เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  กรรมวรรคที่ ๔... มรรควิธีเพื่อความสิ้นกรรมคือ เจตนา.. มรรค๘.. โพชฌงค์ ๗ 1093
 
รวมเรื่อง กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร
 

รวมเรื่อง กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร

(๕)
กรรมวรรคที่ ๔
ดูกรพราหมณ์กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศ ให้ทราบ
๔ ประการเป็นไฉน คือ
  (๑) กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มี
  (๒) กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มี
  (๓) กรรม ทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มี
  (๔) กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ

มรรควิธีเพื่อความสิ้นกรรม (ไม่มีทั้งกรรมดำกรรมขาว) คือ
- เจตนา เพื่อละกรรมดำ
- อริยมรรคมีองค์แปด
- โพชฌงค์ ๗
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิด ในนรก
๑) กายกรรมอันมีโทษ  
๒) วจีกรรมอันมีโทษ  
๓) มโนกรรมอันมีโทษ  
๔) ทิฐิอันมีโทษ  
บุคคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งไว้

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์
๑) กายกรรมอันไม่มีโทษ ๑
๒) วจีกรรมอันไม่มีโทษ ๑
๓) มโนกรรมอันไม่มีโทษ ๑
๔) ทิฐิอันไม่มีโทษ ๑
บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หน้าที่ ๒๑๙- ๒๒๔

กรรมวรรคที่ ๔
(เนื้อความพระสูตรนี้ เช่นเดียวกับ กุกกุโรวาทสูตรเรื่อง กรรมดำกรรมขาว ๔)


         [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
   (๑) กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มี
   (๒) กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มี
   (๓) กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มี
   (๔) กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบ ฯ

         [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร อันมีความเบียดเบียน
ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร อันมีความเบียดเบียน
ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร อันมีความเบียดเบียน

ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันมีความเบียดเบียนย่อมถูกต้อง บุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียน ถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนา ที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนสัตว์นรก นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขารอันไม่มีความเบียดเบียน

ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มีความเบียดเบียน ย่อมถูกต้อง บุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่ไม่มี ความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดย ส่วนเดียว เปรียบเหมือนเทพชั้นสุภกิณหะ นี้เราเรียกว่ากรรมขาวมีวิบากขาว ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคล บางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขาร อันมีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง

ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะ อันมีความเบียดเบียนบ้างไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลก ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาอันผัสสะที่มีความ เบียดเบียน บ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียน บ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน เปรียบเหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำ ทั้งขาว มีวิบาก ทั้งดำ ทั้งขาว ฯ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นกรรมเป็นไฉน
เจตนาใดเพื่อ ละกรรมดำ อันมีวิบากดำ ในบรรดากรรมเหล่านั้น ก็ดี
เจตนาใดเพื่อ ละกรรมขาว อันมีวิบากขาว ก็ดี
เจตนาใดเพื่อ ละกรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็ดี
นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สิ้นกรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ แลเรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


มาณพชื่อโสณกายนะ


         [๒๓๔] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อ สิขาโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ หลายวันมาแล้ว โสณกายนมาณพ ไปหาข้าพระองค์ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า พระสมณโคดม ย่อมทรงบัญญัติการไม่กระทำกรรมทั้งปวง ก็แลเมื่อบัญญัติ การไม่กระทำกรรม ทั้งปวง ชื่อว่ากล่าวความขาดสูญแห่งโลก

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกนี้มีกรรมเป็นสภาพ ดำรงอยู่ด้วยการก่อกรรมมิใช่หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นโสณกายนมาณพเลย ที่ไหนจะได้ปราศรัยเห็นปานนี้กันเล่า

ดูกรพราหมณ์กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศ ให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
  (๑) กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มี
  (๒) กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มี
  (๓) กรรม ทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มี
  (๔) กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ

ดูกรพราหมณ์ ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร ... วจีสังขาร ... มโนสังขาร อันมีความเบียดเบียน ... เขาอันผัสสะ ที่มีความ เบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนา อันมีความ เบียดเบียน  เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือนสัตว์นรก นี้เราเรียกว่ากรรมดำ มีวิบากดำ ฯ

ดูกรพราหมณ์ ก็กรรมขาว มีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่ง กายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขาร อันไม่มีความเบียดเบียน... เขาอันผัสสะ ที่ไม่มีความ เบียดเบียน ถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เหมือนพวกเ ทพสุภกิณหะ นี้เราเรียกว่ากรรมขาวมีวิบากขาว ฯ

ดูกรพราหมณ์ ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ปรุงแต่ง กายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขาร อันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง... เขาอันผัสสะอันมีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุข และทุกข์ระคนกัน เหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เราเรียกว่ากรรม ทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ

ดูกรพราหมณ์ ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นกรรม เป็นไฉน เจตนาใดเพื่อละกรรมดำมีวิบากดำ ในบรรดากรรมเหล่านั้น ก็ดี... นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สิ้นกรรม ดูกรพราหมณ์ กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(๑)
         [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีกรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑) ก็กรรมดำ มีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้  เป็นผู้ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็น ที่ตั้งแห่ง ความประมาทนี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒) ก็กรรมขาว มีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการ พูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เราเรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓) ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร อันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๔) ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจตนาใดเพื่อละกรรมดำ อันมีวิบากดำ ในบรรดากรรมเหล่านั้น ก็ดี ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แลเรากระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(๒)
         [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาว มีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำ ทั้งขาว ก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑) ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคต ยังพระโลหิต ให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒) ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้  เป็นผู้ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็ง มีจิตไม่พยาบาทมีความเห็นชอบ นี้เราเรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓) ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน  บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ เบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๔) ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความ สิ้นกรรมเป็นไฉน เจตนาใดเพื่อละกรรมดำ อันมีวิบากดำในบรรดากรรม เหล่านั้นก็ดี ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศ ให้ทราบ ฯ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(๓)

         [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน กรรมดำมีวิบากดำก็มีกรรมขาว มีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบาก ไม่ดำ ไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑) ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร อันมีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒) ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ปรุงแต่งกายสังขาร อันไม่มีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เรียกว่ากรรมขาวมีวิบากขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓) ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร อันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๔) ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความ สิ้นกรรม เป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำ ไม่ขาว มีวิบาก ไม่ดำ ไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศ ให้ทราบ ฯ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(๔)
         [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้ว ประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน กรรมดำมีวิบากดำก็มีกรรมขาว มีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อสิ้นกรรมก็มี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑) ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้  ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันมีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒) ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันไม่มีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓) ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๔) ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความ สิ้นกรรมเป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้ง ด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

         [๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิด ในนรก เหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอันมีโทษ ๑ วจีกรรมอันมีโทษ ๑ มโนกรรมอันมีโทษ ๑ ทิฐิอันมีโทษ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมา ประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอันไม่มีโทษ ๑ วจีกรรมอันไม่มีโทษ ๑ มโนกรรมอันไม่มีโทษ ๑ ทิฐิอันไม่มีโทษ ๑ บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์