เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อานาปานสติสูตร ในคืนจันทร์เพ็ญ ๑๕ ค่ำ ภิกษุเถระมากรูปพากันให้โอวาท พร่ำสอน
  ภิกษุด้วยกัน ตลอดระยะเวลา 4 เดือน
1324
 

(โดยย่อ)

ในคืนจันทร์เพ็ญ  ๑๕ ค่ำ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ
ภิกษุเถระมากรูป ที่มีชื่อเสียงเด่น อาทิ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสป  พระมหา กัจจายนะ พระมหาโกฏฐิตะ พระมหากปิณะ พระมหาจุนทะ พระเรวตะ พระอานนท์ ฯลฯ นั่งห้อมล้อม พระผู้มีพระภาค  พระเถระทั้งหลายต่างพากันให้โอวาทพร่ำสอนภิกษุด้วยกัน 10 รูปบ้าง 20 รูป 40 รูป บ้าง

พวกเธอจงปรารภความเพียร
เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณ ที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณ ที่ตนยังไม่ทำให้แจ้ง … เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้จนถึงวันครบ ๔ เดือน แห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท 

เมื่อครบ 4 เดือน แห่งฤดูฝน เป็นอุโบสถ 15 ค่ำ
ดอกโกมุทบาน(ดอกบัว) พระผู้มีพระภาคทรงเหลียว ดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบ จึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย  ดำรงอยู่ใน สารธรรม อันบริสุทธิ์ 

บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ 
ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญ ของโลก อย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ 

ภิกษุสงฆ์ในบริษัทนี้ ย่อมมี
ผู้เป็นพระอรหันต ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ก็มีอยู่ (อรหันต์)
ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ ก็มีอยู่ (อนาคามี)
ผู้เป็นพระสกคาทา เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ ทำราคะโทสะโมหะให้เบาบาง ก็มีอยู่ (สกทาคามี)
ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้น สัญโญชน์ ๓ ก็มีอยู่ (โสดาบัน)

เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็มีอยู่ (พิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม)
เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ (พิจารณายับยั้งบาปอกุศล-สร้างกุศล)
เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ ก็มีอยู่ (พิจารณา ฉันทะ วิริยะ จิตต วิมังสา)
เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ ก็มีอยู่ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)
เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญพละ ๕ ก็มีอยู่ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)

เป็นผู้ประกอบความ เพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ ก็มีอยู่ 
เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ ก็มีอยู่ 

เป็นผู้ประกอบความ เพียร ในอันเจริญเมตตา ก็มีอยู่ (พรหมวิหาร ๔)
เป็นผู้ประกอบความ เพียร ในอันเจริญกรุณา ก็มีอยู่  (พรหมวิหาร ๔)
เป็นผู้ประกอบความ เพียร ในอันเจริญมุทิตาอยู่ ก็มีอยู่  (พรหมวิหาร ๔)
เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญอุเบกขาอยู่  ก็มีอยู่  (พรหมวิหาร ๔)

เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญ อสุภสัญญา ก็มีอยู่ (พิจารณาถึงความไม่งามของกาย)
เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญ อนิจจสัญญา ก็มีอยู่ (พิจารณาถึงความไม่เที่ยง)

เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญอานาปานสติ ก็มีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
1) ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก
2) ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ 
3) ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ 
4) ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้ 

ก็อานาปานสติ  อย่างไร
ภิกษุอยู่ในป่าก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า  เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว …..

ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติ ทำให้มากแล้วจึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ....
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกาย ในกาย ...
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ...
ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม...

ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ....
เจริญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ วิชชา และวิมุตติย่อมบริบูรณ์

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔   หน้าที่ ๑๕๒ - ๑๖๐

๘.  อานาปานสติสูตร  (๑๑๘)

 

        [๒๘๒]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ปราสาทของ อุบาสิกาวิสาขา  มิคารมารดา  ในพระวิหารบุพพาราม  เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วย พระสาวก ผู้เถระ มีชื่อเสียงเด่น มากรูปด้วยกันเช่น ท่านพระสารีบุตร  ท่านพระมหาโมค คัลลานะ  ท่านพระมหากัสสป  ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากปิณะ  ท่านพระมหาจุนทะ  ท่านพระเรวตะ  ท่านพระอานนท์ และ  พระสาวกผู้เถระ มีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ 

        ก็สมัยนั้นแล  พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ำสอน พวกภิกษุอยู่ คือ  พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ  ๑๐  รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐  รูปบ้าง  บางพวกโอวาทพร่ำสอน  ๓๐  รูปบ้าง  บางพวกโอวาทพร่ำสอน  ๔๐  รูปบ้าง  ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น  อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่  ย่อมรู้ชัดธรรม วิเศษ อย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน 

        [๒๘๓]  ก็สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ ห้อมล้อมประทับนั่ง กลางแจ้ง  ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ  วันนั้นเป็นวันอุโบสถ  ๑๕  ค่ำ ทั้งเป็นวัน ปวารณาด้วย  ขณะนั้น  พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์  ซึ่งนิ่งเงียบอยู่ โดยลำดับ  จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราปรารภในปฏิปทานี้  เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้  เพราะฉะนั้นแล  พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง  เพื่อบรรลุ คุณที่ตนยังไม่บรรลุ  เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำ ให้แจ้ง  โดยยิ่งกว่าประมาณ เถิด  เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล  จนถึงวันครบ ๔  เดือน แห่งฤดูฝน  เป็นที่บาน แห่งดอกโกมุท 

        พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่า  พระผู้มีพระภาค จักรออยู่ในเมืองสาวัตถี นั้น  จนถึงวันครบ  ๔  เดือนแห่ง  ฤดูฝน  เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท  จึงพากัน หลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี  เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค  ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ก็พากันโอวาท พร่ำสอนภิกษุนวกะเพิ่มประมาณขึ้น คือ  ภิกษุผู้เถระบางพวก โอวาท พร่ำสอนภิกษุ  ๑๐  รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน  ๒๐  รูปบ้าง บางพวกโอวาท พร่ำสอน  ๓๐  รูปบ้าง  บางพวกโอวาทพร่ำสอน๔๐  รูปบ้าง  และ ภิกษุนวกะ เหล่านั้น  อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่  ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่าง กว้างขวาง ยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เมื่อครบ ๔ เดือน ทรงให้โอวาท กล่าวสรรเสริญหมู่ภิกษุ

        [๒๘๔]  ก็สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ ห้อมล้อมประทับนั่ง กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ  เป็นวันครบ  ๔  เดือน แห่งฤดูฝน  เป็นที่บานแห่ง ดอกโกมุท  วันนั้นเป็นวันอุโบสถ  ๑๕  ค่ำ  ขณะนั้น  พระผู้มีพระภาคทรงเหลียว ดูภิกษุสงฆ์  ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ  จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บริษัทนี้ไม่คุยกัน  บริษัทนี้เงียบเสียงคุย  ดำรงอยู่ใน สารธรรม อันบริสุทธิ์  ดูกรภิกษุทั้งหลาย 

ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกัน กับบริษัท ที่ควรแก่การคำนับ  ควรแก่การ ต้อนรับ  ควรแก่ทักษิณาทาน  ควรแก่การ กระทำอัญชลี  เป็นเนื้อนาบุญ ของโลก อย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ 

ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท ที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก  และถวายของมาก มีผลมากยิ่งขึ้น 

ภิกษุสงฆ์นี้  บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท  อันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น  ภิกษุสงฆ์นี้  บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควรที่ แม้คน ผู้เอาเสบียง คล้องบ่า เดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุในบริษัทนี้ ประกอบด้วยภิกษุ ที่มีภูมิธรรมแตกต่างกัน

        [๒๘๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ผู้เป็นพระอรหันต ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว  บรรลุ ประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสิ้น สัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕  จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ  มีอันไม่กลับ  มาจาก โลกนั้น อีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ผู้เป็นพระสกคาทา มีเพราะ สิ้นสัญโญชน์ ๓  อย่าง  และเพราะทำราคะ  โทสะ  โมหะให้เบาบางมายังโลกนี้ อีกครั้งเดียวเท่านั้น  ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้น สัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ใน เบื้องหน้า  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔  อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ 

        [๒๘๖]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบ ความเพียร ในอัน เจริญสัมมัปปธาน ๔  อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความ  เพียร ในอันเจริญอิทธิบาท ๔  อยู่  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความ  เพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความ  เพียรในอันเจริญพละ  ๕  อยู่  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความ  เพียรในอันเจริญโพชฌงค์  ๗  อยู่  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุน้  ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญมรรคมีองค์  ๘  อันประเสริฐอยู่  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความ  เพียร ในอันเจริญเมตตาอยู่  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความ  เพียร ในอันเจริญกรุณาอยู่  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้  ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความ  เพียร ในอันเจริญมุทิตาอยู่  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้  ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญอุเบกขาอยู่  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้  ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญ อสุภสัญญาอยู่  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้  ก็มีอยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่  แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้  ก็มีอยู่

        [๒๘๗]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้  ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร ในอันเจริญอานาปานสติอยู่ 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปฏิบัติธรรม และ บรรลุธรรมไปตามลำดับ
อานาปานสติ เจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗  วิชชาและวิมุตติ
 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย
๑) อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม มีผลมากมีอานิสงส์มาก

๒) ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้ บริบูรณ์ได้ 

๓)
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้ บริบูรณ์ได้ 

๔)
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติ ให้ บริบูรณ์ได้ 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เจริญอานาปานสติ ย่อมมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก

        [๒๘๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็อานาปานสติ  อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร  ทำให้มากแล้วอย่างไร  จึงมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุใน  ธรรมวินัยนี้  อยู่ในป่าก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี  อยู่ในเรือนว่างก็ดี  นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง  ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า 

        เธอย่อมมีสติหายใจออก  มีสติหายใจเข้าเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออก สั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวง หายใจออกว่า เราจักเป็นผู้
กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร  หายใจเข้า

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ  หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ  หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข  หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ จิตสังขาร  หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออกว่า เราจักระงับจิต สังขาร 
หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต  หายใจเข้าสำเหนียกอยู่  ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก  ว่าเราจักทำจิต ให้ ร่าเริง หายใจ เข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น  หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต  หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต  หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ ตามพิจารณา ความไม่เที่ยงหายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความคลายกำหนัด หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้ตาม พิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความดับกิเลส หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความดับกิเลส หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความสละคืนกิเลส หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความสละคืนกิเลส หายใจเข้า   

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้  ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล  จึงมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก 
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บำเพ็ญ สติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์

        [๒๘๙]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติ แล้วอย่างไร  ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔  ให้บริบูรณ์ได้ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด  เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว  หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า  หายใจ ออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ กองลมทั้งปวง หายใจเข้า  สำเหนียกอย่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร  หายใจออก ว่าเราจักระงับ กายสังขาร  หายใจเข้า 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกาย ในกาย  มีความเพียร  รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ 

        ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้  ว่าเป็นกายชนิด หนึ่ง ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกาย ในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ  หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้สุข หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเรา จักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิตสังขาร หายใจ เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออกว่าเราจักระงับ จิตสังขาร  หายใจเข้า 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา  มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก ลมหายใจเข้า เป็นอย่างดี นี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า  พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสียได้อยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต  หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิต ให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจัก ตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเรา จักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า 

        ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร  รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสียได้อยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติ แก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร  รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตาม พิจารณา  ความไม่เที่ยงหายใจออก ว่าเราจัก เป็น ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก เป็นผู้ตามพิจารณา ความคลายกำหนัดหายใจเข้า  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตาม พิจารณา ความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจัก เป็นผู้ตามพิจารณา ความดับกิเลส  หายใจเข้า  สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความสละคืนกิเลส  หายใจ ออกว่าเราจัก เป็นผู้ตามพิจารณา ความสละคืนกิเลส หายใจเข้า 

        ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก เสียได้อยู่ เธอเห็น การ ละอภิชฌา และโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี  เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณ าเห็นธรรมในธรรม มีความเพียรรู้สึกตัว มีสติ  กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ (เห็นกายในกาย)

        [๒๙๐]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ 

        
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้นสติ ย่อมเป็นอันเธอ ผู้เข้าไปตั้งไว้ แล้ว ไม่เผลอเรอ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ  ในสมัยนั้น (1)สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์ แก่ภิกษุ  เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่  ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา ธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใดภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้าไตร่ตรอง
 ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา 
ในสมัยนั้น (2) ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์  ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น  ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ  เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ  ความเพียรไม่ย่อหย่อน 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา ธรรม นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น (3)  วิริยสัมโพชฌงค์  ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น  วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ ปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้น แก่ภิกษุผู้ปรารภ  ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น (4) ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น  ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุ ผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้  ในสมัยนั้น (5) ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข  ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น (6) สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉย จิตที่ตั้งมั่นแล้ว เช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉย จิตที่ตั้งมั่นแล้ว เช่นนั้นได้  เป็นอย่างดี  ในสมัยนั้น (7) อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว  สมัยนั้นภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร  รู้สึกตัวมีสต  กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น  สติย่อมเป็นอันเธอ ผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด  ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น  สติย่อมเป็น อันเธอ ผู้เข้าไป ตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ...

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็น อันเธอ ผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ  ในสมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความ บริบูรณ์แก่ภิกษ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ พิจารณาธรรมนั้น ด้วยปัญญา 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง  ถึงความพิจารณาธรรมนั้น ด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจย สัมโพชฌงค์ ย่อมเป็น อันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรม วิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญ และความ บริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อเธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้น ด้วยปัญญา อยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม นั้น ด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น  วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม  เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้ปรารภความเพียรแล้ว 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ  ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุ ผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้  ในสมัยนั้นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ ชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง ความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภ แล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อม เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญ และความ บริบูรณ์แก่ภิกษุภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้ว เช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉย จิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้  เป็นอย่างดี  ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น  ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญ และความบริบูรณ์ แก่ภิกษุ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เจริญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ วิชชา และวิมุตติย่อมบริบูรณ์

        [๒๙๑]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้  มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ  อาศัยนิโรธ อันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย  ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์  ...  ย่อม เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ..ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปัสสัทธิ  สัมโพชฌงค์  ...ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์  ..ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ 

        พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล 

จบ  อานาปานสติสูตร  ที่  ๘






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์