เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ธรรม อย่างละ ๖ อย่าง 1333
 

(โดยย่อ)


ธรรม อย่างละ ๖ อย่าง
อนุตตริยะ ๖ อย่าง
อนุสสติฐาน ๖ อย่าง
สตตวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ] ๖ อย่าง
อภิชาติ ๖ อย่าง
นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อย่าง



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๑๘


อนุตตริยะ ๖ อย่าง

๑. ทัสสนานุตตริยะ        [การเห็นอย่างยอดเยี่ยม]
๒. สวนานุตตริยะ          [การฟังอย่างยอดเยี่ยม]
๓. ลาภานุตตริยะ          [การได้อย่างยอดเยี่ยม]
๔. สิกขานุตตริยะ          [การศึกษาอย่างยอดเยี่ยม]
๕. ปาริจริยานุตตริยะ      [การบำเรออย่างยอดเยี่ยม]
๖. อนุสสตานุตตริยะ     [การระลึกถึงอย่างยอดเยี่ยม]

อนุสสติฐาน ๖ อย่าง
๑. พุทธานุสสติ            [ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า]
๒. ธัมมานุสสติ             [ระลึกถึงคุณของพระธรรม]
๓. สังฆานุสสติ             [ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์]
๔. สีลานุสสติ               [ระลึกถึงศีล]
๕. จาคานุสสติ             [ระลึกถึงทานที่ตนบริจาค]
๖. เทวตานุสสติ            [ระลึกถึงเทวดา]

สตตวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ] ๖ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว  ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่

๒. ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย  มีสติสัมปชัญญะอยู่

๓. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย  มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๔. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย  มีสติสัมปชัญญะอยู่

๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉยมีสติสัมปชัญญะอยู่

๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย   มีสติสัมปชัญญะอยู่

อภิชาติ ๖ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายดำ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายขาว

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพพระนิพพาน ซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายขาว

๕. ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายดำ

๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพพระนิพพาน ซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว

นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อย่าง
๑. อนิจจสัญญา           [กำหนดหมายความไม่เที่ยง]
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา    [กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง]
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา     [กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์]
๔. ปหานสัญญา           [กำหนดหมายเพื่อละ]
๕. วิราคสัญญา           [กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด]
๖. นิโรธสัญญา             [กำหนดหมายเพื่อความดับสนิท]

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๖ ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเรา ทั้งหมด ด้วยกัน พึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น

การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย


 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์