เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
อุปกิเลสสูตร อุปกิเลส ๕ ประการ กามฉันทะ พยาบาท ถิ่นมิทธะ อุทธัจจ วิจิกิจฉา (นิวรณ์๕) 1431
 

(โดยย่อ)
อุปกิเลสสูตร

อุปกิเลส ๕ ประการเป็นไฉน คือ
กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถิ่นมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ (นิวรณ์๕)

อุปกิเลสแห่งจิต ๕ ประการนี้แล
เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความ หมดสิ้นไป แห่งอาสวะ

เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จ ในอิทธิวิธี นั้นๆ เช่น เสียงทิพย์ และ เสียงมนุษย์

เราพึงกำหนดรู้ใจ ของสัตว์อื่นของ บุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือ จิตปราศจากราคะ ก็รู้...
จิตมีโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ ...
จิตมีโมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ ...
จิตหดหู่ ก็พึงรู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้..
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ ...
จิตเป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้...
จิตหลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๖

๓. อุปกิเลสสูตร

            [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ซึ่งเป็นเหตุให้ทอง เศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับ ไม่ได้ มี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ เหล็ก ๑ โลหะ ๑ ดีบุก ๑ ตะกั่ว ๑ เงิน ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ ทองเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่อง ประดับไม่ได้

             เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕ ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ สุกใส ทนทาน จะทำเป็นเครื่องประดับก็ได้ คือ ช่างทองต้องการเครื่องประดับชนิดใดๆ เช่น แหวน ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาลย์ ก็ทำได้ตามต้องการฉันใด อุปกิเลสแห่งจิต ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใสเสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไป แห่งอาสวะ ก็มี ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน

            อุปกิเลส ๕ ประการเป็นไฉน คือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถิ่นมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ (นิวรณ์๕)

            อุปกิเลสแห่งจิต ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อม ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความหมดสิ้นไป แห่งอาสวะ

            แต่เมื่อใด จิตพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ผ่องใส ทนทาน ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไป แห่งอาสวะ และภิกษุจะน้อมจิตไปเพื่อ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เมื่อธรรม เครื่องสืบต่อ มีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในธรรมนั้นๆ โดยแน่นอน

            ถ้าภิกษุหวังอยู่ว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ ได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็น หลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฎก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพงภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้เดินบนน้ำ ไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ ด้วยฝ่ามือ ก็ได้ ใช้อำนาจทางกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้

            เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จ ในอิทธิวิธี นั้นๆ โดยแน่นอน ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงฟังเสียง ๒ อย่าง คือ เสียงทิพย์ และ เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อ มีอยู่ ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จ ในทิพโสตนั้นๆ โดยแน่นอน

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงกำหนดรู้ใจ ของสัตว์อื่นของ บุคคลอื่นด้วยใจ คือ

จิตมีราคะ
ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือ จิตปราศจากราคะก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากโมหะ

จิตหดหู่ ก็พึงรู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็น มหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่า จิต ไม่มี จิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

             เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จใน เจโต ปริยญาณนั้นๆ โดยแน่นอนถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ บ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัป เป็นอันมาก บ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุข เสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น

            ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่อ อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุข เสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น

            ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้ เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ๔ ด้วยประการฉะนี้ เมื่อธรรมเครื่องสืบ ต่อ มีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จ ในบุพเพนิวาสานุสติญาณ ๕ นั้นๆ โดยแน่นอน

            ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังเคลื่อน กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ ของ มนุษย์ พึงรู้หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ

             เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นสัมมาทิฐิ ถือมั่นการกระทำ ด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

            เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังเคลื่อน กำลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้หมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จ ในจุตูปปาตญาณนั้นๆ โดยแน่นอน

            ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อ มีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ นั้นๆ โดยแน่นอน






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์