เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 เมื่อบุคคลงดเว้นทำกรรมแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา 1328
 

(โดยย่อ)
เจ้าศากยะพระนามว่า วัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เชื่อว่าบาปกรรมแต่ปางก่อน ซึ่งส่งผลยังไม่หมด อาสวะที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมตามไปถึงชาติหน้า

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น เพราะการ กระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากการ กระทำทาง กาย ทางวาจา  ทางใจ แล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำ กรรมใหม่ด้วย รับผลกรรม เก่าแล้ว ทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติ พึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วย กาล ควรเรียกให้มาดูควรน้อมเข้ามา วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

พ. ดูกรวัปปะ อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อนเกิดขึ้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะอวิชชา ดับไป วิชชาเกิดขึ้น อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่เขา

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะ ที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัย แห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคล ในสัมปรายภพนั้น หรือไม่
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า

(นัยยะของพระผู้มีพระภาคคือ หากบุคคลใดงดเว้นทำกรรมทั้งกาย วาจา และใจแล้ว กรรมในอดีต ย่อมไม่มีแก่เขา เมื่อเขาไม่ทำกรรมใหม่แล้ว กรรมเก่าย่อมสิ้นไป ไม่ต้องชดใช้กรรมจนถึงชาติหน้า หรือชาติไหนๆ ด้วยเหตุที่ว่า เพราะอวิชชาสิ้นไป วิชชาปรากฎแล้ว )

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๑๘๗

เมื่อบุคคลงดเว้นทำกรรมทางกาย วาจา ใจ แล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์เดือดร้อนย่อมไม่มีแก่เขา
(สำหรับผู้มีจิตหลุดพ้น)


        [๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในนิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่า วัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้า ไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

      ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวว่า ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่า ตัวอื่น เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุ ให้อาสวะ อันเป็นปัจจัย แห่งทุกขเวทนา ไปตามบุคคล ในสัมปรายภพ หรือไม่

      วัปปศากยราช ตรัสว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำ บาปกรรมไว้ในปางก่อน ซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งทุกข เวทนา พึงไปตามบุคคล ในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้น เป็นเหตุท่านพระมหา โมคคัลลานะสนทนากับวัปปศากย ราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น
(ความเห็นของวัปปะ บาปกรรมที่ทำในอดีต และใช้กรรมยังไม่หมด ย่อมส่งผลต่อไป ถึงภพหน้า)

      ครั้งนั้นแลเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐาน ศาลาประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะ ว่า

      ดูกรโมคคัลลานะ บัดนี้ เธอทั้งหลาย ประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเธอทั้งหลาย พูดอะไรค้างกันไว้ ในระหว่างท่าน พระมหาโมคคัลลานะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาสข้าพระองค์ ได้กล่าว กะวัปปศากยราช สาวกของนิครนถ์ ว่า

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

      ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวม ด้วยกายสำรวมด้วยวาจา สำรวม ด้วยใจ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะ ที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา ไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้น หรือไม่

      เมื่อข้าพระองค์ กล่าวอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวก ของนิครนถ์ ได้กล่าวกะ ข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรม ไว้ใน ปางก่อน ซึ่งยังให้ผล ไม่หมดอาสวะทั้งหลาย อันเป็นปัจจัย แห่งทุกขเวทนา พึงไป ตามบุคคล ในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนา กับวัปปศากย ราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้แล ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ก็เสด็จมาถึง

      ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ วัปปศากยราชสาวก ของนิครนถ์ว่า

      ดูกรวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอม ข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้าน ต่อเรา และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเรา ข้อใด ท่านพึงซักถามในข้อนั้น ยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้ เราพึงสนทนากัน ในเรื่องนี้ ได้

      วัปปศากย ราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอม ข้อที่ ควรยินยอม และจักคัดค้านข้อที่ควรคัดค้าน ต่อพระผู้มีพระภาค

      อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิต ของพระผู้มีพระภาคข้อใด ข้าพระองค์ จักซักถาม พระผู้มีพระภาค ในข้อนั้นยิ่งขึ้นไป ว่าข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้ อย่างไร ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(เว้นการกระทำทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นอกุศล กรรมเก่าที่ก่อทุกข์ย่อมสิ้นไป)

     พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกาย เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากการ กระทำทางกายแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์เดือดร้อนย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำ กรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดูควรน้อมเข้ามา วิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน

(นัยยะของพระผู้มีพระภาคคือ หากบุคคลใดงดเว้นทำกรรมทางกายแล้ว กรรมในอดีต ย่อมไม่มีแก่เขา เมื่อเขาไม่ทำกรรมใหม่ กรรมเก่าย่อมสิ้นไป นี้คือวิธีเผากิเลสให้สิ้นไป )

      ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่
      ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า (ทุกขเวทนาย่อมไม่ตามไปภพหน้า)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

      พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางวาจา เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากการ กระทำ ทางวาจาแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำ กรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลส ให้พินาศ ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

      ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่
      ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

      พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น เพราะการกระทำทางใจ เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากการ กระทำทางใจแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรม ใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

      ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่
      ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(อวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ไม่ทำกรรมใหม่ด้วย กรรมเก่าที่ก่อทุกข์ย่อมไม่มี)


    พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อนเกิดขึ้น เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผล กรรมเก่าแล้ว ทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ...อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน

      ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัย แห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้น หรือไม่
      ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมบรรลุธรรม เป็นเครื่องอยู่ เป็นนิตย์ ๖ ประการ

       เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

      เธอเมื่อเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด
เมื่อเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่าเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน ในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

      ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ย เอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝก ก็ไม่ให้ เหลือ เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลม และ แดดครั้นผึ่งลม และแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า โปรยในที่มีลมพัดจัด หรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยว ในแม่น้ำ เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัย ต้นไม้นั้น มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่ให้เกิดขึ้น ต่อไปเป็น ธรรมดา แม้ฉันใด

(ข้อความจากนี้ไป ซ้ำกับด้านบน) --------------------

      ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้น โดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมได้บรรลุธรรม เป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู... สูดกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

      เธอเมื่อเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น
------------------------------------

     เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษต้องการกำไร เลี้ยงลูกม้าไว้ขาย (ถ้าลูกม้าตายหมด) เขาพึงขาดทุน ซ้ำยังต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป แม้ฉันใด ข้าพระองค์หวังกำไร เข้าคบหานิครณถ์ ผู้โง่ ต้องขาดทุน ทั้งต้องเหน็ด เหนื่อยลำบากใจ ยิ่งขึ้นไป ก็ฉันนั้น เหมือนกัน

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์นี้จักโปรยความเลื่อมใส ในพวก นิครณถ์ผู้โง่เขลา เสียในที่ลมพัดจัด หรือลอยเสียในแม่น้ำ อันมีกระแสเชี่ยว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรง ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง
แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่าคนผู้มีจักษุ จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึง พระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป


 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์