เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ตถาคต รู้คุณ-รู้โทษ-การสลัดออกแห่งอายตนะจึงได้ตรัสรู้ 1477
 

(โดยย่อ)
รู้คุณ รู้โทษ และการสลัดออก จึงได้ตรัสรู้

เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า
(เรายังไม่รู้ว่า) อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความสลัดออก แห่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ)

(เรายังไม่รู้ว่า) สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุนี้เป็นคุณแห่งจักษุ จักษุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน นี้เป็นโทษแห่งจักษุ การกำจัด การละฉันทราคะในจักษุ นี้เป็นความสลัดออก แห่ง จักษุ(หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ตรัสทำนองเดียวกันกับจักษุ)

(เรายังไม่รู้ว่า) คุณแห่งอายตนะภายใน ๖ โดยเป็นคุณ และๆไม่รู้ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ

(เรารู้แล้ว รู้คุณ รู้โทษ รู้ความสลัดออก) เมื่อใดเราได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออก โดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณ ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้ว แก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี
-----------------------------------------------------------------------------------------------

เพลินในรูป เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นชรามรณะ ย่อมไม่หลุดพ้น
เพลินในจักษุ เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นชรามรณะ ย่อมไม่หลุดพ้น
การเกิดขึ้นของรูป เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นชรามรณะ ย่อมไม่หลุดพ้น
การเกิดขึ้นของจักษุ เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นชรามรณะ ย่อมไม่หลุดพ้น

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๖ - ๑๔

ยมกวรรคที่ ๒

สัมโพธสูตรที่ ๑

(หลุดพ้นด้วยอายตนะภายใน ๖)
รู้คุณ รู้โทษ และการสลัดออก

            [๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความสลัดออก แห่งจักษุ ฯลฯ แห่งหู ฯลฯ แห่งจมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความสลัดออกแห่งใจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า สุขโสมนัสเกิดขึ้น เพราะ อาศัยจักษุนี้ เป็นคุณแห่งจักษุ จักษุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดานี้ เป็นโทษแห่งจักษุ การกำจัด การละฉันทราคะในจักษุ นี้เป็นความ สลัดออกแห่งจักษุ ฯลฯ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจ นี้เป็นคุณแห่งใจ ใจเป็น สภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งใจ การกำจัด การละฉันทราคะในใจ นี้เป็นความสลัดออกแห่งใจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะ ภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัด ออก โดยเป็น ความสลัดออก อย่างนี้เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ ซึ่งอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น

            เมื่อใด เราได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออก โดยเป็นความ สลัดออก อย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี

จบสูตรที่ ๑


สัมโพธสูตรที่ ๒

(หลุดพ้นด้วยอายตนะภายนอก ๖)
รู้คุณ รู้โทษ และการสลัดออก

            [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยัง ไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความ สลัดออกแห่งรูป ฯลฯ แห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯแห่งโผฏฐัพพะ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า สุขโสมนัสเกิดขึ้น พราะ อาศัยรูป นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็น ธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป การกำจัด การละฉันทราคะในรูป นี้เป็นความสลัด ออก แห่งรูป ฯลฯ สุขโสมนัสเกิดขึ้น เพราะอาศัยธรรมารมณ์ นี้เป็นคุณแห่ง ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง ธรรมารมณ์ การกำจัด การละฉันทราคะในธรรมารมณ์นี้ เป็นความสลัดออกแห่ง ธรรมารมณ์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออก โดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้ เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่ง อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์เพียงนั้น

            เมื่อใด เราได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออก โดยเป็นความ สลัดออก อย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่ง อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเรา ไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี

จบสูตรที่ ๒


อัสสาทสูตรที่ ๑

(หลุดพ้นด้วยการแสวงหา คุณ-โทษ-การสลัดออก ของอายตนะภายใน ๖)

            [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งจักษุ ได้พบคุณ แห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งจักษุ ได้พบโทษ แห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาความสลัดออกแห่งจักษุ ได้พบความสลัดออกแห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ฯลฯ แห่งหู ฯลฯ แห่งจมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ

            เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งใจ ได้พบคุณแห่งใจ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งใจ ได้พบโทษแห่งใจ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้ เที่ยวแสวงหาความสลัดออกแห่งใจ ได้พบความสลัดออกแห่งใจ ได้เห็นด้วยดี ด้วยปัญญา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งความสลัดออกโดยเป็น ความ สลัดออก เพียงใด ฯลฯ ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเรา ไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุดบัดนี้ภพใหม่ไม่มี

จบสูตรที่ ๓



อัสสาทสูตรที่ ๒


(หลุดพ้นด้วยการแสวง คุณ-โทษ-การสลัดออก ของอายตนะภายนอก ๖)

            [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งรูป ได้พบคุณแห่งรูป ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งรูป ได้พบโทษแห่งรูป ได้เห็น ด้วยดี ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาความสลัดออกแห่งรูป ได้พบความสลัดออก แห่งรูป ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ฯลฯ แห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯแห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ

            เราได้เที่ยวแสวงหาคุณ แห่งธรรมารมณ์ ได้พบคุณแห่งธรรมารมณ์ ได้เห็น ด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งธรรมารมณ์ ได้พบโทษ แห่งธรรมารมณ์ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาความสลัดออก แห่งธรรมารมณ์ ได้พบความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งความสลัดออก โดยเป็นความสลัดออก เพียงใด ฯลฯ ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้น ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี

จบสูตรที่ ๔



โนอัสสาทสูตรที่ ๑


(โดยสรุป มุมของอายตนะภายใน)

            [๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าคุณแห่งจักษุ จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงกำหนัดในจักษุ
แต่เพราะคุณในจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในจักษุ

ถ้าโทษแห่งจักษุ จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในจักษุ
แต่เพราะโทษแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในจักษุ

ถ้าความสลัด ออกแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจาก จักษุ แต่เพราะความสลัดออกแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออก จากจักษุ ฯลฯ แห่งหู ฯลฯ แห่งจมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ

ถ้าคุณแห่งใจจักไม่มี แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึง กำหนัด ในใจ แต่เพราะ คุณแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในใจ

ถ้าโทษแห่งใจจัก ไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในใจ แต่เพราะ โทษแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในใจ

ถ้าความสลัดออกแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากใจ
แต่เพราะความสลัดออกแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากใจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่ง อายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งความ สลัดออก โดยเป็นความสลัดออก เพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจหาเขตแดนมิได้อยู่ เพียงนั้น

แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออก โดยเป็นความ สลัดออก เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ มีใจอันหาเขตแดนมิได้อยู่

จบสูตรที่ ๕



โนอัสสาทสูตรที่ ๒


(โดยสรุป มุมของอายตนะภายนอก)

            [๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าคุณแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่พึงกำหนัดในรูป แต่เพราะคุณ แห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัด ในรูป

ถ้าโทษแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะ โทษแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป

ถ้าความสลัดออกแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากรูป แต่เพราะความสลัดออกแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป ฯลฯ แห่งเสียงฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ

ถ้าคุณแห่งธรรมารมณ์ จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัด ในธรรมารมณ์ แต่เพราะคุณแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดใน ธรรมารมณ์

ถ้าโทษแห่งธรรมารมณ์ จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึง เบื่อหน่าย ใน ธรรมารมณ์ แต่เพราะโทษแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายใน ธรรมารมณ์

ถ้าความสลัดออกจากธรรมารมณ์ จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออก จากธรรมารมณ์ แต่เพราะความ สลัดออกแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย จึงสลัดออกจากธรรมารมณ์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่ง อายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งความ สลัดออก โดยเป็นความสลัดออกเพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจหาเขตแดนมิได้อยู่เพียงนั้น

แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออก โดยเป็น ความสลัดออก เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ออกไปพรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ มีใจอันหาเขตแดนมิได้อยู่

จบสูตรที่ ๖



อภินันทสูตรที่ ๑

เพลินในจักษุ เป็นทุกข์

            [๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลินจักษุ ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯลฯผู้ใดยัง เพลิดเพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์

            ส่วนผู้ใดไม่เพลิดเพลินจักษุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิด เพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯลฯผู้ใดไม่เพลิด เพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่า ไม่ เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์

จบสูตรที่ ๗



อภินันทสูตรที่ ๒

เพลินในรูป เป็นทุกข์

            [๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าย่อม เพลิดเพลิน ทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดยัง เพลิดเพลิน ธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์

            ส่วนผู้ใดไม่เพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าไม่ เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใด ไม่เพลิด เพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน ธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์

จบสูตรที่ ๘


อุปปาทสูตรที่ ๑

ความเกิดขึ้นของจักษุ เป็นทุกข์

            [๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความ ปรากฏแห่งจักษุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ ปรากฏแห่งชรา และมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏ แห่งใจ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรา และมรณะ

            ส่วนความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งจักษุ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯลฯความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งใจ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มี แห่งชรา และมรณะ

จบสูตรที่ ๙



อุปปาทสูตรที่ ๒

ความเกิดขึ้นของรูป เป็นทุกข์

            [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความ ปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ ปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดความปรากฏ แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏ แห่งชราและมรณะ

            [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งรูป นี้เป็น ความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความ สงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ

จบสูตรที่ ๑๐

จบยมกวรรคที่ ๒

 

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์