เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 พระเจ้าปเสนทิโกศล ถวายผ้าพาหิติกา ให้กับพระอานนท์ หลังได้สดับ สมาจาร ๓ 1373
 

(โดยย่อ)
ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา


พระเจ้าปเสนทิโกศล
1.พระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลถาม พระอานนท์ พระผู้มีพระภาค ทรงประพฤติ กายสมาจาร (ประพฤติดี) วจีสมาจาร มโนสมาจาร สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ติเตียนบ้างหรือหนอ.
2. อานนท์ตอบว่า สมาจารที่พระผู้มีพระภาคประพฤติ สมณพราหมณ์ทั้งหลายไม่ได้ติเตียนเลย ฯลฯ
3. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงชื่นชมภาษิตของท่าน พระอานนท์
4. พระเจ้าปเสนทิโกศล ถวายผ้าพาหิติกาให้กับพนะอานนท์
5. พระอานนท์กราบทูลให้พระผู้มีพระภาค ทรงทราบเรื่องที่สนทนากับพระเจ้าปเสนทิโกศล
6. พระผู้มีพระภาคตรัสกับ ภิกษุ ท.ว่า เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงได้ดีแล้วหนอ ที่ท้าวเธอ ได้เห็นอานนท์ และได้ประทับนั่งใกล้อานนท์

พระเจ้าปเสนทิโกศล ถามอานนท์
1. ก็กายสมาจาร ที่เป็นอกุศลเป็นไฉน?
อานนท์. กายสมาจาร ที่มีโทษแล เป็นอกุศล

2. ก็กายสมาจาร ที่มีโทษเป็นไฉน?
อ.กายสมาจาร ที่มีความเบียดเบียนแล เป็นกายสมาจาร ที่มีโทษ

3. ก็กายสมาจารที่ มีความเบียดเบียนเป็นไฉน?
อ. กายสมาจาร ที่มีทุกข์เป็นวิบากแล เป็นกายสมาจาร ที่มีความเบียดเบียน

4. ก็กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบากเป็นไฉน?
กายสมาจารใดแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียน ทั้ง ตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคล ผู้มีกายสมาจารนั้น กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อม
(ส่วนคำถาม วจีสมาจาร และมโนสมาจาร พระอานนท์ก็ตอบในทำนองเดียวกัน)

ฟังเสียงอ่านพระสูตร

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๓๗๖

๘. พาหิติยสูตร
ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา

        [๕๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังพระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาต ใน พระนคร สาวัตถี ภายหลังภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังบุพพารามณปราสาท ของ มิคารมารดา เพื่อพักกลางวัน.

    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสนทนาธรรมกับพระอานนท์

        [๕๕๐] ก็สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นประทับคอช้างชื่อว่า บุณฑริก เสด็จออกจากพระนครสาวัตถีในเวลากลางวัน. ได้ทอดพระเนตรเห็นท่าน พระอานนท์ กำลังมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสถามมหาอำมาตย์ชื่อ สิริวัฑฒะ ว่า ดูกรเพื่อน สิริวัฑฒะ นั่นท่านพระอานนท์หรือมิใช่? สิริวัฑฒมหาอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่ มหาราชา นั่นท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า.

        ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ตรัสเรียกบุรุษผู้หนึ่งมาตรัสว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไป จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วจงกราบเท้าทั้งสองของท่าน พระอานนท์ ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิ โกศลทรงกราบเท้าทั้งสอง ของท่านพระอานนท์ ด้วยพระเศียร และจงเรียน ท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ถ้าท่านพระอานนท์ ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอท่านพระอานนท์ จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด.

        บุรุษนั้นรับพระราชดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว ได้เข้าไปหาท่าน พระอานนท์ ถึงที่อยู่ อภิวาทท่านพระอานนท์แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

        ครั้นแล้ว ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญพระเจ้าปเสนทิ โกศล ทรงกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ ด้วยพระเศียร และรับสั่งมาว่า ได้ยินว่า ถ้าท่านพระอานนท์ ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอท่านพระอานนท์ จงอาศัย ความอนุเคราะห์ รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด ดังนี้. ท่านพระอานนท์ได้รับนิมนต์ด้วย ดุษณีภาพ.

        [๕๕๑] ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จพระราชดำเนินด้วยคชสาร ไปจน สุดทางที่ช้างจะไปได้ แล้วเสด็จลงจากคชสาร ทรงดำเนินเข้าไปหาท่าน พระอานนท์ ทรงอภิวาทแล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

        ครั้นแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านพระอานนท์ ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอโอกาสเถิด ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอานนท์ จงอาศัยความ อนุเคราะห์เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำ อจิรวดี เถิด.

        ท่านพระอานนท์ รับอาราธนาด้วยดุษณีภาพ. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้า ไปยัง ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี แล้วนั่งลงบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ณโคนไม้ต้นหนึ่ง. พระเจ้าปเสน ทิโกศลเสด็จพระราชดำเนิน ด้วยคชสารไปจนสุดทางที่ช้าง จะไป ได้แล้ว เสด็จลงทรงดำเนิน เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ทรงอภิวาทแล้วประทับ ยืน ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง.

        ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอโอกาสเถิด ขอนิมนต์ ท่านพระอานนท์ นั่งบนเครื่องลาดไม้เถิด ท่านพระอานนท์ อย่าเลย มหาบพิตร เชิญมหาบพิตรประทับนั่งเถิด อาตมภาพนั่ง บนอาสนะของอาตมภาพ แล้ว. พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงประทับนั่ง บนพระราชอาสน์ที่เขาแต่งตั้งไว้.


สมาจาร ๓

        [๕๕๒] ครั้นแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พึงทรงประพฤติกาย สมาจาร ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งพึงติเตียนบ้างหรือหนอ.
        ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า ดูกรมหาบพิตรพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ไม่พึงทรง ประพฤติกายสมาจาร ที่สมณพราหมณ์ ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พึงทรงประพฤติ วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจาร ที่สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งทั้งหลาย พึงติเตียนบ้างหรือ หนอ?
     อา. ดูกรมหาบพิตร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ไม่พึง ทรงประพฤติมโน สมาจาร ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวายพระพร.

        [๕๕๓] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมี มาแล้ว ก็เราทั้งหลาย ไม่สามารถจะยังข้อความที่ท่านพระอานนท์ ให้บริบูรณ์ ด้วยการแก้ปัญหา ให้บริบูรณ์ด้วยปัญหาได้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าใดเป็นพาล ไม่ฉลาด ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาแล้ว ก็ยังกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่นได้ เราทั้งหลาย ไม่ยึดถือการกล่าวคุณหรือโทษ ของชนเหล่านั้น โดยความเป็นแก่นสาร
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

        ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ส่วนชนเหล่าใดเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา ใคร่ครวญ พิจารณาแล้ว กล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่น เราทั้งหลาย ย่อมยึดถือ การกล่าวคุณ หรือโทษของชนเหล่านั้น โดยความเป็นแก่นสาร ข้าแต่ท่าน พระอานนท์ ผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน เป็นไฉน?

     อา. ดูกรมหาบพิตร กายสมาจารที่ เป็นอกุศลแล ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งพึงติเตียน ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจาร ที่เป็นอกุศลเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร กายสมาจาร ที่มีโทษแล เป็นอกุศล ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจาร ที่มีโทษเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร กายสมาจาร ที่มีความเบียดเบียนแล เป็นกายสมาจาร ที่มีโทษ ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่ มีความเบียดเบียนเป็นไฉน?
อา. ดูกรมหาบพิตร กายสมาจาร ที่มีทุกข์เป็นวิบากแล เป็นกายสมาจาร ที่มีความเบียดเบียน ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบากเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร กายสมาจารใดแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคล ผู้มีกายสมาจารนั้น กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อม ดูกรมหาบพิตร กายสมาจารเห็นปานนี้แล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ก็วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจารที่สมณ พราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจาร ที่เป็นอกุศลแล ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งพึงติเตียน ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจาร ที่เป็นอกุศลเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจาร ที่มีโทษแล เป็นอกุศล ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่มีโทษเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจาร ที่มีความเบียดเบียนแล เป็นมโนสมาจาร ที่มีโทษ ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจาร ที่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจาร ที่มีทุกข์เป็นวิบากแล เป็นมโนสมาจาร ที่มีความ เบียดเบียน ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบากเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจารใดแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคลผู้มีมโนสมาจารนั้น กุศลธรรมย่อมเสื่อม ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจาร เห็นปานนี้แล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียน ขอถวายพระพร.
-----------------------------------------------------------------------

        [๕๕๔] ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง สรรเสริญ การละอกุศลธรรม ทั้งปวงทีเดียวหรือหนอ?
     อา. ดูกรมหาบพิตร พระตถาคต ทรงละอกุศลธรรมได้ทั้งปวง ทรงประกอบด้วย กุศลธรรม ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็กายสมาจาร ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียนเป็นไฉน?
      อา. ดูกรมหาบพิตร กายสมาจารที่เป็นกุศลแล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่เป็นกุศลเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีโทษแล เป็นกุศล ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่ไม่มีโทษเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียนแล เป็นกายสมาจาร ที่ไม่มีโทษขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจาร ที่ไม่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร กายสมาจาร ที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นกายสมาจาร ที่ไม่มีความเบียด เบียนขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจาร ที่มีสุขเป็นวิบากเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร กายสมาจารใดแล ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียน ผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรม ทั้งหลาย ของบุคคลผู้มีกายสมาจารนั้น ย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญ ดูกรมหาบพิตร กายสมาจาร เห็นปานนี้แล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจาร ที่สมณ พราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน เป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจารเป็นกุศลแล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่เป็นกุศลเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจารที่ไม่มีโทษแล เป็นมโนสมาจารเป็นกุศล ขอถวาย พระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่ไม่มีโทษเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจาร ที่ไม่มีความเบียดเบียนแล เป็นมโนสมาจาร ที่ไม่มี โทษขอถวายพระพร.

      ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจาร ที่ไม่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจาร ที่มีสุขเป็นวิบากแล เป็นมโนสมาจารที่ไม่มีความ เบียดเบียน ขอถวายพระพร.

     ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจาร ที่มีสุขเป็นวิบากเป็นไฉน?
     อา. ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจารใดแล ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลาย ของบุคคลผู้มีมโนสมาจารนั้น ย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ ดูกรมหาบพิตร มโนสมาจารเห็นปานนี้แล สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร.

        [๕๕๕] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงสรรเสริญการ เข้าถึงกุศลธรรมทั้งปวงทีเดียวหรือหนอ?
     อ. ดูกรมหาบพิตร พระตถาคต ทรงละอกุศลธรรมได้ทั้งปวง ทรงประกอบด้วย กุศลธรรม ขอถวายพระพร.


พระเจ้าปเสนทิโกศลถวายผ้าพาหิติกา

        [๕๕๖] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมา แล้ว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระอานนท์กล่าวภาษิตนี้ดีเพียงใด เราทั้งหลายมีใจชื่นชม ยินดี เป็นอย่างยิ่ง ด้วยภาษิตของท่านพระอานนท์นี้

       ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลาย ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ด้วยภาษิตของท่านพระ อานนท์อย่างนี้ ถ้าว่า ช้างแก้วพึงควรแก่ ท่านพระอานนท์ไซร้ แม้ช้างแก้วเรา ทั้งหลาย ก็พึงถวายแก่ท่านพระอานนท์ ถ้าม้าแก้ว พึงควรแก่ท่านพระอานนท์ไซร้ แม้ม้าแก้วเราทั้งหลายก็พึงถวายแก่ท่าน พระอานนท์ ถ้าว่าบ้านส่วยพึงควรแก่ท่าน พระอานนท์ไซร้ แม้บ้านส่วยเราทั้งหลาย ก็พึงถวายแก่ท่านพระอานนท์ ก็แต่ว่าเรา ทั้งหลายรู้อยู่ว่า นั่นไม่สมควรแก่ ท่านพระอานนท์

       ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผ้าพาหิติกา ผืนนี้ โดยยาว ๑๖ ศอกถ้วน โดยกว้าง ๘ ศอกถ้วน พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหิบุตร ทรงใส่ใน คันฉัตร ส่งมาประทานแก่ข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญขอท่านพระอานนท์ โปรด อนุเคราะห์รับผ้าพาหิติกานั้นเถิด.

     อา. ดูกรมหาบพิตร อย่าเลย ไตรจีวรของอาตมภาพบริบูรณ์แล้ว ขอถวายพระพร.

        [๕๕๗] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม่น้ำอจิรวดีนี้ ท่านพระอานนท์และเรา ทั้งหลาย เห็นแล้ว เปรียบเหมือนมหาเมฆ ยังฝนให้ตกเบื้องบนภูเขา ภายหลังแม่น้ำ อจิรวดีนี้ ย่อมไหลล้นฝั่งทั้งสอง ฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำไตร จีวร ของตน ด้วยผ้าพาหิติกานี้ และจักแจกไตรจีวรเก่า กับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ทักษิณาของเราทั้งหลายนี้คงจักแพร่หลาย ไปดังแม่น้ำล้นฝั่งฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอานนท์โปรดรับผ้าพาหิติกาเถิด.

     ท่านพระอานนท์รับผ้าพาหิติกา ลำดับนั้นแล. พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสอำลา ท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ เราทั้งหลายขอลาไปบัดนี้ เราทั้งหลายมีกิจมาก มีกรณียะมาก.

       ท่านพระอานนท์ ถวายพระพรว่า ดูกรมหาบพิตร ขอมหาบพิตร ทรงทราบกาล อันควรในบัดนี้เถิด. ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงชื่นชมภาษิตของท่าน พระอานนท์แล้ว เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทท่านพระอานนท์ ทรงกระทำประทักษิณ แล้วเสด็จกลับไป.

        [๕๕๘] ลำดับนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จกลับไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล ถึงการเจรจาปราศรัย กับ พระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค และได้ทูลถวายผ้าพาหิติกา นั้น แด่พระผู้มีพระภาค.

     ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะ ภิกษุทั้งหลายว่า

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงได้ดีแล้วหนอ ที่ท้าวเธอ ได้เห็นอานนท์ และได้ประทับนั่งใกล้อานนท์.

     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

                  จบ พาหิติยสูตรที่ ๘




 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์