เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง ด้วยสามารถ ปุถุชน เสขบุคคล อรหันต์ ศาสดา 1523
  (ย่อ)

มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง

ดูกรภิกษุ ท.เราจักแสดงปริยาย อันเป็นมูลของธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ
พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

กำหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยสามารถปุถุชน (เพราะเหตุว่าเขาไม่ได้กำหนดรู้)

กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถ เสขบุคคล (เพราะเหตุว่า เขาควรกำหนดรู้)

กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระอรหันต์ขีณาสพ (เหตุเพราะ เธอกำหนดรู้แล้ว)

กำหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยสามารถพระขีณาสพ (เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป)

กำหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยสามารถพระขีณาสพ (เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป)

กำหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยสามารถพระขีณาสพ (เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป)

กำหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยสามารถพระศาสดา (เหตุเพราะพระนิพพานนั้น พระตถาคตทรงกำหนดรู้แล้ว)

กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา (เหตุเพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่ง ทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล)

ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่าพระตถาคต ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหาสละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑

๑. มูลปริยายสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง

          [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้พญารัง ในสุภควัน เขตเมือง อุกกัฏฐาณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระพุทธพจน์นี้ว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยาย อันเป็นมูลของธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

กำหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยสามารถปุถุชน
(เพราะเหตุว่าเขาไม่ได้กำหนดรู้)

          [๒] พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน ในโลกนี้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำ ในธรรม ของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับ แนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็น ธาตุดิน
ครั้นรู้ ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมสำคัญ ธาตุดิน
ย่อมสำคัญ ในธาตุดิน
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมสำคัญ ธาตุดินว่าของเรา
ย่อมยินดี ธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้ กำหนดรู้.

ย่อมรู้ธาตุน้ำโดยความเป็น ธาตุน้ำ
ครั้นรู้ ธาตุน้ำ โดยความเป็นธาตุน้ำแล้ว
ย่อมสำคัญ ธาตุน้ำ
ย่อมสำคัญ ในธาตุน้ำ
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นธาตุน้ำ
ย่อมสำคัญ ธาตุน้ำว่าของเรา
ย่อมยินดี ธาตุน้ำ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้ธาตุไฟโดยความเป็น ธาตุไฟ
ครั้นรู้ ธาตุไฟ โดยความเป็นธาตุไฟแล้ว
ย่อมสำคัญ ธาตุไฟ
ย่อมสำคัญ ในธาตุไฟ
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นธาตุไฟ
ย่อมสำคัญ ธาตุไฟว่า ของเรา
ย่อมยินดี ธาตุไฟ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้ธาตุลมโดยความเป็น ธาตุลม
ครั้นรู้ ธาตุลม โดยความเป็นธาตุลมแล้ว
ย่อมสำคัญ ธาตุลม
ย่อมสำคัญ ในธาตุลม
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นธาตุลม
ย่อมสำคัญ ธาตุลมว่าของเรา
ย่อมยินดี ธาตุลม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้สัตว์โดยความ เป็นสัตว์
ครั้นรู้ สัตว์ โดยความเป็นสัตว์แล้ว
ย่อมสำคัญ สัตว์
ย่อมสำคัญ ในสัตว์
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นสัตว์
ย่อมสำคัญ สัตว์ว่าของเรา
ย่อมยินดี สัตว์
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้เทวดาโดยความเป็น เทวดา
ครั้นรู้ เทวดา โดยความเป็นเทวดาแล้ว
ย่อมสำคัญ เทวดา
ย่อมสำคัญ ในเทวดา
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นเทวดา
ย่อมสำคัญ เทวดาว่าของเรา
ย่อมยินดี เทวดา
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้มารโดยความเป็น มาร
ครั้นรู้ มาร โดยความเป็นมารแล้ว
ย่อมสำคัญ มาร
ย่อมสำคัญ ในมาร
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นมาร
ย่อมสำคัญ มารว่าของเรา
ย่อมยินดี มาร
ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้พรหมโดยความเป็น พรหม
ครั้นรู้ พรหม โดยความเป็นพรหมแล้ว
ย่อมสำคัญ พรหม
ย่อมสำคัญ ในพรหม
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นพรหม
ย่อมสำคัญ พรหมว่าของเรา
ย่อมยินดี พรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้อาภัสสรพรหม โดยความเป็น อาภัสสรพรหม
ครั้นรู้ อาภัสสรพรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหมแล้ว
ย่อมสำคัญ อาภัสสรพรหม
ย่อมสำคัญ ในอาภัสสรพรหม
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นอาภัสสรพรหม
ย่อมสำคัญ อาภัสสรพรหมว่าของเรา
ย่อมยินดี อาภัสสรพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้สุภกิณหพรหม โดยความเป็น สุภกิณหพรหม
ครั้นรู้ สุภกิณหพรหม โดยความเป็นสุภกิณหพรหมแล้ว
ย่อมสำคัญ สุภกิณหพรหม
ย่อมสำคัญ ในสุภกิณหพรหม
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นสุภกิณหพรหม
ย่อมสำคัญ สุภกิณหพรหมว่าของเรา
ย่อมยินดี สุภกิณห พรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้เวหัปผลพรหม โดยความเป็น เวหัปผลพรหม
ครั้นรู้ เวหัปผลพรหม โดยความเป็นเวหัปผลพรหมแล้ว
ย่อมสำคัญ เวหัปผลพรหม
ย่อมสำคัญ ในเวหัปผลพรหม
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นเวหัปผลพรหม
ย่อมสำคัญ เวหัปผลพรหม ว่าของเรา
ย่อมยินดี เวหัปผลพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็น อสัญญีสัตว์
ครั้นรู้ อสัญญีสัตว์ โดยความเป็น อสัญญีสัตว์ แล้ว
ย่อมสำคัญ อสัญญีสัตว์
ย่อมสำคัญ ในอสัญญีสัตว์
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นอสัญญี สัตว์
ย่อมสำคัญ อสัญญีสัตว์ว่าของเรา
ย่อมยินดี อสัญญีสัตว์
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้อากาสานัญจายตนพรหมโดยความเป็น อากาสานัญจายตนพรหม
ครั้นรู้ อากาสานัญจายตนพรหม โดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหมแล้ว
ย่อมสำคัญ อากาสานัญจายตนพรหม
ย่อมสำคัญ ในอากาสานัญจายตนพรหม
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นอากาสานัญจายตนพรหม
ย่อมสำคัญ อากาสานัญจายตนพรหมว่า ของเรา
ย่อมยินดี อากาสานัญจายตนพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้วิญญาณัญจายตนพรหม โดยความเป็น วิญญาณัญจายตนพรหม
ครั้นรู้ วิญญาณัญจายตนพรหม โดยความเป็น วิญญาณัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญ วิญญาณัญจายตนพรหม
ย่อมสำคัญ ในวิญญาณัญจายตนพรหม
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นวิญญาณัญจายตนพรหม
ย่อมสำคัญ วิญญาณัญจายตนพรหมว่า ของเรา
ย่อมยินดี วิญญาณัญจายตนพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้อากิญจัญญายตนพรหม โดยความเป็น อากิญจัญญายตนพรหม
ครั้นรู้ อากิญจัญญายตนพรหม โดยความเป็น อากิญจัญญายตนพรหมแล้ว
ย่อมสำคัญ อากิญจัญญายตนพรหม
ย่อมสำคัญ ในอากิญจัญญายตนพรหม
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นอากิญจัญญายตนพรหม
ย่อมสำคัญ อากิญจัญญายตนพรหมว่าของเรา
ย่อมยินดี อากิญจัญญายตนพรหม
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม โดยความเป็น เนวสัญญานาสัญญา ยตนพรหม
ครั้นรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม โดยความเป็นเนวสัญญานา สัญญายตนพรหมแล้ว
ย่อมสำคัญ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม
ย่อมสำคัญ ในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม
ย่อมสำคัญ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมว่าของเรา
ย่อมยินดี เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม
ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้รูปที่ตนเห็นโดยความเป็น รูปที่เห็น
ครั้นรู้ รูป ที่ตนเห็นโดยความเป็นรูปที่ตนเห็นแล้ว
ย่อมสำคัญ รูปที่ตนเห็น ย่อมสำคัญในรูปที่ตนเห็น
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นรูปที่ตนเห็น
ย่อมสำคัญ รูปที่ตนเห็นว่าของเรา
ย่อมยินดี รูปที่ตนเห็น
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็น เสียงที่ตนฟัง
ครั้นรู้ เสียง ที่ตนฟังโดยความเป็นเสียงที่ตนฟังแล้ว
ย่อมสำคัญ เสียงที่ตนฟัง
ย่อมสำคัญ ในเสียงที่ตนฟัง
ย่อมสำคัญ โดยความ เป็นเสียงที่ตนฟัง
ย่อมสำคัญ เสียงที่ตนฟังว่าของเรา
ย่อมยินดี เสียงที่ตนฟัง
ข้อนั้น เพราะเหตุอะไรเรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้อารมณ์ที่ตนทราบ โดยความเป็น อารมณ์ที่ตนทราบ
ครั้นรู้อารมณ์ที่ตนทราบโดย ความเป็น อารมณ์ที่ตนทราบแล้ว
ย่อมสำคัญอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสำคัญในอารมณ์ ที่ตนทราบ
ย่อมสำคัญโดยความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ
ย่อมสำคัญอารมณ์ที่ตนทราบว่าของเรา
ย่อมยินดีอารมณ์ที่ตนทราบ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้ กำหนดรู้.

ย่อมรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง โดยความเป็น ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง
ครั้นรู้ ธรรมารมณ์ ที่ตนรู้แจ้ง โดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งแล้ว
ย่อมสำคัญ ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสำคัญในธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง
ย่อมสำคัญ ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งว่า ของเรา
ย่อมยินดี ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน โดยความเป็นอันเดียวกัน
ครั้นรู้ สักกายะเป็นอันเดียวกัน โดยความเป็นอันเดียวกันแล้ว
ย่อมสำคัญ ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน
ย่อมสำคัญ ในความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน
ย่อมสำคัญ โดยความที่สักกายะ เป็น อันเดียวกัน
ย่อมสำคัญ ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกันว่าของเรา
ย่อมยินดี ความที่สักกายะ เป็นอันเดียวกัน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้ความที่สักกายะต่างกัน โดยความเป็นของต่างกัน
ครั้นรู้ ความที่สักกายะ ต่างกัน โดยความเป็นของต่างกันแล้ว
ย่อมสำคัญ ความที่สักกายะต่างกัน
ย่อมสำคัญ ในความที่ สักกายะ ต่างกัน
ย่อมสำคัญ โดยความที่สักกายะต่างกัน
ย่อมสำคัญ ความที่สักกายะ ต่างกันว่าของเรา
ย่อมยินดี ความที่สักกายะต่างกัน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้สักกายะทั้งปวง โดยความเป็น สักกายะทั้งปวง
ครั้นรู้ สักกายะทั้งปวง โดยความเป็นสักกายะทั้งปวงแล้ว
ย่อมสำคัญ สักกายะทั้งปวง
ย่อมสำคัญ ในสักกายะทั้งปวง
ย่อมสำคัญ โดยความเป็นสักกายะทั้งปวง
ย่อมสำคัญ สักกายะทั้งปวงว่าของเรา
ย่อมยินดี สักกายะทั้งปวง
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็น พระนิพพาน
ครั้นรู้ พระนิพพาน โดยความเป็นพระ นิพพานแล้ว
ย่อมสำคัญ พระนิพพาน ย่อมสำคัญในพระนิพพาน
ย่อมสำคัญ โดยความ เป็นพระนิพพาน
ย่อมสำคัญ พระนิพพานว่า ของเรา
ย่อมยินดี พระนิพพาน
ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถ เสขบุคคล
(เพราะเหตุว่า เขาควรกำหนดรู้)

          [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใดเป็นเสขบุคคล ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล เมื่อปรารถนาธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่ แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดิน
ครั้นรู้ ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว
อย่าสำคัญ ธาตุดิน
อย่าสำคัญ ในธาตุดิน
อย่าสำคัญ โดยความเป็นธาตุดิน
อย่าสำคัญ ธาตุดินว่า ของเรา
อย่ายินดี ธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้.

ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ...สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสา นัญจายตน พรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... เนวสัญญานา สัญญายตนพรหม รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณ ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะ เป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นรู้ พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
อย่าสำคัญ พระนิพพาน
อย่าสำคัญ ในพระนิพพาน
อย่าสำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน
อย่าสำคัญ พระนิพพานว่าของเรา
อย่ายินดี พระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร เรากล่าวว่าเพราะเขาควรกำหนดรู้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระอรหันต์ขีณาสพ
(เหตุเพราะ เธอกำหนดรู้แล้ว)

          [๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลส เครื่องประกอบสัตว์ ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน
ครั้นรู้ ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญ ธาตุดิน
ไม่สำคัญ ในธาตุดิน
ไม่สำคัญ โดยความเป็นธาตุดิน
ไม่สำคัญ ธาตุดินว่าของเรา
ไม่ยินดี ธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะ เหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเธอกำหนดรู้แล้ว.

ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจา ยตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานา สัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ...อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณ ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะ ทั้งปวง ...

ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นรู้ พระนิพพาน โดยความเป็น พระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญ พระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ ในพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ พระนิพพานว่าของเรา
ย่อมไม่ยินดี พระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะเธอกำหนดรู้แล้ว.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กำหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
(เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป)

          [๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ ไว้ในภพแล้วพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน
ครั้นรู้ ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญ ธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญ ในธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญ โดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญ ธาตุดินว่าของเรา
ย่อมไม่ยินดี ธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป.

ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ...สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจาย ตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานา สัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณ ที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะ ทั้งปวง ...

ย่อมรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นรู้ พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญ พระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ ในพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ พระนิพพานว่าของเรา
ย่อมไม่ยินดี พระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กำหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
(เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป)

          [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่อง ประกอบสัตว์ ไว้ในภพแล้ว พ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว
แม้ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน
ครั้นรู้ ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญ ธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญ ในธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญ โดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญ ธาตุดินว่าของเรา
ย่อมไม่ยินดี ธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป.

ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสร
พรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตน พรหม ...วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานา สัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ย่อมรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นรู้ พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญ พระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ ในพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ พระนิพพานว่าของเรา
ย่อมไม่ยินดี พระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กำหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยสามารถพระขีณาสพ
(เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป)

          [๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุนั้นใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้ว สิ้นกิเลส เครื่องประกอบสัตว์ ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น
ย่อมรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดิน

ครั้นรู้ ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญ ธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญ ในธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญ โดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญ ธาตุดินว่าของเรา
ย่อมไม่ยินดี ธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป.

ย่อมรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ... อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจา ยตนพรหม ...วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานา สัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ย่อมรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นรู้ พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญ พระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ ในพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญ พระนิพพานว่า ของเรา
ย่อมไม่ยินดี พระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กำหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยสามารถพระศาสดา
(เหตุเพราะพระนิพพานนั้น พระตถาคตทรงกำหนดรู้แล้ว)

          [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตภาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินจริง
ครั้นทรง รู้ยิ่งธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญ ธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญ ในธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญ โดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญ ธาตุดินว่าของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดี ธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะธาตุดินนั้นพระตถาคตกำหนดรู้แล้ว.

ย่อมทรงรู้ธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ...อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ... วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญาตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ทรงรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นทรง รู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่ทรงสำคัญ พระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญ ในพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญ โดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรงสำคัญ พระนิพพานว่าของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดี พระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่าเพราะพระนิพพานนั้น พระตถาคตทรงกำหนดรู้แล้ว.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา
(เหตุเพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล)

          [๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงรู้ ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดินจริง
ครั้นทรงรู้ ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง
แล้วย่อมไม่ทรงสำคัญ ธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญ ในธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญ โดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมไม่ทรงสำคัญ ธาตุดินว่าของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดี ธาตุดิน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูล แห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ เพราะสิ้น ตัณหา สำรอกตัณหาดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหา เสียได้ โดยประการทั้งปวง

ย่อมทรงรู้ยิ่งธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ...อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสา นัญจายตนพรหม ...วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตนเห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตน ทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียวกัน ... ความที่สักกายะ ต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...

ทรงรู้ยิ่งพระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน
ครั้นทรงรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพานแล้ว
ย่อมไม่ทรง สำคัญพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรง สำคัญในพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรง สำคัญโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมไม่ทรง สำคัญ พระนิพพานว่าของเรา
ย่อมไม่ทรง ยินดีพระนิพพาน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูล แห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล

           ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่าพระตถาคต ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหาสละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.

          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมิได้ชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

จบ มูลปริยายสูตร ที่ ๑

 

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์