พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๖ - ๘๙
ทุติยปัณณาสก์
บุคคล ๒ จำพวก
[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล แก่ชน เป็น อันมากเพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
๒ จำพวก เป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
พระเจ้าจักรพรรดิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลของ ชนมากเพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชน เป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิด ขึ้น เป็นอัจฉริยมนุษย์ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
พระเจ้าจักรพรรดิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็น อัจฉริยมนุษย์
[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยา(การตาย) ของบุคคล ๒ จำพวกนี้ เป็นความ เดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก กาลกิริยาของบุคคล
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกนี้แลเป็นความเดือดร้อน แก่ชนเป็นอันมาก
[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล(ควรสร้างสถูป) ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉนคือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
พระเจ้าจักรพรรดิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๒จำพวกนี้แล
[๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้แล
[๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำพวกเป็นไฉนคือ พระภิกษุขีณาสพ ๑
ช้างอาชาไนย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง
[๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑
ม้าอาชาไนย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง
[๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
พระภิกษุขีณาสพ ๑
สีหมฤคราช ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้งฯ
[๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ จึงไม่พูดภาษามนุษย์ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการเป็นไฉน คือ
เราอย่าพูดเท็จ ๑
เราอย่าพูดตู่ผู้อื่นด้วยคำไม่จริง ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงไม่พูดภาษามนุษย์ฯ
[๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการ ทำกาลกิริยาธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ
การเสพเมถุนธรรม ๑
การคลอดบุตร ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายมาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการนี้แล ทำกาลกิริยา
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๖ - ๘๙
บุคคล ๒ จำพวก
[๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมของอสัตบุรุษ ๑ การอยู่ร่วมของสัตบุรุษ ๑ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การอยู่ร่วมของอสัตบุรุษเป็นอย่างไร และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วม อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุ ที่เป็นเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุ ที่เป็นนวกะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา
แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระ จะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้
แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้เห็นอยู่ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา แม้หากภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ จะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง
แม้เราเห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะ จะพึงว่า กล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็น ประโยชน์ ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้
แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะเห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่มัชฌิมะก็คิดอย่างนี้ ฯลฯ แม้ภิกษุที่นวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระ ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะ ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา
แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระ จะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเราเราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้
แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะเห็นอยู่ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ จะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึง ว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่เป็น ประโยชน์ ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้
แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะเห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมของอสัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วม เช่นนี้แลดูกรภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมของสัตบุรุษเป็นอย่างไร และสัตบุรุษย่อม อยู่ร่วม อย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษ ุที่เป็นเถระก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็น นวกะ ก็พึงว่ากล่าวเรา
แม้เราก็พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าภิกษุที่เป็นเถระ จะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้
แม้เราก็ไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่า กล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้
แม้เราก็ไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็คิดเช่นนี้ ฯลฯ แม้ภิกษุที่เป็นนวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็น เถระก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะ ก็พึงว่ากล่าวเรา เราก็พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเรา ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้
แม้เราก็ไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะ จะพึงว่า กล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมของสัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และสัตบุรุษย่อม อยู่ร่วม เช่นนี้
[๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด การด่าโต้ตอบกัน ความแข่งดีกัน เพราะทิฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบระงับไป ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักเป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็ง ร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใดแล การด่าโต้ตอบกัน ความแข่งดีกัน เพราะ ทิฐิความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับดีแล้ว ณ ภายในความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักไม่เป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็งร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุก
จบปุคคลวรรคที่ ๑
|