เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

๓. อุปนิสสูตร การสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยญานในธรรม 1510
 


ดูกรภิกษุทั้งหลาย

  วิมุตติ เป็นเหตุ ที่อิงอาศัยแห่ง ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป 
  วิราคะ เป็นเหตุ ที่อิงอาศัยแห่ง วิมุตติ 
  นิพพิทา เป็นเหตุ ที่อิงอาศัยแห่ง วิราคะ
  ทัสสนะ เป็นเหตุ ที่อิงอาศัยแห่ง นิพพิทา 
  สมาธิ เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง ยถาภูตญาณทัสสนะ 
  สุข เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง สมาธิ
  ปัสสัทธิ เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง สุข 
  ปีติ เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง ปัสสัทธิ 
  ความปราโมทย์ เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง ปีติ
  ศรัทธา เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง ความปราโมทย์ 
  ทุกข์ เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง ศรัทธา
  ชาติ เป็นที่อิงอาศัยแห่ง ทุกข์ 
  ภพ เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง ชาติ (เพราะมีภพ จึงมีชาติ)
  อุปาทาน เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง ภพ (เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพ)
  ตัณหา เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง อุปาทาน (เพราะมีตัณหา จึงมีอุปาทาน)
  เวทนา เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง ตัณหา (เพราะมีเวทนา จึงมีตัณหา)
---------------------------------------------------------------------------------
อุปาทาน
  มีอะไรเป็นเหตุ …มีตัณหาเป็นเหตุ
  มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น …มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น
  มีอะไรเป็นกำเนิด …มีตัณหาเป็นกำเนิด
  มีอะไรเป็นแดนเกิด …มีตัณหาเป็นแดนเกิด
ตัณหา
  มีอะไรเป็นเหตุ …มีเวทนาเป็นเหตุ
  มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น …มีเวทนาเป็นที่ตั้งขึ้น
  มีอะไรเป็นกำเนิด …มีเวทนาเป็นกำเนิด
  มีอะไรเป็นแดนเกิด …มีเวทนาเป็นแดนเกิด
เวทนา
  มีอะไรเป็นเหตุ …มีผัสสะเป็นเหตุ
  มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น …มีผัสสะเป็นที่ตั้งขึ้น
  มีอะไรเป็นกำเนิด …มีผัสสะเป็นกำเนิด
  มีอะไรเป็นแดนเกิด …มีผัสสะเป็นแดนเกิด
ผัสสะ
  มีอะไรเป็นเหตุ …มีสฬายตนะเป็นเหตุ
  มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น …มีสฬายตนะเป็นที่ตั้งขึ้น
  มีอะไรเป็นกำเนิด …มีสฬายตนะเป็นกำเนิด
  มีอะไรเป็นแดนเกิด …มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด

ก็เพราะผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละดับ ด้วยสำรอกโดย ไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
....ฯลฯ


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๒๗

๓. อุปนิสสูตร

           [๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เมื่อเราไม่รู้ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้เราเห็นอะไร เล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมี

           เมื่อเรารู้ เราเห็นว่าดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ... ดังนี้เวทนา ... ดังนี้สัญญา ...ดังนี้สังขารทั้งหลาย ... ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้น แห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลายย่อมมี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้เราเห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลายย่อมมี (เห็นรูป-ความเกิด-ความดับ-ความสิ้นไปย่อมมี)

           [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไปเกิดขึ้นแล้ว ญาณในธรรม เป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุ ที่อิงอาศัยแห่ง ญาณในธรรม เป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุ ที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุ ที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ ที่อิงอาศัยแห่ง วิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะ ว่ามีเหตุ ที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุ ที่อิงอาศัยดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ ที่อิงอาศัยแห่ง วิราคะ ควรกล่าวว่า นิพพิทา

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่า มีเหตุที่อิงอาศัยมิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุ ที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ ที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่ง ยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่าสมาธิ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุ ที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ ควรกล่าวว่า สุข

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง สุข ว่ามีเหตุที่อิงอาศัยมิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุ ที่อิงอาศัยดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง ปัสสัทธิ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง ปีติ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุ ที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควรกล่าวว่า ความปราโมทย์

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง ความปราโมทย์ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่ง ความปราโมทย์ ควรกล่าวว่า ศรัทธา

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง ศรัทธา ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งศรัทธา ควรกล่าวว่า ทุกข์

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง ทุกข์ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่ อิงอาศัย แห่งทุกข์ ควรกล่าวว่า ชาติ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุ ที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ ควรกล่าวว่า ภพ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง ภพ ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุ ที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ ควรกล่าวว่า อุปาทาน

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง อุปาทาน ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุ ที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน ควรกล่าวว่า ตัณหา

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง ตัณหา ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี เหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย แห่งตัณหา ควรกล่าวว่า เวทนา

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง เวทนา ว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงดังนี้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่น พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า อุปาทาน มีตัณหา เป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหา เป็นแดนเกิด ดังนี้

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่น พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็ตัณหาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร เป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นที่ตั้งขึ้น มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนา เป็นแดนเกิด ดังนี้

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็เวทนาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้นมีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นที่ตั้งขึ้น มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด ดังนี้

       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่น พึงถามข้าพระองค์ว่า ท่านอานนท์ ก็ผัสสะเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านทั้งหลาย ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นที่ตั้งขึ้น มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะ เป็นแดนเกิด

       ดูกรท่านทั้งหลาย ก็เพราะผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละดับ ด้วยสำรอกโดย ไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามแล้วอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ดังนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๔

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์