เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

มหาปุณณมสูตร อุปาทานขันธ์ ๕ มีฉันทะเป็นมูล ความกำหนัดพอใจ คือ ตัวอุปาทาน 1513
  (ย่อ)
มหาปุณณมสูตร

อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้ คือ
รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์

ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล
มีฉันทะเป็นมูล

อุปาทาน กับ อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น อย่างเดียวกันหรือ
อุปาทาน กับ อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น จะอย่างเดียวกันก็มิใช่
อุปาทานจะอื่น จากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็มิใช่

ความกำหนัดพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล เป็นตัวอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น

อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ
รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
----------------------------------------------------------------------------------------------------
(หัวข้ออื่น)
- สักกายทิฐิมีได้อย่างไร
- สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร
- อะไรหนอเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
- รู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงไม่มีอนุสัย คือความถือตัว ว่าเป็นเรา ว่าของเรา
- จะเห็นได้อย่างไรว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
- ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ฟังธรรม(มหาปุณณมสูตร) แล้วได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๗

๙. มหาปุณณมสูตร (๑๐๙)

            [๑๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา วิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค มีภิกษุสงฆ์ ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนี้เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ

     ขณะนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ไปทางที่ประทับของพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะขอทูลถามปัญหาสักเล็กน้อยกะพระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาค จะประทานโอกาสเพื่อพยากรณ์ปัญห าแก่ข้าพระองค์

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงนั่งลงยังอาสนะ ของตน ประสงค์จะถามปัญหาข้อใด ก็ถามเถิด

            [๑๒๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปนั้นนั่งยังอาสนะของตนแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์มี ๕ ประการเท่านี้ หรือหนอแล

     พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์

     ภิกษุนั้นกล่าว ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า แล้วทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไปว่า
--------------------------------------------------------------------

อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล

     พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีฉันทะเป็นมูล

     ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นอย่างเดียวกันหรือ หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕

     พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น จะอย่างเดียวกันก็มิใช่ อุปาทาน จะอื่น จากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็มิใช่

     ดูกรภิกษุ ความกำหนัดพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล เป็นตัวอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น
--------------------------------------------------------------------

ความต่างแห่งความกำหนัดพอใจ ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕

            [๑๒๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความต่างแห่งความกำหนัด พอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ พึงมีหรือ

     พระผู้มีพระภาคทรงรับว่า มี แล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิด

      ดูกรภิกษุ อย่างนี้แลเป็นความต่างแห่งความกำหนัดพอใจ ในอุปาทานขันธ์ทั้ง๕
--------------------------------------------------------------------

ชื่อเรียกขันธ์ทั้งหลาย

            [๑๒๓] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ได้ด้วยเหตุเท่าไร

     พ. ดูกรภิกษุ

     รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบ หรือละเอียดก็ตาม เลว หรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นรูปขันธ์

     เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นเวทนาขันธ์

     สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นสัญญาขันธ์

     สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นสังขารขันธ์

     วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นวิญญาณขันธ์

     ดูกรภิกษุ ขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
--------------------------------------------------------------------

การบัญญัติขันธ์ทั้ง๕

            [๑๒๔] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ รูปขันธ์

อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์
อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สัญญาขันธ์
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สังขารขันธ์
อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ วิญญาณขันธ์

     พ. ดูกรภิกษุ
มหาภูตรูป ๔
เป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ รูปขันธ์
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ เวทนาขันธ์
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สัญญาขันธ์
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สังขารขันธ์
นามรูป เป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ วิญญาณขันธ์
--------------------------------------------------------------------

สักกายทิฐิมีได้อย่างไร

            [๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิ จะมีได้อย่างไร
     พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาด ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อม เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง

ย่อมเล็งเห็นเวทนา โดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง
เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง

ย่อมเล็งเห็นสัญญา โดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง

ย่อมเล็งเห็นสังขาร โดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง
เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง

ย่อมเล็งเห็นวิญญาณ โดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง

     ดูกรภิกษุ อย่างนี้แลสักกายทิฐิจึงมีได้
--------------------------------------------------------------------

สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร

            [๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร

     พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็น

     ผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมไม่เล็งเห็นรูป โดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนา โดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง
ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญา โดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นสังขาร โดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง
ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง

ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณ โดยความเป็นอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง

     ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงไม่มี
--------------------------------------------------------------------

อะไรหนอเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้นนี้เป็นคุณ รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ นี้เป็นโทษ การกำจัดฉันทราคะในรูป นี้เป้นเคริ่องสลัดออกในรูป)

            [๑๒๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นคุณเป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในรูป อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในเวทนา อะไร เป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในสัญญา อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็น ทางสลัดออกในสังขาร อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ

     พ. ดูกรภิกษุ อาการที่สุขโสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในรูป อาการที่รูป
ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษในรูป อาการที่กำจัด ฉันทราคะ ละฉันทราคะ ในรูปได้ นี้เป็นทางสลัดออกในรูป

     อาการที่สุขโสมนัส อาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในเวทนา อาการที่เวทนา ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในเวทนา อาการที่กำจัด ฉันทราคะ ละฉันทราคะในเวทนาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในเวทนา

     อาการที่สุขโสมนัส อาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสัญญา อาการที่สัญญา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสัญญา อาการ ที่กำจัด ฉันทราคะในสัญญาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสัญญา

     อาการที่สุขโสมนัส อาศัยสังขาร เกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสังขาร อาการที่สังขาร ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสังขารอาการที่กำจัด ฉันทราคะ ละฉันทราคะในสังขารได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสังขาร

     อาการที่สุขโสมนัส อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในวิญญาณ อาการที่ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในวิญญาณ อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในวิญญาณได้ นี้เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ
--------------------------------------------------------------------

รู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงไม่มีอนุสัย คือความถือตัว ว่าเป็นเรา ว่าของเรา
(รูป ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นไปในภายใน-ภายนอก หยาบ-ละเอียด เลว-ประณีต อยู่ที่ไกล-ที่ใกล้ ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา)

            [๑๒๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึง ไม่มีอนุสัย คือความถือตัว ว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมด ในภายนอก

     พ. ดูกรภิกษุ บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

     รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน(๑) เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม(๒) หยาบหรือละเอียดก็ตาม(๓) เลวหรือ ประณีตก็ตาม(๔) อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม(๕) ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

     เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

     สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตามอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

     สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคตทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไป ในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

     วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตามเลวหรือประณีต ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา

     ดูกรภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็น อย่างนี้แล จึงไม่มีอนุสัย คือความถือตัว ว่าเป็นเรา ว่า ของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก
--------------------------------------------------------------------

จะเห็นได้อย่างไรว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา
(รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ควรเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา ของเรา ผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น )

            [๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่าง นี้ว่า จำเริญละเท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ความปริวิตกแห่งใจ ของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคน ในธรรมวินัยนี้ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจมีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตก ว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล พวกเธอจะสำคัญ ความ ข้อนั้นเป็นไฉน

รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะเล็ง เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะเล็ง เห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะเล็ง เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะเล็ง เห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะเล็ง เห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

     พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความ เป็นจริงดังนี้ว่า

     รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคตทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไป ในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียด ก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

     เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไป ในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

     สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไป ในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

     สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

     วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไป ในภายในหรือมีในภายนอกก็ตามหยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา

          ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวก ผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชมยินดีพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาค กำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล

จบ มหาปุณณมสูตร ที่ ๙

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์