เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
  สีหสูตร คำว่า สีหะ นี้ เป็นชื่อแห่งพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า 1342
 

(โดยย่อ)

สีหมฤคราช ออกจากที่อาศัย ย่อมเหลียวดูทิศทั้ง ๔ ย่อมบันลือสีหนาทสามครั้ง เพราะคิดว่า อย่าให้สัตว์ตัวเล็กๆ ถูกฆ่าเลย.. คำว่า สีหะ นี้ เป็นชื่อแห่งพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ตถาคตบันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัทด้วยกำลังของตถาคต ๑๐ ประการ ดังนี้
(1) ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะ โดยเป็นอฐานะ ในโลกนี้
(2) ตถาคตย่อมรู้ชัด ซึ่งวิบากแห่งการยึดถือ การกระทำทั้งที่เป็น อดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ
(3) ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งปฏิปทา เครื่องให้ถึงประโยชน์ ทั้งปวง
(4) ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งโลก อันมีธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่างๆ
(5) ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มี อัธยาศัย ต่างๆกัน
(6) ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความหย่อน และยิ่งแห่งอินทรีย์ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น
(7) ตถาคตย่อมรู้ชัด ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่ง ฌานวิโมกข์ สมาธิ
(8) ตถาคตย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง
(9) ตถาคตย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
(10) ตถาคตกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้




เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๒

สีหสูตร

     [๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น สีหมฤคราช ย่อมออกจากที่อาศัย ครั้นแล้ว ย่อมเหยียด ดัดตัว ครั้นแล้ว ย่อมเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบครั้นแล้ว ย่อมบันลือ สีหนาทสามครั้ง ครั้นแล้ว ย่อมหลีกไปเพื่อหากิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมันคิดว่า เราอย่าได้ยังสัตว์ตัวเล็กๆ ผู้ไปในที่หากิน อันไม่สม่ำเสมอให้ถึงการ ถูกฆ่าเลย

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าสีหะ นี้แล เป็นชื่อแห่งพระตถาคต อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า

      ดูกรภิก
ษุทั้งหลาย การที่ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นสีหนาทของตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะของ ผู้เป็นโจกบันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท กำลังของตถาคตมี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน

     (1) ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะ โดยเป็นอฐานะ ในโลกนี้ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะ โดยเป็นอฐานะตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัย ปฏิญาณฐานะ ของผู้เป็นโจกบันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

     อีกประการหนึ่ง (2) ตถาคตย่อมรู้ชัด ซึ่งวิบากแห่งการยึดถือ การกระทำ ทั้งที่เป็น อดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งวิบากแห่งการ ยึดถือ การกระทำที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคต อาศัยปฏิญาณ ฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในบริษัท

     อีกประการหนึ่ง(3) ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งปฏิปทา เครื่องให้ถึงประโยชน์ ทั้งปวง ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งปฏิปทาเครื่องให้ถึง ประโยชน์ทั้งปวงตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณ ฐานะ ของ ผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในบริษัท

     อีกประการหนึ่ง (4) ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งโลก อันมีธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่างๆ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งโลกอันมีธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่างๆตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณ ฐานะของ ผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท

     อีกประการหนึ่ง (5) ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มี อัธยาศัย ต่างๆกัน ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความ ที่สัตว์ ทั้งหลาย เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กันตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัย ปฏิญาณ ฐานะ ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักร ในบริษัท

     อีกประการหนึ่ง (6) ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความหย่อน และยิ่งแห่งอินทรีย์ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัด ซึ่งความหย่อนและยิ่ง แห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

     อีกประการหนึ่ง (7) ตถาคตย่อมรู้ชัด ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่ง ฌานวิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลายตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌานวิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลายตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณ ฐานะ ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท

     อีกประการหนึ่ง(8) ตถาคตย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่ง บ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติ สามสิบ ชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอด สังวัฏกัปวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ๆ มีกำหนดอายุเพียง เท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตร อย่างนี้ มีผิวพรรณ อย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ๆ มีกำหนดอายุ เพียงเท่านี้ ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ ย่อมระลึก ถึงชาติก่อนได้ เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคต ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากคือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้ง อุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณฐานะ ของ ผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

     อีกประการหนึ่ง (9) ตถาคตย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว  ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรกส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฐิ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ตถาคตย่อมเห็นหมู่สัตว์ ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคต เห็นสัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ นี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัย ปฏิญาณ ฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท

     อีกประการหนึ่ง (10) ตถาคตกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แม้นี้ ก็เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยปฏิญาณ ฐานะของผู้เป็น โจก บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วย กำลังเหล่าใด ปฏิญาณฐานะ ของผู้เป็น โจก บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท กำลังของตถาคตเหล่านั้น ๑๐ ประการนี้แล

จบสีหสูตร

 


 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์