เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ธัมมัญญูสูตร ก็ภิกษุเป็น ปุคคลปโรปรัญญู อย่างไร 1351
 

(โดยย่อ)

ผู้มีธรรม ๗ ประการ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
๑) ธัมมัญญู รู้จักธรรม
๒) อัตถัญญู รู้จักอรรถ
๓) อัตตัญญู รู้จักตน
๔) มตตัญญู รู้จักประมาณ
๕) กาลัญญู รู้จักกาล
๖) ปริสัญญู รู้จักบริษัท
๗) ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือกคบคน

ก็ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักบุคคลโดย ส่วน ๒ คือ บุคคล ๒ จำพวก

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)
 

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓  หน้าที่ ๙๑

ธัมมัญญูสูตร

ฟังคลิป (ตั้งแต่นาทีที่ 1.06)

         [๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
๑) ธัมมัญญู รู้จักธรรม
๒) อัตถัญญู รู้จักอรรถ
๓) อัตตัญญู รู้จักตน
๔) มตตัญญู รู้จักประมาณ
๕) กาลัญญู รู้จักกาล
๖) ปริสัญญู รู้จักบริษัท  
๗) ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือกคบคน

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย

        ก็ภิกษุเป็น ธัมมัญญู อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ

หากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เราก็ไม่พึงเรียกว่า เป็นธัมมัญญู แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า เป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้

        ก็ภิกษุเป็น อัตถัญญู อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักเนื้อความแห่ง ภาษิต นั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความแห่งภาษิต นั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความ แห่งภาษิตนี้ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น อัตถัญญู แต่เพราะ ภิกษุรู้ เนื้อความ แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า เป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็น ธัมมัญญู อัตถัญญู ด้วยประการฉะนี้

        ก็ภิกษุเป็น อัตตัญญู อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มี ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่พึงรู้จักตนว่าเราเป็น ผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า เป็นอัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการ ฉะนี้

        ก็ภิกษุเป็น มัตตัญญู อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักประมาณในการรับ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จัก ประมาณ ในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็ไม่พึง เรียกว่า เป็นมัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จัก ประมาณในการรับจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า เป็นมัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้

        ก็ภิกษุเป็น กาลัญญู อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็น กาลเรียน นี้ เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น หากภิกษุไม่ พึงรู้จักกาล ว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถามนี้เป็นกาลประกอบ ความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จัก กาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาล หลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ด้วยประการฉะนี้

        ก็ภิกษุเป็น ปริสัญญู อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัท กษัตริย์ นี้บริษัท คฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหาอย่างนี้ พึงยืน อย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนั่งอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้ หากภิกษุไม่รู้จักบริษัทว่า นี้บริษัท กษัตริย์ ... พึงนิ่ง อย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญูแต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัท กษัตริย์ ... พึงนิ่ง อย่างนี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู ภิกษุเป็น ธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญูกาลัญญูปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้


ปุคคลปโรปรัญญู

        ก็ภิกษุเป็น ปุคคลปโรปรัญญู อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักบุคคล โดย ส่วน ๒ คือ บุคคล ๒ จำพวก คือ
(๑) พวกหนึ่งต้องการเห็นพระอริยะ
(๒) พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ

บุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ


บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ

(๑) พวกหนึ่งต้องการจะฟังสัทธรรม
(๒) พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม

บุคคลที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรม พึงถูกติเตียน ด้วยเหตุนั้นๆ
บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ


บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ
(๑) พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม
(๒) พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรม

บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม พึงได้รับความ สรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ


บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ
(๑) พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้
(๒) พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้

บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ ก็มี ๒ จำพวก คือ
(๑) พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
(๒) พวกหนึ่งไม่พิจารณา เนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้

บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงถูกติเตียน ด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ

บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ
(๑) พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
(๒) พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่

บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ ด้วย เหตุนั้นๆ

บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมก็มี ๒จำพวก คือ
(๑) พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ ของผู้อื่น
(๒) พวกหนึ่งปฏิบัติ ทั้งเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุ นั้นๆ บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงได้รับความ สรรเสริญ ด้วยเหตุนั้นๆ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ ฉะนี้แล ภิกษุเป็นบุคคล ปโรปรัญญู อย่างนี้แล

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

จบสูตรที่ ๔






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์