื่อดับ ความเห็นว่า กายของตน จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลง ดื่มได้ ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่ง แม่น้ำ คงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้ เขาอาจจะว่ายตัดขวาง กระแสแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่ง โดยสวัสดีได้ ฉันใด
ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เพื่อดับความเห็นว่า กาย ของตน จิตของตน จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.
บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
(13)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๑๔
(วิญญาณแล่นไป)
[๗๕๒] .....
เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดาเรา นั่งอยู่ที่ ร่มไม้หว้า มีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความ ตรัสรู้.
เราได้มีวิญญาณอันแล่นไป ตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้
เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม นั้นหรือ? จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม.
(14)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๐
(จิตย่อมแล่นไป)
๑. จูฬสุญญตสูตร (๑๒๑)
[๓๓๔] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มาก ด้วย สุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจาก ช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทอง และเงิน ว่างจากการชุมนุม ของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ ก็คือ สิ่งเดียว เฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด
ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจ สัญญา ว่า มนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และ นึกน้อมอยู่ ในสัญญาว่าป่า
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่ อาศัย สัญญา ว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่ เพียงความกระวน กระวาย คือภาวะเดียว เฉพาะสัญญา ว่าป่า เท่านั้น
...... ฯลฯ .........
[๓๓๕] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ไม่ใส่ใจ สัญญา ว่าป่า ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิตของเธอ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เปรียบเหมือน หนังโค ที่เขาขึงดีแล้ว ด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจากรอยย่น ฉันใด
ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจแผ่นดินนี้ ซึ่งจะมีชั้นเชิง มีแม่น้ำ ลำธาร มีที่เต็มด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ทั้งหมด ใส่ใจ แต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่า แผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ใน สัญญาว่าแผ่นดิน
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวาย
ชนิดที่ อาศัย สัญญาว่ามนุษย์ และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่า มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวน กระวาย คือภาวะเดียว เฉพาะ สัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น
...... ฯลฯ .........
[๓๓๖] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า ไม่ใส่ใจ สัญญาว่า แผ่นดิน ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา จิตของเธอ ย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ใน อากาสา นัญจายตนสัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากาสานัญจายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวนกระวาย ชนิดที่ อาศัย สัญญา ว่าป่า และ ชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดินมีอยู่ ก็แต่เพียงความ กระวน กระวาย คือภาวะเดียว เฉพาะ อากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน และรู้ ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือ สิ่งเดียวเฉพาะ อากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ
...... ฯลฯ .........
[๓๓๗] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน ไม่ใส่ใจ อากาสานัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ ในวิญญาณัญจายตนสัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในวิญญาณัญจายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวน กระวาย ชนิดที่ อาศัย สัญญาว่าแผ่นดิน และชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญา มีอยู่ก็แต่ เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน สัญญานี้ ว่างจากอากาสานัญ จายตน สัญญาและรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว เฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญา
เท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ
...... ฯลฯ .........
[๓๓๘] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตน สัญญา ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตน สัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตน สัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากิญจัญญายตน สัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากิญจัญญายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวน กระวาย ชนิดที่ อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญา และชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญา มีอยู่ก็แต่ เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะ
อากิญจัญญายตนสัญญา เท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากาสา นัญจายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากวิญญา ณัญจายตนสัญญา และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว เฉพาะอากิญ จัญญายตน สัญญาเท่านั้น
...... ฯลฯ .........
[๓๓๙] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตน สัญญา ไม่ใส่ใจ อากิญจัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะเนวสัญญานา สัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ ในเนวสัญญานา สัญญายตนสัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา นี้ ไม่มีความกระวน กระวาย ชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญา และชนิดที่อาศัย อากิญจัญญายตน สัญญา มีอยู่ก็แต่เพียงความ กระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะ เนวสัญญานา สัญญายตน สัญญาเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่าสัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตน สัญญา สัญญานี้ว่างจาก อากิญ จัญญา ยตน สัญญา และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือสิ่งเดียว เฉพาะ เนวสัญญานา สัญญายตน สัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ
...... ฯลฯ .........
[๓๔๐] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตน สัญญา ไม่ใส่ใจ เนวสัญญานาสัญญายตน สัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ ในเจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความ กระวนกระวายชนิดที่อาศัย อากิญจัญญายตนสัญญา และชนิดที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา มีอยู่แต่ เพียง ความกระวนกระวาย คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิตเป็นปัจจัย
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจาก อากิญจัญญายตน สัญญาสัญญานี้ว่างจาก เนวสัญญา นาสัญญายตนสัญญา และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่ง อายตนะ ๖ อาศัยกาย นี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย
...... ฯลฯ .........
[๓๔๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญาตน สัญญา ไม่ใส่ใจ เนวสัญญานาสัญญายตน สัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิ อันไม่มี นิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ ในเจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้แล ยังมีปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้ ก็สิ่งใด สิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จาก อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี
(15)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๗
(จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมแล่นไป)
๑๐. นิสสารณียสูตร (ธาตุพึงพราก ๕ ประการ)
[๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ
(1. ความเพลินในกาม)
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลาย จิตของเธอย่อม ไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่ เมื่อเธอมนสิการ ถึงเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ จิตของเธอนั้นชื่อว่า เป็นจิตดำเนินไปแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว จากกามทั้งหลาย อาสวะทุกข์ และ ความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะกามเป็นปัจจัย
เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนา ที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งกามทั้งหลาย
(2.ความเพลินในพยาบาท)
อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความ ไม่พยาบาท จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความ ไม่พยาบาท จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาทอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะ พยาบาทเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนา ที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่ง พยาบาท
(3.ความเพลินในวิหิงสา/เบียดเบียน)
อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการถึง อวิหิงสา จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอวิหิงสา จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะ วิหิงสาเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนา ที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งวิหิงสา
(4.ความเพลินในรูป)
อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการ ถึงรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่น ไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึง อรูป จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอรูป จิตของเธอ นั้น ชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออก ดีแล้ว จากรูปทั้งหลายอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิด เพราะ รูปเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อน เหล่านั้น เธอย่อมไม่ เสวยเวทนา ที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออก แห่งรูป ทั้งหลาย
(5.ความเพลินในสักกายะ)
อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึง สักกายะ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการถึง ความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอนั้นชื่อว่า เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ อาสวะทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจาก อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งสักกายะ
ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินใน วิหิงสา ก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิดขึ้น แก่เธอ เพราะความเพลิน ในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสา ก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ไม่บังเกิดขึ้น
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะ ได้โดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้แล |