เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
ตถาคตเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ (ตรัสกับ อัคคิเวสนะ) 1475
 

(โดยย่อ)

ตถาคตเป็นครูของเทวดาและมนุษย์

ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก อย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้
เป็นครูของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม
 
ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์
ทั้งสมณะ และพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว

ตถาคตแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด

พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ
ประกาศพรหมจรรย์อัน บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง 

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง ๕
ตถาคตจึงแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า
มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจรอยู่
จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทาน ศึกษา ในสิกขาบททั้งหลายเถิด
มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
เห็นรูป ด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต

ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง

ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว ย่อม
เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๒๓๓ - ๒๓๔

ตถาคตเป็นครูของเทวดาและมนุษย์
(ตรัสกับ อัคคิเวสนะ)

                 [๓๙๖] ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม

                 ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ ทั้งสมณะ และพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อัน บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

                 คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดีก็ดี คนที่เกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่ง ก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ย่อมได้ความเชื่อในตถาคต เขาประกอบด้วยการ ได้ความ เชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่ง ธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย

                 อย่ากระนั้นเลยเราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตเถิดสมัยต่อมาเขาละโภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง และวงศ์ญาติ เล็กบ้าง ใหญ่บ้างปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออก จากเรือน บวชเป็น บรรพชิต

                 ดูกรอัคคิเวสสนะ เพียงเท่านี้แล เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในโอกาส อันว่างแล้วความจริง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง ๕ อยู่ ตถาคตจึงแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า

                 ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษา ในสิกขาบททั้งหลายเถิด

                  ดูกรอัคคิเวสสนะ ในเมื่ออริยสาวกเป็นผู้ มีศีล สำรวมด้วย ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจรอยู่ย่อมเป็นผู้เห็น ภัยในโทษเพียง เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ ตถาคตจึงแนะนำ เธอให้ยิ่งขึ้น ไปว่า

                 ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูป ด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ

                  เธอครั้น ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลก เสียได้อยู่ ย่อมเป็นผู้พิจารณา เห็น เวทนาในเวทนา ... ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต ...ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์