1
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๔
ทิพยโสตญาณ (วิชชา ๘)
ตรัสกับพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหีบุตร ณ สวนอัมพวันของหมอ ชีวกโกมารภัจจ์ ใกล้พระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑๒๕๐ รูป
[๑๓๔] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก กิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพย โสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียง กลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึงเข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์
ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่า สามัญผลที่เห็น ประจักษ์ข้อก่อนๆ
2
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๘
ทิพยโสตญาณ (วิชชา ๘)
(ตรัสกับอังคกะมาณพหลานของโสณทัณฑะพราหมณ์ เรื่อง วิชชา ๘)
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะได้ยินเสียงกลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึง เข้าใจว่าเสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์
ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง
3
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๗
ทิพยโสตญาณ (วิชชา ๘)
(ตรัสกับกูฏทันตะพราหมณ์)
ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสต ของมนุษย์
ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลอง บ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึงเข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด
คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์
ดูกรพราหมณ์ นี้แหละเป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียม น้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญก่อนๆ
4
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๕
เรื่องของสามเณรสีหะ
(ตรัสกับเจ้าลิจฉวี
และเหล่าพราหมณ์)
[๒๔๒] ครั้งนั้น สามเณรสีหะเข้าไปหาท่านพระนาคิต อภิวาท พระนาคิตเถระ แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วจึงถามท่านว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะ พวกพราหมณทูตมากด้วยกัน เข้ามาในที่นี้เพื่อจะเฝ้า พระผู้มีพระภาค.
แม้เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวีพร้อมด้วยบริษัทลิจฉวีหมู่ใหญ่ ก็เข้ามาในที่นี้ เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ปรดเถิดท่านกัสสปะ ขอหมู่ชนนั้นจงได้เฝ้า พระผู้มีพระภาค. พระเถระตอบว่า สีหะ ถ้าเช่นนั้น เธอนั่นแหละจงกราบทูล พระผู้มีพระภาคเถิด สามเณรสีหะรับคำพระนาคิต แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ครั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณทูตชาวโกศลรัฐ และพราหมณทูต ชาวมคธรัฐมากด้วยกัน เข้ามาในที่นี้เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค แม้เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวี พร้อมด้วยบริษัทลิจฉวีหมู่ใหญ่ ก็เข้ามาในที่นี้เพื่อจะเฝ้า พระผู้มีพระภาค ขอประทานพระวโรกาสพระเจ้าข้า ขอหมู่ชนนั้นจงได้เฝ้า พระผู้มีพระภาคเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าดูกรสีหะ ถ้าเช่นนั้นเธอจงจัดอาสนะ ในร่มหลังวิหารเถิด. สามเณรสีหะ ทูลรับพระพุทธอาณัติแล้ว ไปจัดอาสนะในร่ม หลังพระวิหาร.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากพระวิหารแล้วไปประทับ ณ อาสนะที่สามเณรสีหะจัดไว้ในร่มหลังพระวิหาร.
ลำดับนั้น พวกพราหมณทูตเหล่านั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๒๔๓] ฝ่ายเจ้าโอฏฐัทธลิจฉวี พร้อมด้วยบริษัทลิจฉวีหมู่ใหญ่ ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ครั้นแล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อนๆ สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเข้าไปหาข้าพระองค์แล้วบอกว่า มหาลี * ตลอดเวลา ที่ข้าพเจ้าอาศัย พระผู้มีพระภาคอยู่ไม่ทันถึง ๓ ปีข้าพเจ้าก็ได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด แต่มิได้ยินเสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบ ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ที่สุนักขัตตลิจฉวีบุตรไม่ได้ยินนั้น มีอยู่หรือไม่.
* มหาลี ผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มี มหาลี มิใช่ไม่มี.
เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวี ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเล่าเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่มิให้สุนักขัตตลิจฉวีบุตร ได้ยินเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเ ป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ที่มีอยู่ มิใช่ว่าไม่มีนั้น.
-----------------------------------------------------------------------------------------
4.1
สมาธิที่บำเพ็ญเฉพาะส่วน (เพื่อเห็นรูปทิพย์)
(ทิศตะวันออก)
[๒๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิ เฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก
แต่มิได้เจริญเพื่อฟัง เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่ รูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ในทิศตะวันออก มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ทั้งนี้ เพราะภิกษุนั้นเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
(ตั้งจิตเพื่อเห็นรูปทิพย์ แต่ไม่ได้ตั้งจิตเพื่อฟังเสียงทิพย์ เพราะภิกษุ เจริญเฉพาะส่วน)
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศใต้)
[๒๔๕] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดใน ทิศใต้ แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบ ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ มิได้ฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศตะวันตก)
ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศเหนือ)
ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ใน ทิศเหนือ แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง)
ภิกษุผู้เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วนเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบนทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่ รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง มิได้ฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบ ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
-----------------------------------------------------------------------------------------
4.2
สมาธิที่บำเพ็ญเฉพาะส่วน (เพื่อฟังเสียงทิพย์)
(ทิศตะวันออก)
[๒๔๖] ดูกรมหาลี ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก แต่มิได้เจริญเพื่อ เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญ สมาธิ เฉพาะส่วนเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศตะวันออก แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออกมิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก มิได้เจริญ เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศใต้)
[๒๔๗] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลีข้อนั้น เป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ มิได้เจริญเพื่อ เห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศตะวันตก)
ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงอันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศตะวันตก มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก มิได้เจริญ เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศเหนือ)
ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดใน ทิศเหนือ แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือมิได้เจริญ เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง)
ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้เจริญ เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วนเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบนทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้เจริญ เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด.
-----------------------------------------------------------------------------------------
4.3
เจริญสมาธิโดยส่วนสอง (เห็นรูปทิพย์ และฟังเสียงทิพย์)
(ทิศตะวันออก)
[๒๔๘] ดูกรมหาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดใน ทิศตะวันออก เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก
ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก.
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศใต้)
[๒๔๙] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็น รูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัดใน ทิศใต้ เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศใต้ เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารักและฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัดในทิศใต้.
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศตะวันตก)
ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟัง เสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ใน ทิศตะวันตก เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก เธอจึงเห็น รูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศตะวันตก
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศตะวันตก.
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศเหนือ)
ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟัง เสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ใน ทิศเหนือ เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสองเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ เธอจึงเห็น รูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ในทิศเหนือ
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศเหนือ.
-----------------------------------------------------------------------------------------
(ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง)
ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟัง เสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดใน ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัดในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลีข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง
ดูกรมหาลี เหตุปัจจัยนี้แหละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย สุนักขัตตลิจฉวีบุตร จึงมิได้ยิน เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดที่มีอยู่ มิใช่ไม่มี.
5
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๘
ทิพพโสตญาณ (วิชชา ๘)
(ตรัสกับ มัณฑิยปริพาชกและชาลิยปริพาชก)
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อม
ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์
ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรหรือที่จะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง บรรพชิตทั้งสองนั้น กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ควรจะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง
ดูกรผู้มีอายุ เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้เราจึงมิได้กล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง.
6
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ หน้า ๒๕๗
ทิพยโสตธาตุ (วิชชา ๘)
(ตรัสกับกัสสป)
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ
เธอย่อมได้
ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ นี้เป็นปัญญาสัมปทาของเธอประการหนึ่ง
ดูกรกัสสป นี้แลปัญญาสัมปทา.
7
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๒
ทิพพโสตญาณ (วิชชา ๘)
(ตรัสกับเกวัฏฏ์)
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ
เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์
ดูกรเกวัฏฏ์ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาพึงเข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์
ดูกรเกวัฏฏ์ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์
8
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๕
มหาปุริสลักษณะ หากจุติขึ้นมาในโลก
(ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้แล ที่มหาบุรุษ ประกอบแล้วย่อมเป็นเหตุให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ (๑) ถ้าครอง เรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ฯลฯ
อนึ่ง (๒) ถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิต จะเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลังคา คือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก
ภิกษุทั้งหลาย พวกฤาษีแม้เป็นภายนอก ย่อมทรงจำมหาปุริสลักษณะของ พระมหาบุรุษ ๓๒ เหล่านี้ได้ แต่ฤาษีทั้งหลายนั้น ย่อมไม่ทราบว่าเบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก สัตว์ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนี้อันตน ทำสั่งสม พอกพูนไพบูลย์
สัตว์ที่บำเพ็ญกุศลกรรมนั้น ย่อมครอบงำเทวดาทั้งหลายอื่น ในโลกสวรรค์ โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ความสุขทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์
ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะ ซึ่ง มหาปุริสลักษณะนี้
[๑๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อนเป็นผู้มีสมาทานมั่นในกุศลธรรม มีสมาทานไม่ถอยหลังในกายสุจริต ในวจีสุจริต ในมโนสุจริตในการบำเพ็ญทาน ในการสมาทานศีล ในการรักษาอุโบสถ ในการปฏิบัติดีในมารดา ในการปฏิบัติดีในบิดา ในการปฏิบัติดีในสมณะ ในการปฏิบัติดีในพรหม ในความเป็นผู้เคารพต่อผู้ใหญ่ในสกุล และในธรรมเป็น อธิกุศลอื่นๆ ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้น อันตนทำสั่งสม พอกพูนไพบูลย์
ตถาคตย่อมครอบงำเทวดา ทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์ โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ความสุขทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาถึงความเป็นอย่างนี้ ย่อม ได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้
9
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๕
๖. อากังเขยยสูตร ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
(ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)
[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงได้ยินเสียง ทั้ง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิต ของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.
10
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๖
เรื่องสุนักขัตตลิจฉวีบุตร
(ตรัสกับพระสารีบุตร)
[๑๖๔] ดูกรสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่เป็นความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ย่อมทรงสดับเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์
[๑๖๕] ดูกรสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะ ผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่เป็นความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ย่อมทรงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ ก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่า จิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่า
จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือ
จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า
จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น.
11
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๐
อภิญญา ๖
(ตรัสกับวัจฉะ)
[๒๖๑] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธี หลายประการ คือคนเดียว เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดดุจไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถ ในอิทธิวิธีนั้นๆ เทียว.
[๒๖๒] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงฟังเสียงทั้งสอง คือ
เสียงทิพย์ และ
เสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกล และที่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตธาตุ ของมนุษย์ดังนี้.
เมื่อเหตุมีอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในทิพยโสตธาตุ นั้นๆ เทียว.
12
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๙
ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพข้อที่ ๕
ตรัสกับอุทายี
[๓๕๐] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสต ของมนุษย์
ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษเป่าสังข์ผู้มีกำลัง จะพึงยังคนให้รู้ตลอด ทิศทั้งสี่ โดยไม่ยากฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้น แลปฏิบัติตามปฏิปทา ที่เราบอกแล้ว ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็น อันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่
13
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๓
โคปกโมคคัลลานสูตร (๑๐๘) ตรัสกับพราหมณ์
(ธรรม ๑๐ ประการ
อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของภิกษุผู้มีคุณสมบัตินี้ )
[๑๑๓] อา. ดูกรพราหมณ์ มีอยู่แล ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสบอกธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใสไว้ ๑๐ ประการ บรรดาพวกอาตมภาพ รูปใดมีธรรมเหล่านั้น อาตมภาพทั้งหลายย่อม สักการะ เคารพ นับถือ บูชารูปนั้น
ครั้นสักการะเคารพแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอยู่ ในบัดนี้ ธรรม ๑๐ ประการ เป็นไฉน
ดูกรพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(๑) เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
(๒) เป็นพหูสูต ทรงการศึกษา สั่งสมการศึกษา ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหม จรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น ย่อมเป็นอันเธอได้สดับแล้วมากทรงจำไว้ได้ คล่องปาก เพ่งตามได้ด้วยใจ แทงตลอดดีด้วยความเห็น
(๓) เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร
(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความ ปรารถนา ได้ไม่ยาก ไม่ลำบาก
(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน เป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขาได้ ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศโดยบัลลังก์ เหมือนนก ก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกล และที่ใกล้ ได้ด้วย ทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์
(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิต ปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิต ปราศจาก โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิต ฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิต ไม่มีจิตอื่น ยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ว่า จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า จิตยังไม่หลุดพ้น
(๘) ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้ เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ ชาติหนึ่ง บ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้างสี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้างพันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้างหลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏ วิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่อ อย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิด ในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์ อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้เรานั้น เคลื่อนจาก ชาตินั้น แล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็น อเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้ง อุเทศ เช่นนี้
(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิว พรรณดี มีผิวพรรณ ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมมองเห็น หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็น ไปตามกรรม เช่นนี้
(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลาย สิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ |