เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ 1332
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นที่รัก/ไม่เป็นที่รัก..เป็นที่พอใจ/ไม่พอใจ
เป็นที่เคารพ/ไม่เป็นที่เคารพ...เป็นที่สรรเสริญ/ไม่เป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์
อัปปิยสูตร ๑

(ยอมไม่เป็นที่รัก)
๑) เป็นผู้สรรเสริญผู้ไม่เป็นที่รัก
๒) ติเตียน ผู้เป็นที่รัก
๓) มุ่งลาภ
๔) มุ่งสักการะ
๕) ไม่มีความละอาย
๖) ไม่มีความเกรงกลัว
๗) มีความปรารถนาลามก
๘) มีความเห็นผิด

(ยอมเป็นที่รัก)
๑) เป็นผู้ไม่สรรเสริญผู้ที่ไม่เป็นที่รัก
๒) ไม่ติเตียน ผู้ไม่เป็นที่รัก
๓) ไม่มุ่งลาภ
๔) ไม่มุ่งสักการะ
๕) มีความละอาย
๖) มีความเกรงกลัว
๗) มักน้อย
๘) มีความเห็นชอบ
อัปปิยสูตร ๒
(ยอมไม่เป็นที่รัก)
๑) เป็นผู้มุ่งลาภ
๒) มุ่งสักการะ ๑
๓) มุ่งความมี ชื่อเสียง
๔) ไม่รู้จักกาล
๕) ไม่รู้จักประมาณ
๖) ไม่สะอาด
๗) ชอบพูดมาก
๘) มักด่า บริภาษเพื่อนพรหมจรรย์
(ยอมเป็นที่รัก)
๑) ไม่เป็นผู้มุ่งลาภ
๒) ไม่เป็นผู้มุ่งสักการะ
๓) ไม่เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง
๔) เป็นผู้รู้จักกาล
๕) เป็นผู้รู้จักประมาณ
๖) เป็นคนสะอาด
๗) ไม่ชอบพูดมาก
๘) ไม่ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์

 

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๒๑ - หน้าที่ ๑๒๕

อัปปิยสูตรที่ ๑

(ยอมไม่เป็นที่รัก)

         [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมไม่เป็น ที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญของ เพื่อน พรหมจรรย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑) เป็นผู้สรรเสริญผู้ไม่เป็นที่รัก
๒) ติเตียน ผู้เป็นที่รัก
๓) มุ่งลาภ
๔) มุ่งสักการะ
๕) ไม่มีความละอาย
๖) ไม่มีความเกรงกลัว
๗) มีความปรารถนาลามก
๘) มีความเห็นผิด


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์
-----------------------------------------------------------------

(ยอมเป็นที่รัก)

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑) เป็นผู้ไม่สรรเสริญผู้ที่ไม่เป็นที่รัก
๒) ไม่ติเตียน ผู้ไม่เป็นที่รัก
๓) ไม่มุ่งลาภ
๔) ไม่มุ่งสักการะ
๕) มีความละอาย
๖) มีความเกรงกลัว
๗) มักน้อย
๘) มีความเห็นชอบ

     ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์

จบสูตรที่ ๓



อัปปิยสูตรที่ ๒

(ยอมไม่เป็นที่รัก)

         [๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมไม่เป็น ที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑) เป็นผู้มุ่งลาภ
๒) มุ่งสักการะ ๑
๓) มุ่งความมี ชื่อเสียง
๔) ไม่รู้จักกาล
๕) ไม่รู้จักประมาณ
๖) ไม่สะอาด
๗) ชอบพูดมาก
๘) มักด่า บริภาษเพื่อนพรหมจรรย์


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ฯลฯ และไม่เป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์

(ยอมเป็นที่รัก)

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑) ไม่เป็นผู้มุ่งลาภ
๒) ไม่เป็นผู้มุ่งสักการะ
๓) ไม่เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง
๔) เป็นผู้รู้จักกาล
๕) เป็นผู้รู้จักประมาณ
๖) เป็นคนสะอาด
๗) ไม่ชอบพูดมาก
๘) ไม่ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก ฯลฯ และเป็นที่สรรเสริญ ของเพื่อนพรหมจรรย์

จบสูตรที่ ๔



โลกธรรมสูตร


         [๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ ๘ ประการเป็นไฉน คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑  ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑  สุข ๑ ทุกข์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อม หมุน ไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ
๑) ลาภ
๒) ความเสื่อมลาภ
๓) ยศ
๔) ความเสื่อมยศ
๕) นินทา
๖) สรรเสริญ
๗) สุข
๘) ทุกข์

      เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา
แต่ท่าน ผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้น แล้ว พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวน เป็นธรรมดาธรรม อันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิต ของท่านไม่ได้ ท่านย่อม ไม่ยินร้าย ต่ออนิฏฐารมณ์

ท่านขจัดความยินดีและความยินร้าย เสียได้จน ไม่เหลืออยู่ อนึ่งท่านทราบทาง นิพพาน อันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมทราบได้อย่าง ถูกต้อง






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์