เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร.. พระจิตตหัตถิพูดแทรกขณะภิกษุเถระกำลังสนทนา จึงถูกเตือน 1496
 

(โดยย่อ)

จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร
พระจิตตหัตถิสารีบุตร พูดแทรก ขณะภิกษุผู้เถระกำลังสนทนาอภิธรรมกถา ถูกพระมหาโกฏฐิตะ กล่าวเตือน ให้ภิกษุเถระสนทนากันให้จบเสียก่อน แต่พวกภิกษุผู้เป็นสหายของพระจิตต แย้งว่า ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร เป็นบัณฑิต ย่อมกล่าวสนทนาอภิธรรมกถา กับพวกภิกษุผู้เถระได้

ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ทราบวาระจิต ของผู้อื่น พึงรู้ข้อนี้ได้ยาก

พระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า บุคคลบางคนเป็นดูสงบเสงี่ยม อ่อนน้อม เรียบร้อย ตลอดเวลาที่อยู่กับ พระศาดสดา แต่เมื่อหลีกไป ย่อมเข้าไปคลุกคลีกับภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มหาอมาตย์ ราชา หรือเดียรถีย์ ย่อมปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ราคะย่อมรบกวนจิต จึงลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์

เปรียบเหมือนโคที่เคยกินข้าวกล้า ถูกเขาผูกไว้ หรือขังไว้ในคอก ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า โคที่เคยกิน ข้าวกล้าตัวนี้ จัก ไม่ลงกินข้าวกล้าอีก ณ บัดนี้ ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ (ย่อมเป็นไปไม่ได้)
---------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ :
พระจิตตหัตถิสารีบุตร ได้เข้าไปคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ปล่อยใจ ไม่สำรวมอินทรีย์ ทำให้ราคะรบกวนจิต จึงลาสิกขา หลังจากนั้นก็ปลงผมและบวชใหม่ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตแน่วแน่ ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ท่าน พระจิตตหัตถิสารีบุตร ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๕๒

๖. จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร
(พระจิตตหัตถิสารีบุตร พูดแทรก ขณะภิกษุผู้เถระกำลังสนทนาอภิธรรมกถา ถูกพระมหาโกฏฐิตะกล่าวเตือน)

             [๓๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ก็สมัยนั้น ภิกษุผู้เถระหลายรูป กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมสนทนาอภิธรรมกถา กันอยู่ที่โรงกลม ได้ทราบว่า ในที่ประชุมนั้น ท่าน พระจิตตหัตถิสารีบุตร(พูดแทรก) เมื่อพวกภิกษุผู้เถระกำลังสนทนา อภิธรรมกถา กันอยู่ พูดสอดขึ้นในระหว่าง

             ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวกะท่าน พระจิตตหัตถิสารีบุตร ว่า ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร เมื่อภิกษุผู้เถระกล่าวสนทนา อภิธรรมกถากันอยู่ พูดสอดขึ้นในระหว่าง ขอท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร จงรอคอย จนกว่าภิกษุผู้เถระ สนทนากันให้จบเสียก่อน

             เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะ กล่าวอย่างนี้แล พวกภิกษุผู้เป็นสหายของท่าน พระจิตตหัตถิสารีบุตร ได้กล่าวกับท่านมหาโกฏฐิตะว่า แม้ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ย่อมรุกรานท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร (เพราะว่า) ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร เป็น บัณฑิต ย่อมสามารถกล่าวสนทนาอภิธรรมกถา กับพวกภิกษุผู้เถระได้ ท่านพระมหา โกฏฐิตะได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ทราบวาระจิต ของผู้อื่น พึงรู้ข้อนี้ได้ยาก

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (โกฏฐิตะกล่าว) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นดุจสงบ เสงี่ยม เป็นดุจอ่อนน้อมเป็นดุจสงบเรียบร้อย ตลอดเวลาที่อาศัยพระศาสดา หรือ เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่ว่าเมื่อใดเขาหลีก ออกไป จากพระศาสดา หลีกออกไปจากเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้นเขาย่อมคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาพระราชามหา อมาตย์ ของ พระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์อยู่ เมื่อเขาคลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุย ราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิตถูกราคะ รบกวน ย่อมลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนโคที่เคยกินข้าวกล้า ถูกเขาผูกไว้ ด้วยเชือกหรือขังไว้ในคอก ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า โคที่เคยกินข้าวกล้าตัวนี้ จัก ไม่ลงกินข้าวกล้าอีก ณ บัดนี้ ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ

             ภิกษุเหล่านั้นกล่าวตอบว่า ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็น ฐานะที่มีได้ คือโคที่เคยกินข้าวกล้าตัวนั้น พึงดึงเชือกขาด หรือแหกคอกแล้ว ลงไปกินข้าวกล้าอีกทีเดียว ฉันใด

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นดุจ สงบเสงี่ยม เป็นดุจอ่อนน้อม เป็นดุจสงบเรียบร้อย ตลอดเวลาที่อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่ว่าเมื่อใด เขาหลีกไปจากพระศาสดา หรือหลีกออกไปจากเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะ เป็นครู เมื่อนั้น เขาย่อมคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอมาตย์ของพระราชาเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์อยู่ เมื่อเขาคลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ ปล่อยจิตไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุยราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิตถูกราคะ รบกวน ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมบรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เขากล่าวว่า เราได้ปฐมฌาน (แต่)คลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนเม็ดใหญ่ (ลูกเห็บ) ตกลง ที่ทางใหญ่ สี่แพร่ง พึงยังฝุ่นให้หายไป ปรากฏเป็นทางลื่น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ ว่าบัดนี้ ฝุ่นจักไม่ปรากฏที่ทางใหญ่สี่แพร่งโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือ หนอ ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ มนุษย์หรือโค และ สัตว์เลี้ยง พึงเหยียบย่ำที่ทางใหญ่สี่แพร่งแห่งโน้น หรือลมและแดดพึงแผดเผา ให้แห้ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ฝุ่นพึงปรากฏอีกทีเดียว ฉันใด

              ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจาก กาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ (แต่ยังคลุกกคลี..) ย่อมลาสิกขาสึก มาเป็นคฤหัสถ์

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารเพราะ วิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เขาย่อมกล่าวว่า เราเป็นผู้ได้ ทุติยฌาน (แต่) ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนเม็ดใหญ่ ตกลงที่สระใหญ่ ใกล้บ้าน หรือนิคม พึงยังทั้งหอยกาบและหอยโข่ง ทั้งก้อนกรวดและกระเบื้อง ให้หายไปผู้ใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ หอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวดและกระเบื้อง จักไม่ปรากฏ ในสระโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ

             ดูกรอาวุโส ข้อนี้ ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ มนุษย์ หรือโค และสัตว์เลี้ยงพึงดื่มที่สระ แห่งโน้น หรือลมและแดดพึงแผดเผาให้แห้ง เมื่อเป็นเช่นนั้นทั้งหอยกาบ และ หอยโข่ง ทั้งก้อนกรวด และกระเบื้อง พึงปรากฏ ได้อีกทีเดียวฉันใด ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุทุติยฌาน ฯล(แต่ยังคลุกกคลี..) ย่อม ลาสิกขาสึก มาเป็นคฤหัสถ์

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขามี สติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เขาย่อมกล่าวว่า เราได้ตติยฌาน (แต่) ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนอาหารค้างคืน ไม่พึงชอบใจ แก่บุรุษ ผู้บริโภคอาหารประณีต ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้อาหารจักไม่ชอบใจแก่บุรุษ ชื่อโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ

             ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้นอาหารอื่น จักไม่ชอบใจแก่บุรุษผู้โน้น ผู้บริโภคอาหารประณีต ตลอดเวลาที่โอชารส แห่งอาหาร นั้น จักดำรงอยู่ในร่างกาย ของเขา แต่เมื่อใด โอชารสแห่งอาหารนั้นจักหมดไป เมื่อนั้น อาหารนั้นพึงเป็นที่ชอบใจเขาอีก

             ดูกรอาวุโสทั้งหลายบุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มี อุเบกขาเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ (แต่ยังคลุกกคลี..) ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เขากล่าวว่าเราได้จตุตถฌาน (แต่ว่า) ยังคลุกคลีด้วย พวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์

              ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือน ห้วงน้ำในที่ไม่ถูกลม ปราศจากคลื่น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่าบัดนี้ คลื่นจักไม่มีปรากฏ ที่ห้วงน้ำแห่งโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าว โดยชอบหรือหนอ

             ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ ลมฝน ที่แรงกล้า พึงพัดมาจากทิศตะวันออก ก็พึงพัดให้เกิดคลื่นขึ้นที่ห้วงน้ำแห่งนั้น ลมฝนที่แรงกล้าพึงพัดมาจากทิศตะวันตก ... จากทิศเหนือ ...จากทิศใต้ ก็พึงพัด ให้เกิดคลื่นขึ้นที่ห้วงน้ำแห่งนั้น ฉันใด

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันบรรลุ จตุตตฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับ โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เขากล่าวว่าเราได้ จตุตถฌาน(แต่ว่า) ยังคลุกคลี ด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุเจโตสมาธิอันไม่มี นิมิตเพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เขาย่อมกล่าวว่า เราได้เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต แต่ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชามหาอมาตย์ของ พระราชา พวกเดียรถีย์พวกสาวกเดียรถีย์ เมื่อเขาคลุกคลีด้วยหมู่ปล่อยจิต ไม่สำรวม อินทรีย์ ชอบคุยอยู่ ราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิตถูกราคะรบกวนแล้ว ย่อมลา สิกขาสึก มาเป็นคฤหัสถ์

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระราชา หรือมหาอมาตย์ของ พระราชา มีจตุรงคเสนาเดินทางไกล ไปพักแรมคืนอยู่ที่ป่าทึบแห่งหนึ่ง ในป่าทึบ แห่งนั้น เสียงจักจั่นเรไร พึงหายไปเพราะเสียงช้าง เสียงม้าเสียงรถ เสียงพลเดินเท้า เสียงกึกก้องแห่งกลอง บัณเฑาะว์ สังข์และพิณ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ ที่ป่าทึบแห่งโน้น เสียงจักจั่นเรไร จักไม่มีปรากฏอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ เมื่อใด พระราชา หรือมหาอมาตย์ของพระราชา พ้นไปจากป่าทึบแห่งนั้น เมื่อนั้น เสียงจักจั่นเรไร พึงปรากฏได้อีกฉันใด

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันบรรลุ เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เขากล่าวว่า เราได้เจโต สมาธิ อันไม่มีนิมิตแล้ว แต่ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา พระราชา มหาอมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์อยู่ เมื่อเขา คลุกคลีด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุยอยู่ ราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิตถูกราคะรบกวนแล้ว ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์

             สมัยต่อมา ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร ลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ครั้งนั้น พวกภิกษุผู้เป็นสหายของบุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร ได้เข้าไปหาท่าน พระมหา โกฏฐิตะ ถึงที่อยู่ แล้วถามว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้กำหนดรู้ใจบุรุษ ชื่อ จิตตหัตถิสารีบุตร ด้วยใจว่า บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติ เหล่านี้ๆ และจักลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ หรือเทวดาทั้งหลายได้แจ้งเนื้อความนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และจักลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กำหนดรู้ใจบุรุษ ชื่อจิตตหัตถิ สารีบุตร ด้วยใจว่า เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และจักลาสิกขาสึกมาเป็น คฤหัสถ์ แม้เทวดา ก็บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า

             ลำดับนั้น พวกภิกษุผู้เป็นสหาย ของบุรุษ ชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร ได้พากัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร เป็นผู้ได้ วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และได้ลาสิกขาสึกมาเป็น คฤหัสถ์ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่นานนัก บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร จักระลึกถึงคุณแห่ง เนกขัมมะได้

             ครั้งนั้น ไม่นานเท่าไร บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร ก็ปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตแน่วแน่ ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุด แห่ง พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเทียว เข้าถึงอยู่ ได้ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ก็แหละท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

จบสูตรที่ ๖






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์