เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ทรงตำหนิท่านพระอานนท์ เรื่อง ยาคู เป็นอามิสของภิกษุทั้งวัด ห้ามเก็บไว้ในกุฏิส่วนตัว 1329
 

(โดยย่อ)

พระวินัยเรื่องการเก็บรักษา ยาคู (ข้าว ขนม ของแห้ง สำหรับหุงต้ม)
ที่มีผู้นำมาถวาย เพื่อส่วนกลาง ทรงห้ามนำมาเก็บไว้ในกฏิของตน (ห้ามเก็บไว้ภายใน)
นี้เรียกว่า อกัปปิยะ (ของไม่เหมาะ ไม่ควร) และห้ามฉัน หากมีคนนำมาปรุง

พระบัญญัติ
ภิกษุไม่พึงฉันอามิส ที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่(กุฏิ) ที่หุงต้มในภายในที่อยู่ และที่หุงต้มเอง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๔๘

พุทธประเพณี


        พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัส ถามก็มีทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคต ทั้งหลาย ย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ

        พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย อย่างหนึ่ง

        ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า

         ดูกรอานนท์ ยาคู นี้ได้มาแต่ไหน?

        ท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบทันที

  ยาคู คือ
  1. ข้าวต้ม สำหรับพระภิกษุฉันรองท้องก่อนถึงเวลาฉันอาหารหนัก
  2. ขนมชนิดหนึ่งทำด้วยน้ำนมข้าวอ่อน ใส่น้ำตาลทราย ตั้งไฟอ่อน ๆ กวนจนสุก


ทรงตำหนิท่านพระอานนท์

        พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรอานนท์ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ

        ดูกรอานนท์ ไฉนเธอจึงได้พอใจในความมักมากเช่นนี้เล่า

        ดูกรอานนท์ อามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ เป็น อกัปปิยะ (ของไม่เหมาะ ไม่ควร)แม้ที่หุงต้มในภายใน ที่อยู่ ก็เป็นอกัปปิยะ แม้ที่หุงต้มเอง ก็เป็น อกัปปิยะ การกระทำ ของเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ....

       ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้

(อามิสที่เป็นของกลางสำหรับภิกษุ ท. ได้ใช้ประโยชน์ทั้งวัด ห้ามเก็บในกุฏิส่วนตัว)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธบัญญัติห้ามอามิสที่เป็น อันโตวุตถะ เป็นต้น (พระวินัย)

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ที่หุงต้ม ในภายในที่อยู่ และที่หุงต้มเอง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภายในที่อยู่ และหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภายในที่อยู่ แต่ผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้มในภายนอก และหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก แต่หุงต้มในภายใน และหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้มในภายนอก และผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฎ ตัวเดียว

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายใน แต่ผู้อื่นหุงต้มถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฎ ตัวเดียว

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอก แต่หุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฎ ตัวเดียว

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอก และผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้นแล ไม่ต้องอาบัติ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

อันโตวุตถะ (ที่มา)
ในพระวินัย มีพุทธานุญาตให้สงฆ์มี “กัปปิยกุฏิ” (กับ-ปิ-ยะ-กุด) คือ ครัวสงฆ์ เมื่อมี ผู้ถวายเสบียง หรือสิ่งของเครื่องปรุงเป็นอาหาร ธรรมเนียมบ้านเราก็อย่างเช่น ข้าวสาร ปลาเค็ม กะปิ น้ำปลา หอม กระเทียม ฯลฯ สิ่งของเหล่านี้ท่านให้เก็บไว้ใน ครัวสงฆ์ โดยอารามิกชน หรือ คนวัดจะเป็นผู้จัดการหุงต้มถวายพระเป็นวันๆ ไป

สิ่งของพวกนั้น ถ้าภิกษุเอามาเก็บไว้ภายในกุฏิ หรือที่พักของตน อย่างเป็นของ ส่วนตัว ท่านเรียกว่า “อันโตวุตถะ” แม้จะมีคนเอาไปปรุงเป็นอาหารนำมาถวาย ก็ห้ามฉัน

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์