เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 อริยะบุคคล ๔ จำพวก คุณสมบัติ อุปมาคนตกน้ำ ๗ จำพวก 1410
 

(โดยย่อ)

อริยะบุคคล ๔ จำพวก
๑. โสดาบัน (ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ คือ สักกายะทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส)
๒. สกทาคามี (ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ และ ราคะ..โทสะ..โมหะ เบาบาง)
๓. อนาคามี (ละสังโยชน์ ๕ ได้ครบ)
๔. อรหันต์ (ละสังโยชน์ ๑๐ ได้ครบ)

สังโยชน์ ๑๐ แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม

สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ (โอรัมภาคิยสังโยชน์)
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)

สังโยชน์เบื้องสูง ๕ (อุธัมภาคิยสังโยชน์)
๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

  อริยะบุคคล ๔ จำพวก และคุณสมบัติ
    คุณสมบัติ (ละสังโยชน์) คุณสมบัติ (นัยยะอื่น) บางส่วน
1 โสดาบัน
(ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ)

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๑. เป็นบุคคลที่หายากในโลก
๒. เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มีศีลของเหล่าอริยเจ้า
๓. รู้จักความก่อขึ้นแห่งอุปาทานขันธ์ ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย รู้จักโทษ อุบาย
๔. รู้จักอินทรีย์ ๖ รู้จักความก่อขึ้น ตั้งอยู่ไม่ได้ รู้จักรสอร่อย โทษ อุบายเครื่องออก
๕. เป็นสัทธานุสารี รู้ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสิ่งไม่เที่ยงมีความเชื่อน้อมจิตไป
๖. เป็นธัมมานุสารี ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญา ในธรรม ๖ อย่าง
๗. โสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ เป็นสัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ และเอกพีชี
๘. โสดาบันรู้ชัดในปฏิจจสมุปบาท ตลอดทั้งสายเกิด-สายดับ
๙. รู้ปฏิจจ-แต่ละสายโดยนัยอริยสัจสี่ ทั้งปัจจุบัน อดีต อนาคต (ญาณวัตถุ๔๔)
๑๐. รู้ปฏิจจ แต่ละสายถึงเหตุเกิด-ความดับ ทั้งปัจจุบัน อดีต อนาคต (ญาณวัตถุ๗๗)
๑๑. ผู้มีธัมมญาณ(ญาณในธรรม) และอันวยญาณ (ญาณในการรู้ตาม)
๑๒. มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันปล่อยแล้ว
๑๓. คบสัตบุรุษ ฟังพระสัทธรรม กระทำในใจฯ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
๑๔. ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิในเรื่องสุข/ทุกข์/กรรม..ไม่ได้เกิดจากตนเอง-ผู้อื่นบันดาล
--------------------------------------------------------------------------------------------
- โสดาบัน สัตตักขัตตุปรมะ หลังกายแตกได้ กายมนุษย์- เทวดา ไม่เกิน ๗ คราว
- โสดาบัน โกลังโกละ หลังกายแตกได้ กายมนุษย์- เทวดา ๒-๓ คราว
- โสดาบัน เอกพีชี หลังกายแตกได้ กายมนุษย์ ๑ คราว
- อุปมาคนตกน้ำ ๗ จำพวก เป็นพวกที่ ๔ โผล่ขึ้นจากน้ำ ทรงตัวอยู่ เหลียวดูรอบๆ
2 สกทาคามี
(ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อ)
และ
ราคะ..โทสะ..โมหะ เบาบาง)

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) เบาบาง
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย) เบาบาง

- เป็นบุคคลที่หายากในโลก
- หลังกายแตกทำลาย จากมนุษย์ จะได้กายเทวดาชั้นดุสิต (กามภพ)
- อุปมาคนตกน้ำ ๗ จำพวก เป็นพวกที่ ๕ โผล่จากน้ำ แล้วว่ายเข้าหาฝั่ง
3 อนาคามี
(ละสังโยชน์ ๕ ได้ครบ)

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)
- เป็นบุคคลที่หายากในโลก
- หลังกายแตกทำลาย จากมนุษย์ จะได้กายเทวดาชั้นสุทธาวาส(รูปภพ)
- อุปมาคนตกน้ำ ๗ จำพวก เป็นพวกที่ ๖ โผล่ขึ้นจากน้ำ ว่ายเข้าหาฝั่ง ถึงที่ตื้น
4 อรหันต์
(ละสังโยชน์ ๑๐ ได้ครบ)

สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ (โอรัมภาคิยสังโยชน์)
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)
สังโยชน์เบื้องสูง ๕ (โอรัมภาคิยสังโยชน์)
๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
- เป็นบุคคลที่หายากในโลก
- เป็นผู้สิ้นอาสวะ สิ้นราคะโทสะโมหะ สิ้นอวิชชา
- หลังกายแตกทำลายจากมนุษย์ เข้าถึงนิพพาน
- อุปมาคนตกน้ำ เป็นพวกที่ ๗ โผล่ขึ้นจากน้ำ ว่ายเข้าฝั่งแล้วเป็นพราหม์ยืนอยู๋
   
  สังโยชน์ ๑๐
  สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ (โอรัมภาคิยสังโยชน์)
(๑) สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
(๒) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
(๓) สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)

(๔) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
(๕) พยาบาท (ความคิดร้าย)

สังโยชน์เบื้องสูง ๕ (อุทธัมภาคิยสังโยชน์)
(๖) รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
(๗) อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
(๘) มานะ (ความถือตัว)
(๙) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
(๑๐) อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
  อุปมาคนตกน้ำ ๗ จำพวก
  บุคคลเปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกอะไรบ้าง คือ
(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ จมลงคราวเดียวแล้วก็เป็นอันจมอยู่นั่นเอง (ปุถุชน)
(๒) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว กลับจมลงไปอีก (ปุถุชน)
(๓) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ทรงตัวอยู่ (ปุถุชน)
(๔) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ทรงตัวอยู่ เหลียวดูรอบๆ (โสดาบัน)
(๕) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ว่ายหาฝั่(สกทาคามี)
(๖) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว เข้ามาถึงที่ตื้น (อนาคามี)
(๗) บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว ข้ามถึงฝั่ง เป็นพราหมณ์อยู่บนบก (อรหันต์)
 

 

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์