เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 วาทะของลัทธิต่างๆ ว่าด้วยความเห็นผิด ๕ ประการ ๓ หมวด(ปัญจัตตยสูตร) 1337
 

(โดยย่อ)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
มีสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีทิฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ย่อมปรารภขันธ์ ส่วนอนาคต กล่าวยืนยันบทแห่ง ความเชื่อมั่นหลายประการ คือ
   1.1 พวกหนึ่งกล่าวว่า อัตตาที่มีสัญญาเป็นของยั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป
   1.2 พวกหนึ่งกล่าวว่า อัตตาที่ไม่มีสัญญาเป็นของยั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป
   1.3 พวกหนึ่งกล่าวว่า อัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป
   1.4  พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่
   1.5 พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน

เป็นอันว่าสมณพราหมณ์
ย่อมบัญญัติอัตตา ที่มีอยู่ว่ายั่งยืน
เบื้องหน้าแต่ตายไป พวกหนึ่ง
บัญญัติความขาดศูนย์ ความพินาศ
ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่ พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน อีกพวกหนึ่ง

รวมบทแห่งความเชื่อมั่นเหล่านี้
เป็น ๕ บท แล้ว เป็น ๓ บท เป็น ๓ ขยายเป็น ๕ นี้ อุเทศของบทห้า ๓ หมวด ของความเชื่อมั่น

คลิปเสียงอ่านพระสูตร (ฉบับมหาจุฬา)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ [มหาจุฬาฯ] หน้าที่ ๒๘-๔๓.


๒. ปัญจัตตยสูตร
ว่าด้วยความเห็นผิด ๕ ประการ ๓ หมวด

วาทะเกี่ยวกับขันธ์ ส่วนอนาคต


            [๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่ง เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า

             ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
- กำหนดขันธ์ (สรรพสิ่ง) ส่วนอนาคต
- มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ ส่วนอนาคต
- ปรารภขันธ์ ส่วนอนาคต

             ประกาศวาทะ แสดงทิฏฐิต่างๆ คือ

            (1) สมณพราหมณ์พวกหนึ่งประกาศอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว‘
(
ทิฏฐินี้เรียกว่า สัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้ว อัตตามีสัญญา) มี ๑๖ ลัทธิ)

            (2) สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ประกาศอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่ไม่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว‘
(
ทิฏฐินี้เรียกว่า อสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้ว อัตตาไม่มีสัญญา) มี ๘ ลัทธิ )

             (3) สมณพราหมณ์พวกหนึ่งประกาศอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ยั่งยืนหลังจากตายแล้ว‘
(
ทิฏฐินี้เรียกว่า เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้ว อัตตามีสัญญา ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) มี ๘ ลัทธิ )

             (4) สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้น ของสัตว์ที่มีอยู่
(ทิฏฐินี้เรียกว่า อุจเฉทวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้ว อัตตาขาดสูญ) มี ๗ ลัทธิ )

              (5) สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติ นิพพานในปัจจุบัน

              รวมความว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติอัตตาที่มีอยู่ว่ายั่งยืน หลังจากตายแล้วบ้าง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้นของสัตว์ ที่มีอยู่บ้าง บัญญัตินิพพานในปัจจุบันบ้าง
ทิฏฐินี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (ลัทธิที่ถือว่ามีสภาพบางอย่างเป็นนิพพาน ในปัจจุบัน) มี ๕ ลัทธิ

             วาทะแสดงทิฏฐิเหล่านี้ ขยายเป็น ๕ ประการแล้ว ย่อเป็น ๓ ประการ ย่อเป็น ๓ ประการแล้ว ขยายเป็น ๕ ประการ ดังนี้แล นี้เป็นอุทเทสของวาทะ แสดงทิฏฐิ ๕ ประการ ๓ หมวด
----------------------------------------------------------------------------------------

สัญญีวาทะ หมวดละ ๘

             [๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ในสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืน หลังจากตายแล้ว คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๒. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๓. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๔. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๕. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาอย่างเดียวกันว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๖. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาต่างกันว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๗. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาเล็กน้อยว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๘. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาหาประมาณมิได้ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง


             แต่มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันวิญญาณกสิณ ของอัตตา ที่มี สัญญาเหล่านี้ ซึ่งล่วงไปแล้วนั่นว่า หาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหว ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้น เป็นอย่างดี

             สมณพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ว่ายั่งยืน หลังจากตายแล้ว คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๒. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๓. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๔. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๕. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาอย่างเดียวกันว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๖. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาต่างกันว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๗. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาเล็กน้อยว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๘. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาหาประมาณมิได้ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง

             ส่วนสัญญาที่บริสุทธิ์ยอดเยี่ยม เขากล่าวว่า ‘ล้ำเลิศ’ ไม่มีสัญญาอื่น ยิ่งกว่าสัญญาเหล่านี้ ทั้งที่เป็นสัญญาในรูป ทั้งที่เป็นสัญญาในอรูป ทั้งที่เป็นสัญญา อย่างเดียวกัน ทั้งที่เป็นสัญญาต่างกัน สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยัน อากิญ จัญญายตนะหาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหวว่า ‘ไม่มีอะไร’

             สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับ ของสิ่งที่ถูก ปัจจัย ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

อสัญญีวาทะ หมวดละ ๔

             [๒๓] ภิกษุทั้งหลาย ในอสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืน หลังจากตายแล้ว คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๒. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา ไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๓. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจาก  ตายแล้วบ้าง
๔. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง

             ภิกษุทั้งหลาย ในอสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีอสัญญีวาทะ พวกหนึ่งคัดค้านสมณพราหมณ์ พวกที่บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืน หลังจากตาย แล้วเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร

             เพราะสัญญาเป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร ความไม่มีสัญญานี้แล สงบ ประณีต ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี

             สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บัญญัติอัตตา ที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืน หลังจากตายแล้ว คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๒. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา ไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๓. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๔. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง

             ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ ที่สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จะพึง กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมาหรือการไป การจุติหรือการเกิด ความเจริญความ งอกงาม หรือความไพบูลย์ เว้นรูป เว้นเวทนา เว้นสัญญา เว้นสังขารเว้นวิญญาณ’

เป็นไปไม่ได้ หมายถึงปฏิเสธฐานะ(เหตุ) และปฏิเสธโอกาส(ปัจจัย) ที่ให้เป็นไปได้

             สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูก ปัจจัยปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด สิ่งที่ถูก ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้ เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ หมวดละ ๔

             [๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ในเนวสัญญีนาสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ว่ายั่งยืน หลังจากตายแล้ว คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ซึ่งมีรูปว่ายั่งยืน หลังจากตาย แล้วบ้าง

๒. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ซึ่งไม่มีรูปว่ายั่งยืน หลังจาก ตาย แล้วบ้าง

๓. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปว่ายั่งยืน หลังจากตายแล้วบ้าง

๔. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ว่า ยั่งยืน หลังจากตายแล้วบ้าง

             ในเนวสัญญีนาสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์ ผู้มีเนวสัญญีนาสัญญี วาทะ พวกหนึ่งคัดค้านสมณพราหมณ์ พวกที่บัญญัติอัตตา ที่มีสัญญาว่ายั่งยืน หลังจากตายแล้วเหล่านั้น คัดค้านแม้สมณพราหมณ์ พวกที่บัญญัติอัตตาที่ไม่มี สัญญา ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร

             เพราะสัญญาเป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร ความไม่มีสัญญา เป็นความหลง ความมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่นี้แล สงบ ประณีต ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี

             สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ว่ายั่งยืน หลังจากตายแล้ว คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ ซึ่งมีรูปว่ายั่งยืน หลังจากตาย แล้วบ้าง
๒. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่
ซึ่งไม่มีรูปว่ายั่งยืน หลังจากตาย แล้วบ้าง
๓. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่
ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปว่ายั่งยืน หลังจากตาย แล้วบ้าง
๔. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่
มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืน หลัง จากตายแล้วบ้าง

             ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บัญญัติการเข้าถึง อายตนะ นี้ ด้วยเหตุเพียงสิ่งที่พึงรู้แจ้ง โดยได้เห็นได้ยิน และได้ทราบสังขาร การบัญญัติของสมณ ะหรือพราหมณ์เช่นนี้ เขากล่าวว่าเป็นความพินาศ ของการ เข้าถึง อายตนะนี้ความจริงอายตนะนี้ บัณฑิตไม่กล่าวว่าพึงบรรลุด้วยการมีสังขาร แต่ท่านกล่าวว่าอายตนะนี้ พึงบรรลุด้วยการมีสังขาร ที่เหลือ

สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นั้น จึงล่วงพ้น สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้
-----------------------------------------------------
๑ อายตนะ ในที่นี้หมายถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
๒ สิ่งที่พึงรู้แจ้ง ในที่นี้หมายถึงสัญญาที่รู้แจ้งได้ทางทวาร ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
๓ สังขาร ในที่นี้หมายถึงสังขารที่หยาบ
๔ สังขารที่เหลือ หมายถึงสังขารที่ละเอียดกว่าสังขารที่กล่าวมาข้างต้น

-----------------------------------------------------


อุจเฉทวาทะ

             [๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ในอุจเฉทวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้นของสัตว์ที่มีอยู่

             ในอุจเฉทวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีอุจเฉทวาทะ พวกหนึ่งคัดค้าน สมณพราหมณ์ พวกที่บัญญัติอัตตา ที่มีสัญญาว่ายั่งยืน หลังจากตายแล้วเหล่านั้น คัดค้านแม้สมณพราหมณ์ พวกที่บัญญัติอัตตา ที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตาย แล้วเหล่านั้น คัดค้านแม้สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา ก็มิใช่ว่ายั่งยืน หลังจากตายแล้วเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร

             เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมถือการเวียนว่ายในชาติหน้า กล่าวยืนยันความหวังอย่างเดียวว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้’

             พ่อค้าไปค้าขายย่อมมีความหวังอย่างนี้ว่า ‘เราจักมีกำไรจากการค้าเท่านี้ เพราะการค้าขายเที่ยวนี้ เราจักได้กำไรเท่านี้’ ฉันใด สมณพราหมณ์เหล่านี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นจะหวังกำไรกลับคืนเหมือนพ่อค้าว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้’ ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้ นั้น เป็นอย่างดี

             สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้น ของสัตว์ที่มีอยู่ เป็นผู้กลัวสักกายะ รังเกียจสักกายะ วนเวียนไป ตามสักกายะ อยู่นั่นเอง
สักกายะ แปลว่า กายของตน มีความหมายหลายนัย คือ หมายถึงขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น ซึ่งมีอยู่โดยสภาวะ

             เปรียบเหมือนสุนัขที่เขาใช้โซ่ล่ามผูกไว้ที่เสา หรือที่หลักอย่างมั่นคง ย่อมวิ่งวนเสาหรือหลักนั่นเอง ฉันใด สมณพราหมณ์เหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้กลัวสักกายะ รังเกียจสักกายะ วนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่นเอง

             สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูก ปัจจัยปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

             [๒๖] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนด ขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ หลายประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ ๕ ประการนี้เท่านั้น หรือประกาศส่วนใดส่วนหนึ่ง ของวาทะแสดงทิฏฐิต่างๆ ๕ ประการนี้

วาทะแสดงทิฏฐิเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอดีต ๑๖

             [๒๗] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วน อดีต ประกาศวาทะแสดง ทิฏฐิ ต่างๆ คือ

๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยงนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง‘

๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกไม่เที่ยงนี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’

๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทั้งเที่ยงและ ไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๔. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยง ก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๕. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีที่สุดนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๖. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้น จริง อย่างอื่นไม่จริง’

๗. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทั้งที่สุด และไม่มี ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๘. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีก็มิใช่ ไม่มีที่สุด ก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๙. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีสัญญา อย่าง เดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๑๐. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีสัญญาต่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๑๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีสัญญาเล็กน้อย นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๑๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีสัญญา หา ประมาณมิได้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๑๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีสุขอย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๑๔. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทุกข์อย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๑๕. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

๑๖. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทุกข์ก็มิใช่ มีสุข ก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’


             [๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ในวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ซึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปไม่ได้เลย ที่ญาณเฉพาะตน- อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งเป็นธรรมอื่น จากความเชื่อ อื่นจากความชอบใจ อื่นจากการฟังตามกันมา อื่นจากการตรึก ตามอาการ อื่นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้ จักมีแก่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตนอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือเพียงส่วนแห่งความรู้ เท่านั้นในเรื่องนั้น แม้ส่วนแห่งความรู้นั้น บัณฑิตกล่าวว่าเป็นอุปาทาน ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น

ญาณเฉพาะตน หมายถึงความรู้ประจักษ์หรือความรู้แจ้งเฉพาะตน ในที่นี้หมายถึง วิปัสสนาญาณ

             สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่ง ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้น สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

             [๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ในวาทะเหล่านั้นสมณพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ซึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
... ‘อัตตาและโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น ไม่จริง’
... ‘อัตตาและโลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาต่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาเล็กน้อย นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาหาประมาณมิได้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่ จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสุขอย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีทุกข์อย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ

             สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทุกข์ก็มิใช่ มีสุขก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปไม่ได้ ที่ญาณ เฉพาะตนอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งเป็นธรรมอื่นจากความเชื่อ อื่นจาก ความ ชอบใจอื่น จากการฟังตามกันมา อื่นจากการตรึกตามอาการ อื่นจากการเข้าได้ กับทฤษฎีที่พินิจไว้ จักมีแก่สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้

             ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตน อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง สมณพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมยึดถือเพียงส่วนแห่งความรู้เท่านั้นในเรื่องนั้น แม้ส่วนแห่งความรู้นั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นอุปาทานของสมณพราหมณ์เหล่านั้น

             สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูก ปัจจัยปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด สิ่งที่ถูก ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้วาทะ ของพระพุทธองค์

             [๓๐] ภิกษุทั้งหลาย เพราะกามสังโยชน์๑- ตั้งอยู่ไม่ได้โดยประการ ทั้งปวง เพราะสละคืนทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละคืนทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ ส่วนอนาคตได้ สมณะหรือพราหมณ์ บางคนในโลกนี้ จึงเข้าถึง ปีติอันเกิดจากวิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า ‘การที่เราเข้าถึงปีติอันเกิดจากวิเวกอยู่นี้แล สงบ ประณีต’ ปีติอันเกิดจากวิเวกนั้น ของเธอย่อมดับไป เพราะปีติอันเกิดจากวิเวก ดับไป โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะโทมนัสดับไป ปีติอันเกิดจากวิเวกจึงเกิดขึ้น

             เงาละที่ใดไป แดดก็แผ่ไปถึงที่นั้น แดดละที่ใดไป เงาก็ปกคลุม ไปถึง ที่นั้น แม้ฉันใด เพราะปีติอันเกิดจากวิเวกดับไป โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะโทมนัส ดับไป ปีติ อันเกิดจากวิเวก จึงเกิดขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน

             ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี เพราะกามสังโยชน์ ตั้งอยู่ ไม่ได้ โดยประการทั้งปวง เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะ สละคืน ทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตได้ สมณะหรือพราหมณ์นี้ จึงเข้าถึงปีติ อันเกิดจากวิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า ‘การที่เราเข้าถึงปีติ อันเกิดจากวิเวก อยู่นี้แล สงบ ประณีต’ ปีติอันเกิดจากวิเวกนั้น ของเธอย่อมดับไป เพราะปีติอันเกิดจาก วิเวกดับไป โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะโทมนัสดับไป ปีติอันเกิดจากวิเวกจึงเกิดขึ้น

             สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่ง ที่ถูก ปัจจัย ปรุงแต่ง ก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด สิ่งที่ ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

             [๓๑] ภิกษุทั้งหลาย เพราะกามสังโยชน์ ตั้งอยู่ไม่ได้โดยประการทั้งปวง เพราะสละคืน ทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละคืนทิฏฐิ อันคล้อยตาม ขันธ์ ส่วนอนาคต เพราะก้าวล่วงปีติ อันเกิดจากวิเวกได้ สมณะหรือ พราหมณ์บางคน ในโลกนี้ จึงเข้าถึงสุขอันปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่า ‘การที่เรา เข้าถึงสุข อัน ปราศจากอามิสอยู่นี้แล สงบ ประณีต’ สุขอันปราศจากอามิสนั้น ของเธอย่อมดับไป เพราะสุข อันปราศจากอามิสดับไป ปีติอันเกิดจากวิเวกจึงเกิดขึ้น เพราะปีติ อันเกิดจาก วิเวกดับไป สุขอันปราศจากอามิสจึงเกิดขึ้น

             เงาละที่ใดไป แดดก็แผ่ไปถึงที่นั้น แดดละที่ใดไป เงาก็ปกคลุมไปถึง ที่นั้น แม้ฉันใด เพราะสุขอันปราศจากอามิสดับไป ปีติอันเกิดจากวิเวกจึงเกิดขึ้น เพราะปีติอันเกิดจากวิเวก ดับไป สุขอันปราศจากอามิสจึงเกิดขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน

             ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี เพราะกามสังโยชน์ตั้งอยู่ ไม่ได้ โดยประการทั้งปวง เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะ สละคืน ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต เพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจากวิเวกได้ สมณะ หรือพราหมณ์นี้ จึงเข้าถึงสุขอันปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่า ‘การที่เรา เข้าถึงสุข อันปราศจากอามิสอยู่นี้แล สงบ ประณีต’ สุขอันปราศจากอามิสนั้น ของเธอย่อม ดับไป เพราะสุขอันปราศจากอามิสดับไป ปีติอันเกิดจากวิเวกจึงเกิดขึ้น เพราะปีติอัน เกิดจากวิเวกดับไป สุขอันปราศจากอามิสจึงเกิดขึ้น

             สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง ก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

             [๓๒] ภิกษุทั้งหลาย เพราะกามสังโยชน์ตั้งอยู่ไม่ได้โดยประการทั้งปวง เพราะสละคืนทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละคืนทิฏฐิ อันคล้อยตาม ขันธ์ส่วนอนาคต เพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจากวิเวก เพราะก้าวล่วงสุขอันปราศจาก อามิสได้ สมณะ หรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ จึงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนา อยู่ด้วย สำคัญว่า ‘การที่เราเข้าถึง อทุกขมสุขเวทนาอยู่นี้แล สงบ ประณีต’ อทุกขมสุข เวทนา นั้น ของเธอย่อมดับไป เพราะอทุกขมสุขเวทนา ดับไป สุขอันปราศจากอามิส จึงเกิดขึ้น เพราะสุขอันปราศจาก อามิสดับไป อทุกขมสุขเวทนา จึงเกิดขึ้น

             เงาละที่ใดไป แดดก็แผ่ไปถึงที่นั้น แดดละที่ใดไป เงาก็ปกคลุม ไปถึง ที่นั้นแม้ฉันใด เพราะอทุกขมสุขเวทนาดับไป สุขอันปราศจากอามิสจึงเกิดขึ้น เพราะ สุขอันปราศจากอามิส ดับไป อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน

             ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี เพราะกามสังโยชน์ ตั้งอยู่ ไม่ได้ โดยประการทั้งปวง เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะ สละคืนทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ ส่วนอนาคตได้ เพราะก้าวล่วงปีติ อันเกิดจากวิเวก เพราะก้าวล่วงสุข อันปราศจากอามิสได้ สมณะหรือพราหมณ์นี้ จึงเข้าถึงอทุกขมสุข-เวทนาอยู่ ด้วยสำคัญว่า ‘การที่เราเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนา อยู่นี้แล สงบ ประณีต’ อทุกขม-สุขเวทนานั้นของเธอ ย่อมดับไป เพราะ อทุกขมสุขเวทนา ดับไป สุข อันปราศจากอามิสจึงเกิดขึ้น เพราะสุข อันปราศจาก อามิส ดับไป อทุกขมสุข เวทนาจึงเกิดขึ้น   สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า 'ความดับนี้มีอยู่' เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัด สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้น สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้


             [๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เพราะกามสังโยชน์ ตั้งอยู่ไม่ได้โดยประการ ทั้งปวง เพราะสละคืน ทิฏฐิ อันคล้อยตาม ขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละคืนทิฏฐิ อันคล้อย ตามขันธ์ส่วนอนาคต เพราะก้าวล่วง ปีติอันเกิดจากวิเวก เพราะก้าวล่วงสุข อัน ปราศจากอามิส เพราะก้าวล่วง อทุกขมสุขเวทนาได้ สมณะ หรือพราหมณ์ บางคน ในโลกนี้ จึงพิจารณาเห็นว่า 'เราเป็นผู้สงบระงับ เป็นผู้ดับ เป็นผู้ไม่มี อุปาทาน'

             ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี เพราะกามสังโยชน์ตั้งอยู่ ไม่ได้ โดยประการ ทั้งปวง เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะ สละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ ส่วนอนาคต เพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจากวิเวก เพราะก้าวล่วงสุขอันปราศจากอามิส เพราะก้าวล่วง อทุกขมสุขเวทนาได้ สมณะหรือ พราหมณ์นี้ จึงพิจารณาเห็นว่า 'เราเป็นผู้สงบระงับ เป็นผู้ดับ เป็นผู้ ไม่มี อุปาทาน' นี้แล ท่านผู้นี้ย่อมกล่าวยืนยันปฏิปทา ที่เอื้ออำนวยให้ถึงนิพพานอย่างเดียว โดยแท้ แต่สมณะหรือพราหมณ์นี้ เมื่อยังถือมั่นทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ก็ชื่อว่ายัง ถือมั่นอยู่ เมื่อถือมั่น ทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ เมื่อถือมั่น กามสังโยชน์ ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ เมื่อถือมั่นปีติอันเกิดจากวิเวก ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ เมื่อถือมั่นสุขอันปราศจากอามิส ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่น อทุกขม สุขเวทนา ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ แม้ข้อที่ท่านผู้นี้พิจารณาเห็นว่า 'เราเป็นผู้ สงบ ระงับ เป็นผู้ดับ เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน' นั้น บัณฑิตเรียกว่าอุปาทาน ของ สมณพราหมณ์นี้

             สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับ ของสิ่งที่ถูก ปัจจัยปรุงแต่ง ก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า 'ความดับนี้มีอยู่' เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่ง ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูก ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้     

๓. กินติสูตร

             ภิกษุทั้งหลาย ก็สันติวรบท (บทอันประเสริฐสงบ) ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคตรู้แล้วนี้ คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่อง สลัด ออก จากผัสสายตนะ ๖ ๑- ตามความเป็นจริง แล้วจึงหลุดพ้นได้เพราะไม่ถือมั่น สันติวรบท ที่ตถาคตรู้แล้วนี้นั้น คือ ความรู้ เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบาย เป็นเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง แล้วจึงหลุดพ้นได้เพราะ ไม่ถือมั่น‘๒-

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชม พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ปัญจัตตยสูตรที่ ๒ จบ

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์