เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
ว่าด้วยกองกุศลที่แท้จริง (กุสลาสี) คือ สติปัฏฐาน ๔ (ละกาย วจี มโน ทุจริตก่อน) 1476
 

(โดยย่อ)

ภิกษุ ท.เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศลจะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึง สติปัฏฐาน ๔
เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย

เพราะฉะนั้นแหละ เธอจงชำระ เบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน (สุจริต ๓ ทุจริต๓)
เธอจักละกายทุจริต เจริญกายสุจริต
เธอจักละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต
เธอจักละ มโนทุจริต เจริญมโนสุจริต

เมื่อใดแล เธอจักละกายทุจริตเจริญกายสุจริต จักละ วจีทุจริตเจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริตเจริญมโนสุจริต เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วเจริญสติปัฏฐาน ๔

ดูมหาสติปัฏฐานสูตร (เรื่องสติปัฏฐาน๔โดยละเอียด)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๐๕

กุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองกุศล


             [๘๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่า กองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้น ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน

             ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศลจะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึง สติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

 



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๐๕-๒๐๖.

ปาฏิโมกขสูตร
ว่าด้วยปาฏิโมกขสังวร

             [๘๒๗] ครั้งนั้น พระภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ เด็ดเดี่ยวอยู่เถิด

             [๘๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอจง ชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม? เธอจงสำรวมในปาฏิโมกขสังวร จงถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษ มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

             [๘๒๙] ดูกรภิกษุ เมื่อใดแล เธอจักสำรวมในปาฏิโมกขสังวร จักถึงพร้อม ด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย เมื่อนั้นเธออาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

             ดูกรภิกษุเธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ในเวทนาอยู่ ... ในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสีย เมื่อใด เธอจักอาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืนหรือ วันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อม

             [๘๓๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้น ชื่นชม อนุโมทนา พระภาษิตของพระผู้มี พระภาค แล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว หลีกไป ภิกษุนั้นเป็นผู้ผู้เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ เด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

             ก็แลภิกษุนั้นเป็น พระอรหันต์ องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๐๖-๒๐๗

ทุจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต-สุจริต

             [๘๓๑] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด

             [๘๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอจงชำระ เบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม? เธอจัก ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต

             [๘๓๓] ดูกรภิกษุ เมื่อใดแล เธอจักละกายทุจริตเจริญกายสุจริต จักละ วจีทุจริตเจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริตเจริญมโนสุจริต เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วเจริญสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

             ว่าด้วยกองกุศล เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ในเวทนาอยู่ ...ในจิตอยู่ ... จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย

ว่าด้วยกองกุศลเมื่อใดแล เธอจักอาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืน หรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย ฯลฯ

             ก็แล ภิกษุรูปนั้น เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์