เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
 เรื่องการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ 980
 
เพจชุดการบำเพ็ญบารมี 977 978 979 980  
 
 

การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ

977

คำชี้แจงเฉพาะภาคนี้
ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว เพราะไม่รู้อริยสัจจ์
ตลอดวัฏฏสงสารของพระองค์ ไม่เคยทรงบังเกิด ในชั้นสุทธาวาส
ในวัฏฏสงสารที่ล่วงมาแล้ว เคยทรงบูชายัญญ์และบำเรอไฟแล้วอย่างมาก
ทิฏฐานุคติแห่งความดี ที่ทรงสั่งสมไว้แต่ภพก่อน ๆ
ชาติที่ ๑ ครั้งมีพระชาติเป็นโชติปาลมาณพ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

978 ชาติที่ ๒ ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์
ชาติที่ ๓ ครั้งมีพระชาติเป็นปุโรหิต สอนการบูชายัญญ์
ชาติที่ ๔ ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามฆเทวราช
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
979 ชาติที่ ๕ ครั้งมีพระชาติเป็นมหาโควินทพราหมณ์
ชาติที่ ๖ ครั้งมีพระชาติเป็นรถการ ช่างทำรถ
ชาติที่ ๗ ครั้งมีพระชาติเป็นอกิตติดาบส
ชาติที่ ๘ ครั้งมีพระชาติเป็นพระจันทกุมาร
ชาติที่ ๙ ครั้งมีพระชาติเป็นสังขพราหมณ์
ชาติที่ ๑๐ ครั้งมีพระชาติเป็นเวลามพราหมณ์
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
980 ชาติที่ ๑๑ ครั้งมีพระชาติเป็นพระเวสสันดร ***
ชาติที่ ๑๒ ครั้งมีพระชาติเป็นมาตังคชฎิล
ชาติที่ ๑๓ ครั้งมีพระชาติเป็นจูฬโพธิ์์
ชาติที่ ๑๔ ครั้งมีพระชาติเป็นเจ้าชายยุธัญชยะ
ที่สุดแห่งการท่องเที่ยวของพระองค์
 
 


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๕๘๑ - หน้าที่ ๖๑๔ ภาค ๖


เรื่องการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ


ชาติที่ ๑๑

ครั้งมีพระชาติเป็นพระเวสสันดร

          กษัตรีย์ใดได้เป็นมารดาของเรา มีนามว่า ผุสดี กษัตริย์นั้นเป็นมเหษีของ ท้าวสักกะ มาแล้วในอดีตชาติ. ท้าวสักกะผู้จอมเทพ(ชั้นอสูร) ทราบอายุขัย ของพระมเหษี องค์นั้นแล้ว ได้ตรัสกะเธอว่า เจ้าผู้เลิศงาม เราให้พรแก่เจ้าสิบประการ ตามแต่เจ้าจะเลือกเอา .

          พระเทวีนั้น ได้รำพันถามท้าวสักกะว่า หม่อมฉันมีความผิดอย่างไรหรือหนอ หม่อมฉันเป็นที่เกลียดชังของพระองค์แล้วหรือ จึงถูกบังคับให้ละโลกอันน่ารื่นรมย์นี้ไป ดุจพฤกษชาติที่ถูกลมพัดถอนขึ้นทั้งรากฉะนั้น.

          ท้าวสักกะผู้อันพระเทวีรำพันเช่นนั้นแล้ว ได้ตรัสแก่เธอว่า ใช่ว่าเจ้าจะทำบาป อันใดลงไปก็หามิได้ ใช่ว่าเจ้าจะไม่เป็นที่รักของเราก็หามิได้ แต่ว่าอายุของเจ้า มีเพียงเท่านี้ บัดนี้เป็นเวลาที่เจ้าจะจุติ ฉะนั้น เจ้าจงรับเอาพรสิบประการอันเรา ให้เถิด.

          พระเทวีนั้น จุติแล้ว บังเกิดในตระกูลกษัตริย์ นามว่าผุสดี ได้สมรสกับ พระราชาสัญชัย ในนครเชตุตดร. ในกาลที่เราก้าวลงสู่พระครรภ์แห่งพระมารดา อันเป็นที่รักนั้น มารดาของเรา ได้เป็นผู้ยินดีในทานตลอดเวลา เพราะเดชของเรา. ท่านได้ให้ทานแก่ยาจกผู้ไร้ทรัพย์ อาดูร ครวญคร่ำ และแก่สมณพราหมณ์ อย่างไม่ยั้งมือ.

        (1) เมื่อเราเป็นทารกอายุแปดปี นั่งอยู่ในปราสาท ก็รำพึงแต่จะให้ทาน เราจะให้ทาน หัวใจ ดวงตา เนื้อ เลือด ร่างกาย ให้ปรากฏ ถ้าว่าจะมีผู้มาขอกะเรา เมื่อเรารำพึงแน่ใจ ไม่หวั่นไหวเช่นนั้น แผ่นดินได้ไหว ภูเขาสิเนรุสั่นสะเทือน.

         (2) ในวันอุโบสถกึ่งเดือน และปลายเดือน เราขึ้นสู่ช้างชื่อ ปัจจยนาค ไปให้ทาน. พวกพราหมณ์ชาวแว่นแคว้นกาลิงค์ เข้ามาหาเรา และได้ขอช้าง อัน ประเสริฐ ซึ่งสมมติกันว่าเป็นมงคลนั้น กะเรา เขากล่าวกะเราว่า ที่ชนบทของข้าพเจ้า ฝนไม่มีตก เกิดทุพภิกขภัย อดอาหารอย่างใหญ่หลวง ขอพระองค์ จงประทานช้าง อันบวร เป็นจอมช้าง มีอวัยวะขาวหมด แก่ข้าพเจ้าเถิด. เราตกลงใจว่า เราให้ เราไม่มี หวั่นไหว. เราไม่หวงแหนปกปิดทานวัตถุที่เรามี เพราะใจของเรายินดีในทาน. การปฏิเสธต่อยาจกที่มาถึงเข้าแล้วนั้น ไม่ควรแก่เรา เราอย่าทำลายการสมาทาน ของเราเสียเลย เราจักให้ช้างอัน วิบูลย์ บัดนี้ละ. เราจับ ที่งวงช้างมือหนึ่ง อีกมือหนึ่ง หล่อน้ำในเต้าใส่มือพราหมณ์ ให้ช้างแก่ พราหมณ์ไป. เมื่อเราให้ทานช้างเผือก สูงสุดนี้ แผ่นดินได้หวั่นไหว ภูเขาสิเนรุ สั่นสะเทือนอีก ครั้งหนึ่ง.

          เมื่อเราให้ช้างตัวนั้น ชาวเมืองสีพีโกรธมาก มาประชุมกันให้เนรเทศเรา จากนคร ไปอยู่เขาวงก์. เมื่อชนพวกนั้นพากันกำเริบ เราก็ยังมีความ ไม่หวั่นไหว ขอร้องกะเขา เพื่อได้ให้ทานครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ชาวสีพีถูกขอร้องเข้าแล้วก็ยอมให้.

          (3) เราให้ป่าวร้องเอิกเกริกว่าเราจะให้มหาทาน. มีเสียงเล่าลืออย่างใหญ่ หลวง เพราะเรื่องนี้ว่า ถูกขับเพราะให้ทาน ยังจะให้ทานอีก !. เราให้ทานช้าง ม้า รถ ทาสี ทาส โค และทรัพย์. ครั้นให้มหาทานแล้ว จึงออกจากนครไป. ครั้นออกไป พ้นเขต นครแล้ว ได้กลับเหลียวดู เป็นการลา แผ่นดิน  ได้ไหว ภูเขาสิเนรุ สั่นสะเทือน อีกในครั้งนั้น.

           (4) เมื่อถึงทางสี่แพร่ง ได้ให้ทานรถเทียมด้วยม้าสี่ไป เราผู้ไร้เพื่อนบุรุษ กล่าว กับ พระนางมัททรี ว่า เจ้าจงอุ้มกัณหาลูกหญิงน้อย ค่อยเบาหน่อย เราจักอุ้มชาลี พี่ชายซึ่งหนักกว่า. เป็นอันว่า พระนางมัททรี ได้อุ้มกัณหาชินะ อันงามเหมือน ดอกบุณฑริก และเราได้อุ้มชาลี ซึ่งงามเหมือนรูปทองหล่อ รวมเป็นสี่กษัตริย์สุขุมาลชาติ ได้เหยียบย่ำไป ตามหนทางต่ำ ๆ สูง ๆ ไปสู่เขาวงก์.

          พบใครในระหว่างทางก็ถามว่า เขาวงก์อยู่ทางไหน ชนเหล่านั้นสงสารเรา และบอกว่า ยังไกลมาก. เด็ก ๆ ได้เห็นผลไม้ในป่า ก็ร้องไห้อยากได้ ผลไม้นั้น ๆ. เห็นเด็ก ๆ ร้องไห้ ต้นไม้ก็น้อมกิ่งมีลูกดกเข้ามาหาเด็กเอง.

          พระนางมัททรีเห็นความอัศจรรย์ ชวนสยองขนเช่นนี้ ก็ออกอุทานสาธุการ โอหนอ ของอัศจรรย์ ไม่เคยมีในโลก น่าขนพอง ต้นไม้น้อมกิ่งลงมาเอง ด้วยอำนาจ แห่งพระเวสสันดร.

          พวกยักษ์ ช่วยย่นการเดินทาง เพื่อความอนุเคราะห์แก่เด็ก ๆ ในวันที่ออกจาก นครนั่นเอง ได้เดินทางถึงแว่นแคว้นของเจตราช ญาติในที่นั้นร้องไห้คร่ำครวญ กลิ้งเกลือกทั้งผู้ใหญ่และเด็ก. ออกจากแว่นแคว้นของญาติเหล่านั้นแล้ว ก็มุ่งไป เขาวงก์.

          จอมเทพ สั่งให้วิสสุกัมม์ผู้มีฤทธิ์ สร้างบรรณศาลา เป็นอาศรมอันรมย์รื่น วิสสุกัมม์ได้สร้างแล้วเป็นอย่างดี ตามดำรัสของท้าวสักกะ.

          พวกเราสี่คนก็ลุถึงราวป่าอันเงียบเหงา ไม่มีวี่แววแห่ง มนุษย์ ได้อาศัยอยู่แล้ว ในบรรณศาลา นั้น ในระหว่างภูเขา. บรรเทาความโศกของกันและกันได้แล้ว ณ ที่นั้น. เราดูแลเด็ก ๆ ในอาศรม พระนางมัททรีไปเสาะหาผลไม้ในป่ามาเลี้ยงกัน.

          (5) เมื่อเราอยู่ถึงในป่าสูง ก็ยังมีนักขอไปหาเรา ได้ขอลูกของเรา คือชาลี และ กัณหาชินะ ทั้งสองคน. ความบันเทิงใจเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้เห็นยาจก เข้าไป หาเราได้ยื่นบุตรทั้งสองคน ให้กะพราหมณ์ผู้มาขอนั้นไป. เมื่อเราสละบุตรให้แก่ พราหมณ์ นามว่า ชูชก ในกาลนั้น แผ่นดินได้ไหว เขาสิเนรุสั่นสะเทือนอีก.

           (6) ต่อมา ท้าวสักกะได้ลงมาโดยเพศพราหมณ์ ขอพระนางมัททรีผู้มีศีล และ มีวัตร ในสามี กะเราอีก. เราได้จับหัตถ์มอบหมายให้ และหลั่งน้ำลงในฝ่ามือ พราหมณ์ มีจิตเบิกบานผ่องใส ให้พระนางมัททรีไป. ขณะที่เราให้ ทวยเทพในนภากาศก็พลอย อนุโมทนา แผ่นดินได้ไหว เขาสิเนรุสั่นสะเทือนอีก.

          เราสละชาลีกัณหา และพระนางมัททรี ผู้มีวัตรในสามี ไม่มีความลังเล ใจ ก็เพราะเหตุ แห่งปัญญา เครื่องตรัสรู้ (รู้ความดับทุกข์ของสัตวโลก). ลูกสองคน นั้น จะเป็นที่เกลียดชัง ของเราก็หาไม่ พระนางมัททรีจะเป็นที่เกลียดชัง ก็หาไม่. สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เราจึงให้ของรัก (เพื่อสิ่งที่เรา รัก) ...ฯลฯ.

๑.  บาลี เวสสันตรจริยา จริยา. ขุ. ๓๓/๕๕๙/๙. ในคัมภีร์จริยาปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ ชั้นบาลี มิได้เรียงเรื่องเวสสันดร ไว้เป็นเรื่องสุดท้ายแห่งเรื่องทั้งหลาย เหมือนในคัมภีร์ชาดก ฉะนั้น ในที่นี้ข้าพเจ้า จึงไม่เรียงเรื่องเวสสันดรไว้ เป็นเรื่องสุดท้ายเหมือนที่คนทั้งหลาย เชื่อกัน.

๒.  คำพูดเช่นนี้ นัยว่าเป็นประเพณี พูดกับผู้ที่จะต้องจุติจากสวรรค์. แม่เจ้าผุสดี ดำรงครรภ์ ครบสิบเดือน กำลังเที่ยวประพาสทั่วนครได้ประสูติเรา ณ ถนนแห่งชาวร้าน เพราะกำเนิน ที่ถนนแห่ง ชาวร้าน นามของเราจึงไม่เกี่ยวเนื่องด้วยมารดาและบิดา ได้ชื่อว่า เวสสันดร (แปลว่า ระหว่างชาวร้าน).

๓.  บรรณศาลา คือศาลามุง กั้น ด้วยใบไม้ ใบหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง.



ชาติที่ ๑๒

ครั้งมีพระชาติเป็นมาตังคชฎิล

          ชาติอื่นอีก : เราเป็นชฎิล บำเพ็ญตบะกล้า นามว่ามาตังคะ มีศีล มีสมาธิมั่น. เรากับพราหมณ์อีกผู้หนึ่ง ต่างอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาด้วยกัน. อาศรมของเราอยู่ เหนือน้ำ ของพราหมณ์อยู่ใต้น้ำ.

          พราหมณ์นั้นเดินเลาะฝั่งขึ้นมา เห็นอาศรมของเราทางเหนือน้ำ มีความ รังเกียจ ด่าว่าเรา แช่งเราให้ศีรษะแตก. ที่จริงถ้าเราโกรธพราหมณ์นั้น ขึ้นมาหรือ ศีล ของเราไม่ควบคุมเราไว้แล้ว เพียงแต่เรามองดูเท่านั้น ก็อาจทำพราหมณ์ ให้กลาย เป็นดุจว่าขี้เถ้าไป.

          พราหมณ์นั้น โกรธ คิดประทุษร้าย ว่าเราด้วยคำสาปแช่งอย่างใดอาการนั้น กลับเป็นแก่พราหมณ์นั้นเอง เราพ้นไปได้ด้วยอำนาจคุณของเรา. เรารักษาศีลของเรา เราไม่ได้รักษาชีวิตของเรา(หมายถึงเกียรติยศ) ในกาลนั้นเรารักษาศีล เพราะเหตุแห่ง ปัญญาเครื่องตรัสรู้เท่านั้น.

๑.  บาลี มาตังคจริยา จริยา. ขุ. ๓๓/๕๗๕/๑๗.



ชาติที่ ๑๓
ครั้งมีพระชาติเป็นจูฬโพธิ

          ชาติอื่นอีก : เมื่อเราเป็นพราหมณ์ชื่อ จูฬโพธิ ผู้มีศีล มองเห็นภพโดยความ เป็นของน่ากลัว จึงได้ออกบวช. ภริยาเก่า ของเราเป็นพราหมณี มีรูปดั่งทำด้วยทอง. แม้เธอนั้น ก็ไม่ประสงค์ต่อการเวียนว่ายในวัฏฏะ จึงออกบวชเสียด้วยกัน.

          เราสองคน เป็นผู้ไม่มีที่อาลัย ตัดขาดจากพงศ์พันธุ์ ไม่มีความมุ่งหมายอะไร ในตระกูล และหมู่ชน เที่ยวไปตามหมู่บ้านและจังหวัด ลุถึงเมืองพาราณสีแล้ว. ที่นั้น เราบำเพ็ญปัญญา ไม่ระคนด้วยหมู่คณะ อยู่ในราชอุทยานอันไม่มี ผู้คนเกลื่อน กล่น และเงียบเสียง.

          พระราชาเสด็จมาประพาสสวน ทอดพระเนตรเห็นนางพราหมณี ก็เข้ามาถาม เราว่า หญิงนั้นเป็นภริยาของท่าน หรือของใคร ? เราทูลตอบว่าไม่ใช่ภริยาของเรา เป็นเพียงผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน ถือคำสอนอย่างเดียวกัน.   

          พระราชากำหนัดในนางพราหมณีนั้น รับสั่งให้จับและฉุดคร่านางไปโดย พลการ สู่ภายในนคร. เมื่อฉุดคร่านำนางไป ความโกรธได้เกิดขึ้นแก่เรา แต่พร้อมกับ ความโกรธที่เกิดขึ้นนั้น เราระลึกขึ้นได้ถึงศีลและวัตร. ในขณะนั้นเอง เราข่มความโกรธ ได้ และไม่ยอมให้เกิดขึ้นมาได้อีก.

          เรารู้สึกตัวเราว่า แม้ใครจะทำร้ายนางพราหมณีด้วยหอกคมกล้า เราก็ไม่ ทำลาย ศีลของเรา เพราะเหตุเห็นแก่โพธิญาณ (มากกว่าเห็นแก่นางพราหมณี). แต่ใช่ว่า นางพราหมณีจะไม่เป็นที่รักของเราก็หาไม่ และใช่ว่าเราจะไม่มีกำลังวังชา ก็หาไม่. สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เราจึงตามประคองศีลไว้.

๒.  บาลี จูฬโพธิจริยา จริยา. ขุ. ๓๓/๕๗๑/๑๔.



ชาติที่ ๑๔ 
ครั้งมีพระชาติเป็นเจ้าชายยุธัญชยะ ๑

          เมื่อเรามีชาติเป็นราชบุตรชื่อ ยุธัญชยะ ยิ่งด้วยยศ ได้เกิดความรู้สึกสลด ต่อชีวิต ในขณะที่มองเห็นหยาดน้ำค้างในเวลาเช้า เหือดแห้งไปเพราะแสงแดด
เป็นอุปมา.

          เรายึดเอาความรู้สึกนั้นเป็นอารมณ์อันแน่วแน่ ก็ยิ่งสลดสังเวช มากขึ้น เข้าไปหาเจ้าแม่และเจ้าพ่อ ขออนุญาตออกบวช. เจ้าแม่และเจ้าพ่อ พร้อมด้วย ชาวนคร และชาวแคว้น เข้ามาอ้อนวอนเราขอให้คงอยู่ครอบครอง แผ่นดินอันมั่งคั่ง รุ่งเรือง. เราไม่เอาใจใส่ต่อเจ้าแม่เจ้าพ่อ พระญาติวงศ์ พร้อมทั้งชาวนคร และชาว แคว้น สลัดทิ้งไปแล้ว.

          เราสลัดราชสมบัติ ญาติ ข้าแผ่นดิน ยศ และสิ่งทั้งปวงไปอย่างไม่ลังเลเยื่อใย เพราะเหตุแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้. ใช่ว่าเจ้าแม่เจ้าพ่อจะไม่เป็นที่รักของเราก็หาไม่ เราจะเกลียดยศก็หาไม่. สัพพัญญุตญาณ เป็นที่รักยิ่งของเรา ฉะนั้นเราจึงสลัด ราชสมบัติ เสีย.

๑.  บาลี ยุธัญชยจริยา จริยา. ขุ. ๓๓/๕๗๙/๒๑.


ที่สุดแห่งการท่องเที่ยวของพระองค์


          เราเมื่อยังค้นไม่พบแสงสว่าง มัวเสาะหานายช่าง ปลูกเรือน (คือตัณหา ผู้ก่อสร้างเรือนคืออัตตภาพ) อยู่ ได้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ กล่าวคือ ความเกิดแล้ว เกิดอีกเป็น อเนกชาติ.

          ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไปทุกชาติ.  แน่ะนายช่างผู้ปลูกสร้างเรือน ! เรารู้จัก เจ้า เสียแล้วเจ้าจักสร้างเรือน ให้เราต่อไป อีกไม่ได้ โครงเรือน(คือกิเลส) ที่เหลือ เป็นเชื้อเกิดใหม่) ของเจ้า เราหักเสียยับเยิน หมดแล้ว.

          ยอดเรือน (คืออวิชชา) เราขยี้เสียแล้ว จิตของเราถึงความเป็นธรรมชาติ ที่อารมณ์จะยุแหย่ยั่วเย้า ไม่ได้ เสียแล้ว มันได้ลุถึงความหมดอยากทุกอย่าง.

๑.  พระวาจาเย้ยตัณหาซึ่งทรงเปล่งขึ้นทันที ในขณะที่ทรงรู้สึกพระองค์ว่า ได้สิ้น ตัณหาแล้ว. บาลี ธ. ขุ. ๒๕/๓๕/๒๑.

จบภาค ๖.


 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์