เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 มหาลิสูตร มหาลิ เข้ามาบวชเพื่อต้องการความเป็นทิพย์ พ.ตรัสว่ามีธรรมอื่นที่ดีกว่าปราณีตกว่า 1401
 

(โดยย่อ)
มหาลิสูตร

(1) พราหมณทูตชาวโกศลรัฐ และ พราหมณทูตชาวมคธรัฐ เข้าเฝ้าด้วยศรัทธา
(2) เรื่องของพระนาคิตเถระ พุทธอุปัฏฐาก
(3) เรื่องของพระเจ้าลิจฉวี โอฏฐัทธะเข้าหาพระนาคิตเถระ
(4) สุนักขัตตลิจฉวีบุตi ถามพระผู้มีพระภาคว่าเรื่องได้ยินเสียงทิพย์ แต่ไม่เห็นรูป
(5) เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อไม่ให้(อีกฝ่ายหนึ่ง)เห็นรูปทิพย์ (ตรัสกับมหาลิ)
(6) เจริญสมาธิโดยส่วนสอง การเห็นรูปทิพย์ การฟังเสียงทิพย์ (ตรัสกับมหาลิ)
(7) ธรรมอื่นที่ดีกว่า ปราณีตกว่าการเห็นรูปทิพย์และเสียงทิพย์
     มหาลิเข้ามาบวชกับพระพุทธเจ้าเพื่อต้องการเห็นรูปทิพย์ และได้ยินเสียงทิพย์
     แต่พระพุทธเจ้า ตรัสว่ามีธรรมอื่นที่ดีกว่า ปราณีตกว่า มีอยู่ คือ
     - การได้เป็นโสดาบัน (สังโยชน์ 3 สิ้นไป)
     - การได้เป็นสกทาคามี (สังโยชน์ 3 สิ้นไป ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง)
     - เป็นผู้สิ้นสังโยชน์๕ (อนาคามี)
     - ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ (อรหันต์)
     - มรรค ๘ คือปฏิปทา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๘๓

๖. มหาลิสูตร

(1)
พราหมณทูตชาวโกศลรัฐและพราหมณทูตชาวมคธรัฐ เข้าเฝ้า

        [๒๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี.

        สมัยนั้น พราหมณทูตชาวโกศลรัฐ และ พราหมณทูตชาวมคธรัฐ มากด้วยกัน พักอยู่ ในเมืองเวสาลี ด้วยกิจธุระบางประการ. พราหมณทูต ๒ พวกนั้น ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี.

        เกียรติศัพท์อันงาม ของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้ เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้วทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้เบิกบาน แล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น

        ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญา อันยิ่ง ของ พระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์เทวดา และ มนุษย์ ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็น พระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล ดังนี้.

ครั้งนั้นแลพราหมณทูต ๒ พวกนั้นจึงเข้าไปยัง กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน.


(2)

เรื่องของพระนาคิตเถระ พุทธอุปัฏฐาก

        [๒๔๐] สมัยนั้นแล ท่านพระนาคิตเถระ เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคลำดับนั้นพวกพราหมณทูตชาวโกศลรัฐ และชาวมคธรัฐเข้าไปหาท่าน พระนาคิต เถระ แล้วถามท่านว่า ท่านนาคิต เวลานี้ท่านพระสมณโคดมประทับอยู่ ณ ที่ไหน พวกข้าพเจ้า ประสงค์จะเฝ้าพระองค์ท่าน.

        ท่านพระนาคิตเถระตอบว่า ท่านทั้งหลาย เวลานี้ยังไม่ควรจะเฝ้าพระผู้มี พระภาค เพราะพระองค์ ประทับหลีกเร้นอยู่. ลำดับนั้น พราหมณทูตเหล่านั้นจึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งที่พระวิหารนั้น ด้วยหวังว่าได้เฝ้าท่านพระสมณโคดมแล้ว จึงจะไป.



(3)
เรื่องของพระเจ้าลิจฉวี โอฏฐัทธะ

        [๒๔๑] ฝ่ายเจ้าโอฏฐัทธลิจฉวี พร้อมด้วยบริษัทลิจฉวีหมู่ใหญ่เข้าไปหาท่าน นาคิตเถระ ยังกูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน อภิวาทท่านพระนาคิตเถระแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วจึงถามท่านพระนาคิตเถระว่า ท่านนาคิต เวลานี้พระผู้มี พระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน พวกข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้า พระองค์ท่าน.

        ท่านพระนาคิตเถระตอบว่า มหาลีเวลานี้ยังไม่ควรจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพราะ พระองค์ ประทับ หลีกเร้นอยู่. เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวีจึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ที่วิหารนั้น ด้วยหวังว่าได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จึงจะไป.



(4)
เรื่องของสามเณรสีหะ

สุนักขัตตลิจฉวีบุตรถามพระผู้มีพระภาคว่า เสียงทิพย์มีจริงหรือไม่

        [๒๔๒] ครั้งนั้น สามเณรสีหะเข้าไปหาท่านพระนาคิต อภิวาทพระนา คิตเถระ แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วจึงถามท่านว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะ พวก พราหมณทูต มากด้วยกัน เข้ามาในที่นี้เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค.

        แม้เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวี พร้อมด้วยบริษัทลิจฉวีหมู่ใหญ่ ก็เข้ามาในที่นี้เพื่อจะเฝ้า พระผู้มีพระภาค ได้โปรดเถิดท่าน กัสสปะ ขอหมู่ชนนั้นจงได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค.

        พระเถระตอบว่า สีหะ ถ้าเช่นนั้น เธอนั่น แหละจงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเถิด สามเณรสีหะ รับคำพระนาคิตแล้วจึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วยืนอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

        ครั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณทูตชาวโกศลรัฐ และ พราหมณ์ทูต ชาวมคธรัฐมากด้วยกัน เข้ามาในที่นี้เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค แม้เจ้า โอฏฐัทธลิจฉวี พร้อมด้วยบริษัทลิจฉวีหมู่ใหญ่ก็เข้ามาในที่นี้ เพื่อจะเฝ้า พระผู้มี พระภาค ขอประทาน พระวโรกาสพระเจ้าข้า ขอหมู่ชนนั้นจงได้เฝ้าพระผู้มี พระภาค เถิด พระผู้มีพระภาคตรัส ตอบว่า

ดูกรสีหะ ถ้าเช่นนั้นเธอจงจัดอาสนะ ในร่มหลังวิหารเถิด.

        สามเณรสีหะทูลรับพระพุทธอาณัติแล้ว ไปจัดอาสนะในร่มหลังพระวิหาร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากพระวิหารแล้ว ไปประทับ ณ อาสนะที่สาม เณรสีหะ จัดไว้ในร่มหลังพระวิหาร.

        ลำดับนั้น พวกพราหมณทูตเหล่านั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึง ที่ประทับ ได้ปราศรัย กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

        [๒๔๓] ฝ่ายเจ้าโอฏฐัทธลิจฉวีพร้อมด้วยบริษัทลิจฉวีหมู่ใหญ่ ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง.

(สุนักขัตต สงสัยว่าทำไมมหาลีบวชได้ 3 ปี ก็เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก แต่ไม่ได้ยินเสียงทิพย์ จึงทูลถามพระศาสดา)

        ครั้นแล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อนๆ สุนักขัตตลิจฉวีบุตร เข้าไปหาข้าพระองค์แล้วบอกว่า มหาลี ตลอดเวลาที่ข้าพเจ้า อาศัย พระผู้มีพระภาค อยู่ไม่ทันถึง ๓ ปีข้าพเจ้าก็ได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารักประกอบ ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด แต่มิได้ยินเสียงทิพย์ อันไพเราะประกอบ ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ที่สุนักขัตตลิจฉวีบุตรไม่ได้ยิน นั้นมีอยู่ หรือไม่.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

        เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวีทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเล่าเป็นเหตุ เป็น ปัจจัย ที่มิให้สุนักขัตตลิจฉวีบุตร ได้ยินเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ที่มีอยู่ มิใช่ว่าไม่มีนั้น.

(5)

สมาธิที่บำเพ็ญเฉพาะส่วนเพื่อเห็นรูปทิพย์

        [๒๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิ เฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด พราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อัน น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ในทิศตะวันออก แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงเห็น แต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ในทิศตะวันออก มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ทั้งนี้ เพราะภิกษุนั้น เจริญสมาธิ เฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด.
(คำตอบคือ มหาลิ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน ไปในทิศตะวันออก แต่ไม่ได้เจริญสมาธิเพื่อฟัง เสียงทิพย์ จึงเห็นแต่รูปทิพย์เพียงส่วนเดียว)

        [๒๔๕] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูป ทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียง ทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะ เธอเจริญสมาธิ เฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด (เจริญสมาธิน้อมจิตไปในทิศใต้ ก็ทำนองเดียว)

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะ เธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อัน น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญเพื่อ ฟังเสียง ทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

        ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็น ที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะ เธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียง ทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็น เพราะ เธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบ ด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญ เพื่อฟัง เสียง ทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

        ภิกษุเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ในทิศเหนือ แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ แต่มิได้เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่ง ความ กำหนัด

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะ เธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อัน น่ารัก ประกอบ ด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือแต่มิได้เจริญเพื่อ ฟังเสียง ทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

        ภิกษุผู้เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัดใน ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้ เจริญเพื่อฟังเสียง ทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอ เจริญสมาธิเฉพาะ ส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศ เบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้ เจริญเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงเห็นแต่รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง มิได้ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร


        ดูกรมหาลี ข้อนั้น เป็นเพราะ เธอเจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบ ด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศ เบื้องขวาง แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

        [๒๔๖] ดูกรมหาลี ภิกษุ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบ ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก แต่มิได้เจริญ เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียง ทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก แต่มิได้เจริญ เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียง ทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออกมิได้เห็น รูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอ เจริญสมาธิ เฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบ ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันออก มิได้เจริญเพื่อเห็น รูปทิพย์ อันน่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

        [๒๔๗] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียง ทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้ เจริญ เพื่อเห็น รูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะ เธอเจริญสมาธิ เฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้น เป็นเพราะเธอ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์ อัน ไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ มิได้เจริญเพื่อ เห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

        ภิกษุ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงอันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ในทิศตะวันตก แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศ ตะวันตก มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศตะวันตก มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อัน ไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก มิได้เจริญ เพื่อเห็น รูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

        ภิกษุ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ แต่มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ใน ทิศเหนือ มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศเหนือ มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อัน ไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือมิได้เจริญเพื่อเห็น รูปทิพย์ อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

        ภิกษุ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้ เจริญ เพื่อเห็นรูป ทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะเธอ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง แต่มิได้ เจริญ เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เธอจึงฟังแต่เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง มิได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้น เป็นเพราะเธอ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศ เบื้องขวาง มิได้เจริญเพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(6)

เจริญสมาธิโดยส่วนสอง

การเห็นรูปทิพย์ การฟังเสียงทิพย์

        [๒๔๘] ดูกรมหาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูป ทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความ กำหนัด ในทิศ ตะวันออก เพราะเธอ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูป ทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟัง เสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ในทิศตะวันออกเธอ จึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อัน ไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศตะวันออก

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้น เป็นเพราะเธอ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อ ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศตะวันออก.

        [๒๔๙] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูป ทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ในทิศใต้ เพราะเธอ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อัน น่ารัก และเพื่อฟังเสียง ทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ เธอจึงเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้น เป็นเพราะเธอ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศใต้.

        ภิกษุ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียง ทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก เพราะเธอ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก เธอจึงเห็น รูปทิพย์ อันน่ารัก และฟังเสียง ทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ในทิศตะวันตก

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้น เป็นเพราะเธอ เจริญสมาธิ โดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อัน น่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศตะวันตก.

        ภิกษุ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียง ทิพย์ อันไพเราะประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ เพราะเธอ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์ อัน ไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดในทิศเหนือ เธอจึงเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อัน ไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศเหนือ

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้น เป็นเพราะเธอ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อ ฟังเสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ในทิศเหนือ.

        ภิกษุ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียง ทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศ เบื้องขวาง เพราะเธอ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูป ทิพย์ อันน่ารัก และเพื่อฟัง เสียงทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง ความ กำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวางเธอ จึงเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

        ดูกรมหาลี ข้อนั้น เป็นเพราะเธอ เจริญสมาธิ โดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์ อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง

        ดูกรมหาลี เหตุปัจจัยนี้แหละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย สุนักขัตตลิจฉวีบุตร จึงมิได้ ยินเสียง ทิพย์ อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ที่มีอยู่ มิใช่ ไม่มี.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


(7)
ธรรมอื่นที่ดีกว่า ปราณีตกว่า

มหาลิเข้ามาหาพระพุทธเจ้าเพื่อต้องการเห็นรูปทิพย์ และได้ยินเสียงทิพย์ แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีธรรมอื่นที่ดีกว่าปราณีตกว่า คือการได้เป็นโสดาบัน และสกทาคามี ข้ออื่นยังมีอีก คือเป็นผู้สิ้นสังโยชน์๕ (อนาคามี)ข้ออื่นยังมีอีก คือ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ (อรหันต์)

        [๒๕๐] โอ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายเห็นจะประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง ซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้นเท่านั้น.

        ภ. ดูกรมหาลี มิใช่ภิกษุทั้งหลาย จะประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำ ให้แจ้ง ซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้นเท่านั้น ดูกรมหาลี ธรรมเหล่าอื่นที่ภิกษุประพฤติ พรหมจรรย์ ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่า และประณีตกว่ายังมีอยู่
(ธรรมอื่นดีกว่า ปราณีตกว่าการเห็นรูปทิพย์และเสียงทิพย์ คือ การได้อริยยะบุคคล)

        โอ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มี พระภาค เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่านั้น เป็นไฉน?

        ภ. ดูกรมหาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ตกต่ำ เป็นธรรม เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสัญโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ดูกรมหาลี ธรรมนี้แล ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและ ประณีตกว่า (ดีกว่าการได้ความเป็นทิพย์)

        [๒๕๑] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงอีก ครั้งเดียว จะทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสัญโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบางไป ดูกรมหาลี แม้นี้ก็เป็นธรรมที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุ จะทำให้แจ้ง อันดีกว่า และประณีตกว่า(ดีกว่าการได้ความเป็นทิพย์)

        [๒๕๒] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุไปเกิดในภพสูง ปรินิพพานในภพนั้น ไม่ต้อง เวียนกลับมาจากโลกนั้น พราะสัญโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ หมด สิ้นไป ดูกรมหาลีแม้นี้ ก็เป็นธรรม ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำ ให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่า (ดีกว่าการได้ความเป็นทิพย์)

        [๒๕๓] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุ เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ดูกรมหาลี แม้นี้ก็เป็นธรรม ที่ภิกษุ ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่า และประณีตกว่า ดูกรมหาลีเหล่านี้ แล ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและ ประณีตกว่า (ดีกว่าการได้ความเป็นทิพย์)

        [๒๕๔] โอ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มรรคมีอยู่หรือ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งธรรม เหล่านั้นมีอยู่หรือ?

        ภ. ดูกรมหาลี มรรคมีอยู่ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่านั้นมีอยู่.
โอ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็มรรคเป็นไฉน ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่านั้น เป็นไฉน?

        ภ. มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงาน ชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ

        ดูกรมหาลี มรรคนี้ ปฏิปทานี้แหละ เพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่านั้น






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์