เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ธรรม มีอย่างละ ๗ อย่าง 1334
 

(โดยย่อ)

ธรรม มีอย่างละ ๗ อย่าง
1. อริยทรัพย์ ๗ อย่าง
2. โพชฌงค์ ๗ อย่าง
3. บริขารของสมาธิ ๗ อย่าง
4. อสัทธรรม ๗ อย่าง
5. สัทธรรม ๗ อย่าง
6. สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง
7. นิทเทสวัตถุ ๗ อย่าง
8. สัญญา ๗ อย่าง
9. พละ ๗ อย่าง
10. วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง
11. ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง
12. อนุสัย ๗ อย่าง
13. สัญโญชน์ ๗ อย่าง
14. อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๒๐

หมวด ๗

            ธรรมมีประเภทละ ๗ ๆ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต สัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ไม่พึงแก่งแย่งกัน ในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ พึง ยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุข แก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย

อริยทรัพย์ ๗ อย่าง

๑. สัทธาธนัง                [ทรัพย์คือศรัทธา]
๒. สีลธนัง                   [ทรัพย์คือศีล]
๓. หิริธนัง                    [ทรัพย์คือหิริ]
๔. โอตตัปปธนัง            [ทรัพย์คือโอตตัปปะ]
๕. สุตธนัง                   [ทรัพย์คือสุตะ]
๖. จาคธนัง                  [ทรัพย์คือจาคะ]
๗. ปัญญาธนัง             [ทรัพย์คือปัญญา]

โพชฌงค์ ๗ อย่าง
๑. สติสัมโพชฌงค์         [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความระลึกได้]
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์   [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือการสอดส่องธรรม]
๓. วิริยสัมโพชฌงค์        [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความเพียร]
๔. ปีติสัมโพชฌงค์        [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความอิ่มใจ]
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์   [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความสงบ]
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์       [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความตั้งใจมั่น]
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์    [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือ ความวางเฉย]

บริขารของสมาธิ ๗ อย่าง
๑. สัมมาทิฏฐิ               [ความเห็นชอบ]
๒. สัมมาสังกัปปะ         [ความดำริชอบ]
๓. สัมมาวาจา              [เจรจาชอบ]
๔. สัมมากัมมันตะ         [การงานชอบ]
๕. สัมมาอาชีวะ            [เลี้ยงชีวิตชอบ]
๖. สัมมาวายามะ           [พยายามชอบ]
๗. สัมมาสติ                 [ระลึกชอบ]

อสัทธรรม ๗ อย่าง
๑. เป็นคนไม่มีศรัทธา
๒. เป็นคนไม่มีหิริ
๓. เป็นคนไม่มีโอตตัปปะ
๔. เป็นคนมีสุตะน้อย
๕. เป็นคนเกียจคร้าน
๖. เป็นคนมีสติหลงลืม
๗. เป็นคนมีปัญญาทราม

สัทธรรม ๗ อย่าง
๑. เป็นคนมีศรัทธา ๒. เป็นคนมีหิริ
๓. เป็นคนมีโอตตัปปะ
๔. เป็นคนมีพหูสูต
๕. เป็นคนปรารภความเพียร
๖. เป็นคนมีสติมั่นคง
๗. เป็นคนมีปัญญา

สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้รู้จักเหตุ
๒. เป็นผู้รู้จักผล
๓. เป็นผู้รู้จักตน
๔. เป็นผู้รู้จักประมาณ
๕. เป็นผู้รู้จักกาล
๖. เป็นผู้รู้จักบริษัท
๗. เป็นผู้รู้จักบุคคล

นิทเทสวัตถุ ๗ อย่าง
๑. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรัก ในการสมาทาน สิกขาต่อไปด้วย

๒. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการไตร่ตรองธรรม ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรัก ในการไตร่ตรองธรรม ต่อไปด้วย

๓. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปราบปรามความอยาก ทั้งเป็นผู้ไม่หมด ความรัก ในการปราบปราม ความอยากต่อไปด้วย

๔. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเร้นอยู่ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรัก ในการ เร้นอยู่ต่อไปด้วย

๕. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร ทั้งเป็นผู้ไม่หมด ความรัก ในการปรารภ ความเพียรต่อไปด้วย

๖. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้งเป็นผู้ ไม่หมดความรักในสติ และปัญญา เครื่องรักษาตนต่อไปด้วย

๗. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฐิ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรัก ในการแทงตลอด ซึ่งทิฐิต่อไปด้วย

สัญญา ๗ อย่าง

๑. อนิจจสัญญา          [กำหนดหมายความไม่เที่ยง]
๒. อนัตตสัญญา           [กำหนดหมายเป็นอนัตตา]
๓. อสุภสัญญา            [กำหนดหมายความไม่งาม]
๔. อาทีนวสัญญา          [กำหนดหมายโทษ]
๕. ปหานสัญญา           [กำหนดหมายเพื่อละ]
๖. วิราคสัญญา             [กำหนดหมายวิราคะ]
๗. นิโรธสัญญา            [กำหนดหมายนิโรธ]


พละ ๗ อย่าง

๑. สัทธาพละ               [กำลังคือศรัทธา]
๒. วิริยพละ                  [กำลังคือความเพียร]
๓. หิริพละ                   [กำลังคือหิริ]
๔. โอตตัปปพละ          [กำลังคือโอตตัปปะ]
๕. สติพละ                   [กำลังคือสติ]
๖. สมาธิพละ                [กำลังคือสมาธิ]
๗. ปัญญาพละ            [กำลังคือปัญญา]

วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น  พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อที่หนึ่ง

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้นับเนื่อง ในพวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณฐิติข้อที่สอง

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่า อาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียว กันเช่นพวกเทพ เหล่าสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่ งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติ ข้อที่ห้า

๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่ง ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการ ทั้งปวงแล้ว เข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้วิญญาณฐิติ ข้อที่หก

๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่ง ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการ ทั้งปวงแล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณฐิติ ข้อที่เจ็ด

ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง
๑. อุภโตภาควิมุตต       [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้งสอง]
๒. ปัญญาวิมุตต          [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญา]
๓. กายสักขิ                 [ท่านผู้สามารถด้วยกาย]
๔. ทิฏฐิปัตต                [ท่านผู้ถึงแล้วด้วยความเห็น]
๕. สัทธาวิมุตต             [ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธา]
๖. ธัมมานุสารี              [ท่านผู้ประพฤติตามธรรม]
๗. สัทธานุสารี             [ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา]

อนุสัย ๗ อย่าง
๑. กามราคานุสัย          [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในกาม]
๒. ปฏิฆานุสัย              [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกระทบกระทั่ง
แห่งจิต] ๓. ทิฏฐานุสัย     [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความเห็น]
๔. วิจิกิจฉานุสัย           [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความสงสัย]
๕. มานานุสัย               [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความถือตัว]
๖. ภวราคานุสัย            [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ]
๗. อวิชชานุสัย             [สภาพที่นอนเนื่องในดันดานคือความไม่รู้]

สัญโญชน์ ๗ อย่าง
๑. กามสัญโญชน์         [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความใคร่]
๒. ปฏิฆสัญโญชน์         [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต]
๓. ทิฏฐิสัญโญชน์         [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความเห็น]
๔. วิจิกิจฉาสัญโญชน์    [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความสงสัย]
๕. มานสัญโญชน์         [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความถือตัว]
๖. ภวราคสัญโญชน์      [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกำหนัดในภพ]
๗. อวิชชาสัญโญชน์      [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความไม่รู้]

อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง
เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว
๑. พึงให้สัมมุขาวินัย
๒. พึงให้สติวินัย
๓. พึงให้อมุฬหวินัย
๔. พึงปรับตามปฏิญญา
๕. พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. พึงปรับตามความผิดของจำเลย
๗. พึงใช้ติณวัตถารกวิธี [ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า]

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมประเภทละ ๗ ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์ นี้ พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชน มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย


 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์